การรับรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับการปรับเปลี่ยนและการแสดงออกของชาวพิมาย

The Perception of Local History and the Adaptation and Expression of Phimai People

Authors

  • วรรณพร บุญญาสถิตย์
  • นันท์ชญา มหาขันธ์
  • ฉันทัส เพียรธรรม

Keywords:

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, พิมาย, การรับรู้, การปรับเปลี่ยน, การแสดงออก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เมืองพิมาย 2) การรับรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการแสดงออกด้านสำนึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวพิมาย 3) การปรับเปลี่ยนและการแสดงออกด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวพิมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการวิจัยโดยค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบกับการศึกษาภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า เมืองพิมายเป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาขอมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาปกครองและได้สร้างปราสาทหินพิมายขึ้น เมืองพิมายกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวเมื่อรัฐบาลกำหนดให้เป็นเมืองท่องเที่ยวตั้งแต่ พ.ศ. 2532 จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นชุมชนการท่องเที่ยว ชาวพิมายรับรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยผ่านตำนานเรื่องปาจิตอรพิม และประวัติของปราสาทหินพิมาย กระบวนการรับรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นก่อให้เกิดสำนึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชาวพิมายพื้นถิ่นและชาวพิมายเชื้อสายจีนมีการผสมกลมกลืนกันทางวัฒนธรรมโดยเชื่อมโยงกับสำนึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นส่งผลให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ดังนั้นในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมควรเน้นการปลูกฝังสำนึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นควบคู่ไปด้วย และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสร้างความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นโดยเน้นประโยชน์ของท้องถิ่นเป็นหลัก  This study aimed to investigate 1) the historical development of Phimai town, 2) the perception of Phimai people on local history and their expression of local historical consciousness, 3) the people’s adaptation and local cultural expression. This qualitative research was conducted through research methods, collection of evidence and related documents, and field studies. The findings revealed that Phimai town had existed as an ancient community since prehistoric time. Later, the Khmer Empire extended its influence and sovereignty over the area and erected Phimai temple complex. Later the government designated Phimai as a tourist town in 1989, and the town has gone through changes, and it  has been transformed into a travel community since then. The people of Phimai perceived local history through the legend of Pachit-Oraphim and the historical background of Phimai Historical Park. The process of local history perception had developed consciousness of the local history. Since Phimai’s indigenous people and Chinese descendants strengthened their community through the assimilation of their cultures by being connected to local history consciousness, any forthcoming cultural related activities should be emphasized on developing the consciousness of local history and the importance of activity participation. These would cultivate love of the local pride by the prioritization of the locals’ benefits.

References

เฉลิม เสตะพยัคฆ์. (2559, 7 กันยายน). ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์.

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อินทนิล.

ธิดา สาระยา. (2529). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

นิยพรรณ (ผลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

บุตรดา คนชม และนิยม วงศ์พงษ์คำ. (2560). อิทธิพลเชิงช่างที่มีต่อรูปแบบการสร้างศาลหลักเมืองในภาคอีสาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 196-218.

ฝนวันจันทร์ ศรีจันทร์. (2543). การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของคนในเมืองประวัติศาสตร์กรณีศึกษาเมืองประวัติศาสตร์พิมาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา), คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล และเฌอมาลย์ ราชภัณฑารักษ์ (บรรณาธิการ). (2547). มนุษย์กับสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพ์อุมา ธัญธนกุล. (2015). ประวัติศาสตร์ชุมชน: บ้านสันคู อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ด้านมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์, 2(6), (หน้า 353-363). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ยงยุทธ ชูแว่น. (2549). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. (รายงานวิจัยโครงการประมวลวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้เพื่อเขียนตำรา). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2557). ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.

สนิท สมัครการ. (2546). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับพัฒนาการของสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมหมาย แก้วเพชร. (2559, 2 กันยายน). ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2485). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 8-9/2485 (วิสามัญครั้งที่ 1) สมัยที่ 2 ชุดที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พุทธศักราช 2485 ก. (หน้า 130, 162). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุพจน์ ศริญญามาศ. (2559, 3 กันยายน). รองนายกเทศมนตรีตำบลพิมาย. สัมภาษณ์.

สุริชัย หวันแก้ว. (2553). สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2538). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน: ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อรุณี จำปานิล. (2550). ประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2466-2544. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Block, B. (1979). The Historian’s Craft. Manchester: Manchester University Press.

Downloads

Published

2022-11-10