อักขรวิธี : อิทธิพลของภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีต่อภาษาไทย

Orthography: Influences of Pali and Sanskrit on Thai

Authors

  • จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา

Keywords:

อักขรวิธี, ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต, อิทธิพลภาษาไทย

Abstract

ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเข้ามาปะปนในภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย และมีการใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน คำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทยนี้ใช้ทั้งในภาษาพูด ภาษาเขียน ตลอดจนใช้ในการตั้งชื่อ การที่ไทยรับคำจากภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตมาใช้เป็นเวลายาวนาน เป็นเหตุให้ภาษาทั้งสองเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทยในหลายด้านด้วยกัน เช่น ด้านเสียง ด้านคำและการสร้างคำ ด้านสำนวนภาษาและการผูกประโยค รวมถึงอิทธิพลด้านอักขรวิธีซึ่งพบในการเขียนคำของภาษาไทยเป็นจำนวนมาก อิทธิพลด้านอักขรวิธีที่ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมีต่อการเขียนคำในภาษาไทยมีทั้งสิ้น 8 ลักษณะ ได้แก่ 1) การมีตัวสะกดในแต่ละมาตราเพิ่มมากขึ้น 2) การเขียนพยัญชนะกำกับด้วยเครื่องหมายทัณฑฆาต 3) การไม่เขียนรูปประวิสรรชนีย์กลางพยางค์หรือคำ 4) การเขียนคำโดยใช้รูป  ั-ย และ ไ-ย 5) การเขียนคำโดยไม่ใช้ไม้ไต่คู้ในคำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต 6) การใช้รูปอักษรบางรูปเขียนคำในภาษาไทย 7) การเขียนคำแบบลากเข้าความ 8) การเขียนคำโดยใช้แนวเทียบผิด  Pali and Sanskrit have long been blended in Thai language since Sukhothai Kingdom. They have been utilized in written and spoken languages and also in naming people. As a consequence, Pali and Sanskrit have strong influences on Thai language in various aspects for instance sounds, words and their formation, idioms and styles, sentence composition, and orthography which has been found in many Thai words. Orthographic influences of Pali and Sanskrit on writing Thai in lexical level revealed into 8 characteristics including 1) writing excessive letters for each word, 2) writing letters with Thantakhat–the mark of silent letter, 3) writing with no -ะ mark in the middle of the syllable or word, 4) writing  ั-ย and ไ-ย incorrectly, 5) writing ๘ on Pali or Sanskrit loanwords, 6) writing with some particular scripts on Thai, 7) writing with folk Etymological concept, 8) writing with incorrect analogy.

References

บุญเหลือ ใจมโน. (2556). ภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ปรีชา ทิชินพงศ์. (2534). บาลี-สันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิสันติ์ กฏแก้ว. (2545). ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2558). เอกสารประกอบการสอน กระบวนวิชา (014211) ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2517). บาลี-สันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุภาพร มากแจ้ง. (2535). ภาษาบาลี-สันสกฤตในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

Published

2022-11-10