แนวทางการพัฒนาวงโยธวาทิตไทยในศตวรรษที่ 21
Guidelines for the Development of the Thai Marching Bands in the 21st Century
Keywords:
วงโยธวาทิต, แนวทาง, การพัฒนา, ศตวรรษที่ 21Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวงโยธวาทิตไทยในศตวรรษที่ 21 ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงผสม (Mixed methods research) การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก วิจัยเชิงคุณภาพประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ (Focus group) ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านวงโยธวาทิตจำนวน 12 ท่าน อภิปรายโดยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อหาประเด็นในการวิจัยระยะที่ 2 วิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 318 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ควบคุมฝึกซ้อมวงโยธวาทิต โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมาจากการสังเคราะห์ประเด็นจากงานวิจัยเชิงคุณภาพข้างต้น เป็นแบบ สอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสรุปผลเป็นรายข้อ จำแนกตามหัวข้อที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า วิจัยการทำกิจกรรมวงโยธวาทิตไทยดำเนินงานโดยการบริหารงาน แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอุปกรณ์และสถานที่ ด้านงบประมาณ ด้านการจัดการ และด้านบุคลากร พบว่า ด้านสถานที่และอุปกรณ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากร และด้านการจัดการ ตามลำดับ และด้านงบประมาณมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง The purpose of the current study was to investigate a guideline for developing Thai marching bands in the 21st century. Mixed method approach was employed to the two processes of data collection. The first phase was a qualitative research employing a focus group interview on three groups of twelve participants in total including band supervisors, experts in marching band assembling, and marching band competition judges. Second phase was designed to be a quantitative research study on three hundred eighteen participants of band supervisors and marching band assembling selected by purposive sampling method. The instruments were a qualitative analysis and a set of 5 Likert scaled questionnaire. The statistics were Percentage, Mean Score and content analysis of each item. The results of the study were as follows. The model management of Thai marching bands should include four aspects of instruments and venues, budget, management, and personnel. In detail, the comparison of each aspect indicated a descending order of instruments and venues, personnel, management, and budget.References
กรมวิชาการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
รติรส จันทร์สมดี. (2551). ภาวะความเป็นผู้นำของวาทยกรและการสื่อสารจัดการวงโยธวาทิตในสถานศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิขาวาทวิทยา, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวัฒน์ บัวคำสี. (2559). กลยุทธ์ในการบริหารงานวงโยธวาทิตโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(1), 35-44.
สำนักนันทนาการ กรมพละศึกษา. (2559). สรุปเอกสารเสวนาเพื่อรับฟังแนวทางการพัฒนาวงโยธวาทิต. กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2549). จุดเปลี่ยนประเทศไทยเศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: สยามเอ็มแอนบีพับลิชชิ่ง.
Dagaz, M. C. (2012). Learning from the Band: Trust, Acceptance, and Self-Confidence. Bloomington, IND: Indiana University.
UNESCO. (1996). Higher Education in the 21st Century. A Student Perspective: Paris.