สื่อมัลติมีเดียเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาและสร้างความตระหนักรู้การทำขนมจีนประโดก

Multimedia for the Wisdom and Awareness of the PraDok Rice Vermicelli

Authors

  • เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน

Keywords:

สื่อมัลติมีเดีย, ภูมิปัญญา, การสืบสาน, ความตระหนักรู้

Abstract

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการสืบสานภูมิปัญญา และสร้างความตระหนักรู้การทำขนมจีนประโดก 2) เผยแพร่สื่อมัลติมีเดีย และ 3) ประเมินผลการเรียนรู้กับความรู้ที่ได้รับ และความพึงพอใจของนักเรียน/นักศึกษาเยาวชนในพื้นที่ประโดก และประชาชนทั่วไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสานกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องและร้านขนมจีนในพื้นที่นักเรียน/นักศึกษา เยาวชนในพื้นที่ประโดก และประชาชนทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาและสร้างความตระหนักรู้การทำขนมจีนประโดก มีขั้นตอนการออกแบบและผลิตทั้งสิ้น 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการเตรียม การออกแบบบทเรียน การเขียนผังงาน การสร้างสตอรี่บอร์ด การสร้างและการเขียนโปรแกรม การประกอบเอกสารประกอบบทเรียน การประเมินผลและแก้ไขบทเรียน 2) สื่อมัลติมีเดียเรื่องเส้นทางขนมจีนบ้านประโดกกับการสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถนำไปใช้งานจริงได้หลังผ่านการประเมินด้านความตรงเนื้อหาและสื่อมัลติมีเดีย และ 3) ผลการเรียนรู้กับความรู้ที่ได้รับ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  The objectives of this research were to 1) design and produce multimedia for the continuation of wisdom and awareness of making Pradok Rice vermicelli. 2) publish multimedia and 3) evaluate learning and knowledge gained and satisfaction of schoolchildren/students youth in the area and general people by using Mixed Methodology. The sample group consists of the involved people and the PraDok Rice vermicelli shops, teachers, schoolchildren/students youth in the area, and general public. The results of the research were as follows: 1) Multimedia media for the continuation of wisdom and awareness of making Pradok Rice vermicelli. There are 7 steps which consist of preparation, design, writing flowchart, storyboard creation, creating and programming, assembling documents, assessing and editing lessons. 2) multimedia about the way to make Ban Pradok rice vermicelli and conserve the local wisdom culture which can be used for real life after evaluating the content and multimedia and 3) The results of learning and knowledge obtained were found that after learning, it was significantly higher than before learning.

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2555). ข้อมูลทะเบียนราษฎร์. วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2561, จาก https://bit.ly/2V4xGD0.

เกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน. (2559). การผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อพัฒนากระบวนการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 43(2): 217-235.

ขจรจิต บุนนาค. 2557. ปัจจัยที่มีผลต่อประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 18(1), 170-184.

ครูยอด ขนมจีนประโดก. (2553). ขนมจีนประโดก. วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2561, จาก https://bit.ly/3xZ4tIc

ชาตรี บัวคลี่. (2554). ประสิทธิผลของเทคนิคการนำเสนอที่แตกต่างต่อการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง และสุภาพ ฉัตราภรณ. (2557). วิจัยเรื่องเส้นทางการสืบสานภูมิปัญญาอาหารล้านนาสู่ความยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 35(2), 189-205.

ผู้จัดการออนไลน์. (2555). บ้านประโดก หมู่บ้านขนมจีน สร้างรายได้ปลดหนี้เงินล้าน. วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2561, จาก https://bit.ly/3kMRQw7

วิจิตร ภักดีรัตน์. (2523). วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิมลสิริ รุจิภาสพรพงศ์. (2550). การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาการทำข้าวหลามในชุมชนพระงาม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกรี รอดโพธิ์ทอง. (2538). ซีเอไอหรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สุพจน์ ใหม่กันทะ. (2552). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำเครื่องเงินในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุพล สาวินัย. (2553). ผลการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีภาพประกอบด้วยภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เรื่อง การใช้ห้องสมุดวิทยาเขตบางนาของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สร้อยน้ำค้าง มงคล. (2552). การสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อ การพัฒนา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย. (2561). ประวัติขนมจีนประโดก. วันที่ค้นข้อมูล 5 มีนาคม 2561, จาก https://bit.ly/2UCC104

องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย. (2561). ผลิตภัณฑ์ OTOP. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://bit.ly/3eNkE3v.

องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://bit.ly/2UzlSJ4.

Linda, W. H. (1992). Multimedia in Action. U.S.A.: Academic Press.

Yujia, L. (2555). การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาการทำข้าวหลามหนองมน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

McCombs, M. E., & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

Published

2022-11-10