ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงอายุ: กรณีศึกษานักท่องเที่ยว ในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร

Elder Tourists Behavioral Intention in Wellness Tourism: A Case Study of Tourists in Elderly Club, Bangkok

Authors

  • นลินี พานสายตา

Keywords:

การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, เจตคติ, ทฤษฎีการกระทำตามเหตุผล, ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเจตคติและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวในชมรมผู้สูง อายุในกรุงเทพมหานคร จำนวน 151 คน ที่ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสามขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงอายุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเจตคติและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .61 และ .36 ตามลำดับ โดยเจตคติและการคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิงร่วมกันอธิบายความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงอายุ ได้ร้อยละ 65 (R2= .65) This research aimed to investigate the effects of attitudes and subjective norms on behavioral intentions in wellness tourism. A total of 151 valid responses were collected from elder tourists in elderly club in Bangkok, three-stage sampling method was used. Descriptive analysis and SEM (Structural Equation Modeling) were used for the data analysis. A structure equation analysis indicated that the overall fit of the proposed model was supported. It was also found that both attitudes and subjective norms had positive and significant influence on behavioral intentions with the path coefficient being .61 and .36 respectively (β = .61, .36; p < .05), which explain the behavioral intentions in wellness tourism of the elder tourists at 65 percent (R2= .65).

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2WBmyy9

เกศวลีณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และณารีญา วีระกิจ. (2562). การประเมินความพร้อมของแหล่งน้ำพุร้อน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ สู่การพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อน. วารสาร Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(3), 1031-1051.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, สุจิตรา สุคนธทรัพย์ และวิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. (2561). สถานการณ์ความต้องการ และแนวโน้มของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 10(1), 167-177.

จามรี ชูศรีโฉม, ปุณยวีร์ ศรีรัตน์ และนิภาพร แซ่เจ่น. (2558). การศึกษาความพร้อมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษาอุทยานบ่อน้ำร้อน ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(3), 91-114.

จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2557, 26 สิงหาคม). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: โอกาสใหม่ไทย เติบโตรับ AEC. กรุงเทพธุรกิจ, หน้า 1.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จำนงชอบ, อรัญ วานิชกร และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2561). ศักยภาพอัตลักษณ์ความเป็นไทยของธุรกิจปาและการนวดแผนไทยเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่สากล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 1-16.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2). 136-145.

เพ็ญพักร์ศิณา วิเชียรวรรณ, วิภาดา มุกดา, วันพุธ เชิญขวัญ และดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. (2559). จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภายในประเทศของผู้สูงอายุ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(2), 13-28.

ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2547). มาตรวัดจำแนกด้วยภาษา. สารานุกรมศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 33(2547), 24-27.

มหิธร จิตตเกษม. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเส้นทางขึ้นภูกระดึง. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(3), 69-82.

ราณี อิสิชัยกุล. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2WBmU7X

วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราทิพย์ แก่นการ. (2561). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนรอบอุทยานบึงบัว จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 185-194.

วัชราภรณ์ จุลทา. (2562). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(2), 1-13.

วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์, สุภาดา คำสุชาติ, สุภกรรณ์ จันทรวงษ์ และธงชัย อามาตยบัณฑิต. (2558). ความเป็นไปได้และรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(2), 210-218.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย และปิยะพร ธรรมชาติ. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพของจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 167-181.

สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3j28bdB

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). โครงการรายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยวรายไตรมาส ประจำปี พ.ศ. 2560. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3j1SB1Q

สำนักพัฒนาสังคม. (2561). ข้อมูลชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ 50 สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkok.go.th/social

สุรีย์ ธรรมิกบวร และชุภาศิริ อภินันท์เดช. (2559). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามวิถีวัฒนธรรมสุขภาพลุ่มแม่น้ำโขง (หมู่บ้านซะซอม) จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(1), 25-40.

Ajzen, I. (2002). Constructing a TPB questionnaire: Conceptual and methodological considerations. Retrieved from https://bit.ly/3y9PuuW

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Glasman, L. R., & Albarracín, D. (2006). Forming attitudes that predict future behaviors: A meta-analysis of the attitude-behavior relation. Psychological Bulletin, 132(5), 778-822.

Goodrich, J. N. (1994). Health tourism: A new positioning strategy for tourist destinations. Journal of International Consumer Marketing, 6(3-4), 227-238.

Hair, J. F., Black, B., Babin, B., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Keadplang, K. (2019). An increased business opportunity of wellness tourism as premium tourist destination in Asian countries. Cultural Approach, 20(37), 102-109.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). New York: Guilford Press.

Lee, M., Han, H., & Lockyer, T. (2012). Medical tourism-attracting Japanese tourists for medical tourism experience. Journal of Travel & Tourism Marketing, 29(1), 69-86.

Mueller, H., & Kaufmann, E. L. (2001). Wellness tourism: Market analysis of a special health tourism segment and implications for the hotel industry. Journal of Vacation Marketing, 7(1), 5-17.

Na, S. A., Onn, C. Y., & Meng, C. L. (2016). Travel intentions among foreign tourists for medical treatment in Malaysia: An empirical study. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 224, 546-553.

Quintal, V. A., Lee, J. A., & Soutar, G. N. (2009). Risk, uncertainty and the theory of planned behavior: A tourism example. Tourism Management, 31(6), 797-805.

Romanova, G., Vetitnev, A., & Dimanche, F. (2015). Health and wellness tourism. Retrieved from https://bit.ly/3feMkyz

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd ed.). New York: Routledge.

Seow, A. N., Choong, Y. O., Moorthy, K., & Chan, L. M. (2017). Intention to visit Malaysia for medical tourism using the antecedents of theory of planned behaviour: A predictive model. International Journal of Tourism Research, 19(3), 383-393.

Downloads

Published

2022-11-11