บนเส้นทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในสังคมไทย: ยุคดิจิทัล

Journey of e-Government in Thai Society: Digital Era

Authors

  • เรวัต แสงสุริยงค์

Keywords:

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, รัฐบาลดิจิทัล, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การสื่อสาร, e-Government, Digital Government

Abstract

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยเริ่มจากการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูล ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้หน่วยงานของรัฐสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้มากขึ้น และหลายหน่วยงานสามารถส่งบริการไปสู่ประชาชนในสังคมได้กว้างและไกลมากขึ้น ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีเคลื่อนที่ สื่อสังคมออนไลน์ ปัญญาประดิษฐ์ และทุกสิ่งเป็นอินเทอร์เน็ต ทำให้หน่วยงานภาครัฐเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหาร และการให้บริการสังคมตามมา ยุครัฐบาลดิจิทัลมีการเปลี่ยนรูปแบบและล้มล้างนโยบายในระดับประเทศของรัฐบาล ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนานวัตกรรมการบริหารและการให้บริการแบบใหม่ เช่น การให้บริการผ่านเทคโนโลยีเคลื่อนที่ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสาร การใช้ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆเก็บข้อมูลไว้บนอินเทอร์เน็ตและการใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์พฤติกรรมของคนในสังคม นโยบายรัฐบาลดิจิทัลของรัฐบาลไทยเป็นการต่อยอดการพัฒนาจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งการสานต่อนโยบายเดิมและนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้งาน และบนเส้นทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของไทยมิได้ถูกกำหนดด้วยอิทธิพลของเศรษฐกิจดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังมีดัชนีการประเมินความก้าวหน้าขององค์การระหว่างประเทศคุมบังเหียนในการพัฒนาให้วิ่งตามอีกด้วย  Thai digital government started from using computer technology for data processing. Due to advances of internet technology, governmental organizations have been able to increase their data exchange among different organizations. Many organizations can expand their services to people who live in the wider and more remote areas of the society. The influence of emerging technologies such as cloud computing, big data, mobile technology, social media, artificial intelligence, and internet of things that facilitate paradigm shift among organizations in the governmental sector. Then, there have been technology applications in administration and social services. In the digital government era, there are transformation and disruption of governmental policy at the national level. This results in the development of the government organizations for managerial innovation and new services such as service through mobile technology, using online social media for data and information dissemination, using cloud computing system for storing data on the internet, and using artificial intelligence for analyzing human behavior in society. The Thai government’s digital policy is an extension of development from the electronic government; it has been developed by continuing previous policy and applying digital technology to the work system. On the development path of the Thai digital government, it has not only been determined by the force of digital economy but it has also been used as the advanced assessment indexes for the progress of international organizations to control the reins in the following development.

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2550). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. วันที่ค้นข้อมูล 16 เมษายน 2555, จาก http://www.mict.go.th

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2553). คู่มือการจัดทำมาตรฐานเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (Data Standardization for e-Government Interoperability

Manual). วันที่ค้นข้อมูล 24 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/3xZwe37

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3) ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 2559. วันที่ค้นข้อมูล 11 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/3zswPe5

เรวัต แสงสุริยงค์. (2559). การวิจัยและพัฒนาการใช้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของไทยผ่านศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน. ชลบุรี: ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2539). ไอที 2000: นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561). วันที่ค้นข้อมูล 11 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/36XPtOG

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2W1mU0z

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/3ixm3fC

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ตัวชี้วัดที่สำคัญของประชากรและที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2533-2553: ทั่วราชอาณาจักร. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/3ePOioT

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2549). โครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549. วันที่ค้นข้อมูล 24 มิถุนายน 2562, จาก

https://bit.ly/3BHo81F

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2556). แนวทางยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556. วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2562, จาก

https://bit.ly/3ztw6Jw

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2559). ขอความเห็นชอบต่อ (ร่าง) แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561). มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559. วันที่ค้นข้อมูล 13 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/3hYIknB

Frost & Sullivan. (2011). The Future of e-Government. Retrieved April 17, 2019 from: https://bit.ly/3wXxW3W

Holzer, M. & Manoharan A. P. (2005, 2007, 2009, 2011-2012, 2013-2014, 2015-2016). Digital Governance in Municipalities Worldwide. The E-Governance Institute National Center for Public Productivity Rutgers, the State University of New Jersey.

Janowski, T. (2015). “Digital government evolution: From transformation to contextualization”. Government Information Quarterly. 32(3), 221-236. DOI: 10.1016/j.giq.2015.07.001

Obi, T., & Iwasaki, N. (2010). “Electronic governance benchmarking-Waseda University e-Gov ranking”. In ACM International Conference Proceeding Series. 15-20. DOI: 10.1145/1930321.1930325

OECD. (2014). Recommendation of the Council on Digital Government Strategies. Retrieved April 13, 2019 from: https://bit.ly/3hWqSQL

Ramapriyan, H. K. (2015). Evolution of Archival Storage (from tape to memory). Retrieved April 13, 2019 from: https://go.nasa.gov/3hYDNSh

Singapore. (2018). Digital government blueprint. Retrieved June 13, 2019 from: https://bit.ly/3iI7sOu

Sharma, S. K. (2004). “Assessing e-government implementations”. Electronic Government an International Journal. 1(2), 198-212. DOI: 10.1504/EG.2004.005178

Waseda University. (2018). Digital Government Rankings. Retrieved June 26, 2019 from: http://e-gov.waseda.ac.jp/ranking.htm

White House. (2009). Transparency and Open Government. Retrieved April 3, 2019 from: https://bit.ly/2Tu6QUe

White House. (2011). Executive Order 13571--Streamlining Service Delivery and Improving Customer Service. Retrieved April 3, 2019 from: https://bit.ly/3zrmdMr

White House. (2012). Digital Government: Building a 21st Century Platform to Better Serve The American People. Retrieved April 3, 2019 from: https://bit.ly/3iE7bw9

World Bank. (2016). Digital Adoption Index. Retrieved June 14, 2019 from: https://bit.ly/3ByvKDl

United Nations. (2016). UN E-government Survey 2016. Retrieved June 26, 2019 from: https://bit.ly/3wXyIhm

United Nations. (2018). UN E-government Survey 2018. Retrieved June 26, 2019 from: https://bit.ly/36Wu88w

United Nations. (2019). UN E-government Knowledgebase: Reports. Retrieved June 26, 2019 from: https://bit.ly/3BAJKMK

Zahran, D.I., Al-Nuaim, H. A., Rutter, M. J. & Benyon, D. (2015). “A Critical Analysis of E-Government Evaluation Models at National and Local Municipal Levels”. The

Electronic Journal of e-Government. 13(1), 28-42. Retrieved April, 17, 2019 from: http://www.ejeg.com/volume13/issue1/p28

Downloads

Published

2022-11-10