ความพร้อมและแผนพัฒนาวัดเพื่อรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดชลบุรี

Readiness and Developing Plan of Monasteries for Ageing Society in Chonburi Province

Authors

  • มนตรี วิวาห์สุข

Keywords:

การพัฒนา, สังคมสูงวัย, วัด, จังหวัดชลบุรี, Ageing Society

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมของวัดในการรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดชลบุรี 2) ค้นหาแนวทางการพัฒนาวัดฯ และ 3) วางแผนพัฒนาวัดฯ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 95 รูป/คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจงจาก 11 อำเภอ และ 1 เขตปกครองพิเศษ อำเภอ/เขตปกครองพิเศษละ 1 วัด รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แทนการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่และค่าร้อยละพร้อมกับการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) วัดในจังหวัดชลบุรีมีความพร้อมในการรองรับสังคมสูงวัยในระดับน้อยที่สุดโดย เฉพาะป้ายธรรมะ/สัญลักษณ์อยู่ในระดับขาดแคลน จึงมีความต้องการพัฒนาในระดับมากที่สุด 2) แนวทาง การพัฒนาวัดควรประกอบด้วย ใคร อะไร เมื่อไหร่ อย่างไร และจากไหน (งบ) ตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คำนึงถึงแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และการออกแบบเพื่อทุกคน 3) แผนพัฒนาวัดเป็นแผนระยะสั้นหรือแผนเร่งด่วนควรดำเนินการภายใน 1 ปี สิ่งที่ควรพัฒนาเป็นอันดับแรก คือ ป้ายธรรมะ/สัญลักษณ์ ห้องน้ำ/สุขา และบันได/ทางเดิน ผู้มีส่วนร่วมที่สำคัญ คือ ประชาชน พระสงฆ์/วัด และผู้นำชุมชน งบประมาณส่วนใหญ่ควรมาจากประชาชน หน่วยงานรัฐ และผู้นำชุมชน และสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลหลักมีส่วนร่วมได้มาก คือ กำลังกาย และการประชาสัมพันธ์  This research article consisted of three objectives: 1) to study the readiness of monasteries in responding to the ageing society, Chonburi Province, 2) to find out the guidelines for the development of monasteries, and 3) to set up a development plan of monasteries. The research method was based on a qualitative technique. Ninety-five key informants were purposively selected from each monastery of 11 districts and 1 special administrative region in Chonburi Province. The data were collected through the semi-structured in-depth interview and analyzed by frequency, percentage and content analysis. The results were as follows: 1) Readiness of monasteries in responding to the ageing society including six factors i.e. car parking place/area, stairs/sidewalks, toilets/rest rooms, chairs/seats, teaching billboards/signs, and others was at the lowest level, and then these factors, especially teaching billboards/signs needed to be developed the most. 2) Guidelines should be composed of five parts i.e. who, what, when, how and where (budget), consented with the National Strategic Plan for Reforming Affairs of Buddhism, concerning with the Global Age-Friendly Cities: A Guide as well as the idea of Universal Design. 3) The development plan was the short term/urgent agenda which ought to be finished within one year; the things to be developed were teaching billboards/signs, toilets/rest rooms and stairs/sidewalks, and the major participants were lay devotees, Buddhist monks/Monasteries and community leaders; the budgets should be derived from lay devotees, governmental sectors and community leaders; and the key informants revealed that physical participation and public relations were the things that they provided to the monasteries the most.

References

กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548. (เล่มที่ 122 ตอนที่ 52 ก.). (2548, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 4-19.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการดำเนินงานเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ (Global Age-Friendly Cities: A Guide). กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. ม.ป.ท.

กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือการดำเนินงานโครงการวัด ประชารัฐ สร้างสุข: พัฒนาวัดตามแนวทาง 5 ส. ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สิ่งที่ส่งมาด้วย ที่ มท 0816.3/ว 2206 ลงนามโดยอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Buildings and Environments Design Recommendation for All). กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (ม.ป.ป.). คู่มือมือบ้านใจดีบ้านที่ออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design Home). ม.ป.ท.

สำนักงานจังหวัดชลบุรี. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี (พ.ศ. 2557-2560) ฉบับทบทวนรอบปี 2560. ม.ป.ท.

เสาวภา พรสิริพงษ์, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ และยงยุทธ บุราสิทธิ์. (2557). วัดในพุทธศาสนากับความพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 33(1), 99-125.

หน่วยปฏิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). ข้อแนะนำการออกแบบสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

Center for Inclusive Design and Environmental Access. (2012). The Goals of Universal Design. Retrieved from en.m.wikipedia.org.

Downloads

Published

2022-11-11