กลไกของการพัฒนาผู้สูงอายุในท้องถิ่น : กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี

Mechanism of Local Elderly Development: A Case Study of Chonburi Province

Authors

  • ธนิต โตอดิเทพย์

Keywords:

ผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุในท้องถิ่น, ชลบุรี, การพัฒนา

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกลไกการพัฒนาผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่นการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า กลไกของการพัฒนาผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ใช้เครือข่ายของชมรมผู้สูงอายุในการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรม ลักษณะของการดำเนินกิจกรรมจะเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อการดูแลตนเอง กลไกหลักเพื่อการพัฒนาดูแลผู้สูงอายุเกิดขึ้นระดับพื้นที่ หน่วยปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทเพื่อการบูรณาการร่วมกันภายใต้โครงสร้างของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ซึ่งมีโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยมีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและจิตอาสาเข้ามาเป็นกลไกปฏิบัติงานเชิงพื้นที่  This research article aims to study the mechanism of elderly development at the local level in Chonburi province. The study is a quantitative research. The results revealed that the elderly development mechanism of Chonburi provincial administrative organization was driven by the network of elderly clubs and the self-care knowledge building activities. The mechanism for development occurred at the local level. The local administrative units play a role in working together under the quality of life development center which has programs for promoting elders’ professions, elderly schools, long-term care for the elderly.In these schemes, Village Health Volunteers (VHV) and volunteers are parts of the operating mechanism.

References

กวิน วันวิเวก. (2551). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กิติพงษ์ เร่งถนอมทรัพย์. (2550). ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: ศึกษากรณี เทศบาลตำบลย่างเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดชลบุรี. (2559). การจัดทำแผนการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี. คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดชลบุรี.

จันจิรา ไทยบัณฑิตย์. (2561, 22 มิถุนายน). นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี. สัมภาษณ์.

เทศบาลเมืองหนองปรือ. (ม.ป.ป.). โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองหนองปรือ. แผ่นพับ.

เทศบาลเมืองหนองปรือ. (2560). แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองหนองปรือ. คำสั่งแต่งตั้งเทศบาลเมืองหนองปรือ ที่ 706/2560.

นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ และคณะ. (2560). ทิศทางและการพัฒนานโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยากร หวังมหาพร. (2554). ผู้สูงอายุไทย: พัฒนาการเชิงนโยบายภาครัฐจากอดีตสู่ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปิยากร หวังมหาพร. (2559ก). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปิยากร หวังมหาพร. (2559ข). บทบาทอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน: การเปลี่ยนแปลงจากการปกครองสู่การบริหารปกครองสาธารณะ. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 8(2), 33-58.

สมชาย บุญศิริ, (2561, 5 กรกฎาคม). หัวหน้าฝ่ายสังคมและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. สัมภาษณ์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559ก). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีสภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช).

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559ข). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).

สุรพล ขลึมประเสริฐ. (2561, 5 กรกฎาคม). ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. เทศบาลเมืองหนองปรือจังหวัดชลบุรี. สัมภาษณ์.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (ม.ป.ป.). โอท็อปเด่นชลบุรี (Best OTOP Chonburi). เข้าถึงได้จาก http://www.bestotopchonburi.com

French, E. (2005). The effects of health, wealth and wages on labour supply and retirement behavior. The Review of Economic Studies, 72(2), 395-427.

Sorow, R. (1956). A contribution to the theory of economic growth. Quarterly Journal of Economic, 70(1), 65-94.

Downloads

Published

2022-11-11