อุดมการณ์ทางเพศในพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2: การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์

Gender Ideology in the New Words Royal Institute Dictionary Volume 1-2: A Critical Discourse Analysis

Authors

  • ขจิตา ศรีพุ่ม

Keywords:

อุดมการณ์เพศ, พจนานุกรมคำใหม่, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, กลวิธีทางภาษา

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาอุดมการณ์ทางเพศที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในข้อความประโยคตัวอย่างจากหนังสือพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยใช้มุมมองวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ มีวัตถุ ประสงค์เพื่อจำแนกและจัดหมวดหมู่อุดมการณ์ทางเพศ วิเคราะห์กลวิธีทางภาษาและชุดความคิดย่อยในอุดมการณ์ทางเพศ พร้อมทั้งวิเคราะห์การกระจายตัวบทและวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมที่สะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏในพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ผลการวิจัยพบว่ามีอุดมการณ์ทางเพศ 3 ประเด็น ได้แก่ เพศหญิง เพศชาย และเพศทางเลือก แต่ละประเด็นสื่อชุดความคิดย่อย 3 ชุดความคิด การใช้กลวิธีทางภาษาปรากฏการใช้กลวิธีทางภาษา 6 กลวิธี ได้แก่ การใช้สำนวน การใช้คำเรียก การใช้คำนาม การใช้คำกริยา การใช้คำขยายกริยา และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ ด้านการบริโภคและการกระจาย วาทกรรมพบว่า มีลักษณะการกระจายตัวบทแบบสื่อสารมวลชน ในด้านภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมไทยแสดงให้เห็นว่า มีการแบ่งแยกบุคคลที่ปรากฏเน้นไปที่เรื่องทางเพศสภาพและตัดสินความเป็นหญิง ชาย และเพศอื่น ๆ จากสภาพทางกายที่แสดงออกไม่ได้พิจารณาถึงคุณสมบัติภายใน The research aimed at studying sexual ideology through the linguistic expression in sentences used in the New Words Royal Institute Dictionary Volumes 1-2. The theory used was a Critical Discourse Analysis Approach. The objectives of this research were to classify and categorize the sexual ideology, to analyze the communication strategy and a group of ideas in sexual ideology, to figure out the dissemination of discourse and the practice of discourse that represented Thai society and culture appearing in the dictionary. The research findings revealed that there were 3 sexual ideologies: female, male and alternative sex (third gender). Each discourse was composed of 3 sets of ideas. 6 linguistic devices that expressed gender and identity included the use of idioms, address term, noun forms, verb forms, adverb, using rhetorical questions. In term of consumption and dissemination of the discourse, it was found that the discourse was disseminated via mass media. This discourse reflected the gender discrimination in Thai society and culture of individual by focusing on the physical condition of gender instead of considering the internal qualities.

References

คชาธิป พาณิชตระกูล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ว่าด้วยชายรักชายในหนังสือพิมพ์ฉบับรายวันภาษาไทย ปี พ.ศ. 2555: การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ. (2558). ภาษากับอัตลักษณ์เมียฝรั่งในวาทกรรมสาธารณะ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2553). อุดมการณ์ความเป็นชายในวาทกรรมโฆษณาสินค้าและบริการสำหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1-2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2553). วาทกรรม “ความเป็นผู้หญิง” ในนิตยสารสุขภาพและความงาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

de Beauvoir, S. (1952). The second sex. trans. H.M. Parshely. New York: Abfud & Knopf.

Fairclough, N. (1992). Discourse and social change. Cambridge: Polity Press.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis. London: Longman.

Hymes, D.H. (1974). Ways of speaking. In R. Bauman & J. Sherzer (Eds.), Explorations in the ethnography of speaking (pp. 433-452). Cambridge: Cambridge University Press.

Machin, D., A. Mayr. (2012). How to do critical discourse analysis. London: California. Singapore, New Delhi: SAGE.

Downloads

Published

2022-11-07