ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Factors Affecting Among Happiness in Learning of the Freshman Students in the Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University

Authors

  • จีรทัช ใจจริง
  • ธนิต โตอดิเทพย์
  • ภารดี อนันต์นาวี
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

Keywords:

ความสุขในการเรียน, นิสิตชั้นปีที่ 1

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 290 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านการเรียนการสอนปัจจัยส่วนตัว กับความสุขในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยปัจจัยด้านครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านการเรียนการสอน และปัจจัยส่วนตัวอยู่ในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ปัจจัยส่วนตัว ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์ความสุขในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ดีที่สุด คือ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง บรรยากาศในการเรียนการสอน การเห็นคุณค่าการเรียนรู้ ความน่าสนใจของบทเรียน การเห็นคุณค่าในตนเอง การส่งเสริมความสามารถของนิสิต และความเหมาะสมของสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน ตัวแปรทั้ง 7 ตัวแปรรวมกันสามารถพยากรณ์ความสุขในการเรียนของนิสิตได้ร้อยละ 69.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  This research aimed to study the factors affecting happiness in learning of freshmen of Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University. 290 freshmen were the samples of Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University selected by  Stratified Random Sampling.  The findings were as follows. 1) Factors of family, instruction, and personal matter were positively correlated with freshmen’s. happiness in learning. The factor of family was correlated with happiness in learning at a moderate level while the factors of instruction and personal matter were correlated with happiness in learning at a high level and at statistical significance of .01.  2)  The factors of family, instruction, and personal matter affected the freshmen’s happiness in learning at statistical significance of .01.  3) The variables having prediction power on happiness in learning of the freshmen were positive thought toward oneself, instruction atmosphere, awareness of learning, lesson content, self-esteem, student’s competency promotion, and appropriateness of instruction materials. These seven variables were altogether able to predict the happiness in learning of the freshmen by 69.90% at statistical significance of .01

References

กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์ และคณะ. (2559). ความเครียด การจัดการความเครียดและความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(3), 36-50.

บพิตร อิสระ. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจมาพร อุ่นสุข (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนท่าช้างวิทยาคม. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ปัทมา ทองสม. (2554). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(1), 88-111.

ปริญญา เรืองทิพย์. (2550). การพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

แพรวพรรณ์ พิเศษ. (2548). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, คณะศึกษา ศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รพีพร เตมีศักดิ์. (2558). การศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

รวิวรรณ คำเงิน และรุ่งนภา จันทรา. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนิสิตพยาบาลในโครงการผลิตวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี กระทรวงสาธารณสุข.

วรุณวัณณ์ บุญญาอัครพัฒน์. (2561, 10 กันยายน). นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, สัมภาษณ์.

สุชีรา โพธิ์พันธ์ไม้. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสีดาวิทยา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อิสรา วิชิตพันธ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรวรรณ มากสุข (2556). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผล, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

Published

2022-11-11