โมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจการบริการต่อคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวสแกนดิเนเวีย
A Causal Model of Satisfaction on Service Quality of Health Tourism in Scandinavian Aging Tourists in Thailand
Keywords:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, คุณภาพการบริการ, ความพึงพอใจการบริการ, นักท่องเที่ยว, ผู้สูงอายุ, ชาวสแกนดิเนเวีย, โมเดลเชิงสาเหตุAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจการบริการและคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจการบริการต่อคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวสแกนดิเนเวียด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิจัยพรรณนาเชิงสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวสแกนดิเนเวียในเมืองพัทยา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความพึงพอใจการบริการต่อและคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยใช้การกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling: SEM) และการวิเคราะห์เส้นทางและทดสอบความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจการบริการในด้านบริการ ราคา การจัดจำหน่าย และช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาดในระดับมากที่สุด โดยคุณภาพการบริการรวมและทุก 5 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรแฝงความพึงพอใจในบริการมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพบริการ และอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพบริการได้ร้อยละ 69 การวิจัยในอนาคตควรศึกษาช่องว่างการบริการกับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลักอื่น ๆ และศึกษาศักยภาพของผู้ประกอบการในพื้นที่เมืองพัทยาที่ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแก่นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุต่างชาติอื่น ๆ The study examined service satisfaction and quality of health tourism. It also explored a causal model of satisfaction on service quality of health tourism in aging Scandinavian tourists. The empirical data of this correlational descriptive research was drawn from questionnaires responded by 400 aging Scandinavian tourists who have visited Pattaya city, Chon Buri. Descriptive statistics, means and standard deviation were used. A causal model of satisfaction on service quality of health tourism was created. Structural Equation Model (SEM) was established, and Path analysis was performed. An established hypothesis was consistent with the empirical data and was tested with 0.05 level of statistical significance. The findings revealed that the service satisfaction for health tourism perceived by Scandinavian tourists was rated, as a whole, at the ‘high’ level. The service quality for health tourism of Scandinavian aging tourists in Pattaya City, was rated, as a whole, and in all five aspects at the ‘highest’ level. Service satisfaction had a direct positive effect on the service quality of health tourism. The causal model was consistent with the empirical data. The variables of health tourism service satisfaction in an established model accounted for 69 percent of the total variance of service quality. Future studies should investigate the expected and perceived service quality among other groups of foreign tourists and study the potentiality of health tourism enterprises in certain areas.References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). บทวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดต่างประเทศ. จุลสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2552). Baby Boomer Generation: ผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3ylaMpo
ครองขวัญ เสวกสูตร. (2558). พฤติกรรมการใช้บริการทางการแพทย์ของผู้รับบริการชาวต่างชาติ. สยามวิชาการ, 16(1), 31-48.
บราลี สียา, สุรัติ สุพิชญางกูร, สุชนนี เมธิโยธิน, และกฤช จรินโท. (2553). การศึกษาอิทธิพลของการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัยและการรับรู้คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำโดยขึ้นอยู่กับแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 4(2), 111-127.
บริษัท มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด. (2553). การศึกษาพฤติกรรม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกลุ่มสุขภาพความงาม (Spa and Wellness). เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3ylG3Zr
พิมพา หิรัญกิตติ, ปณิศา มีจินดา, สมชาย หิรัญกิตติ, สุวิมล แม้นจริง, และอุดม สายะพันธุ์. (2552). การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงบริการทางการแพทย์ของ นักท่องเที่ยวต่างชาติ. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ผกาพันธ์ อรพินท์เงิน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ราณี อิสิชัยกุล และรชพร จันทร์สว่าง. (2559). การศึกษาศักยภาพสถานประกอบการสปาไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 17-31.
วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2557). การวิจัยการตลาดและระบบสารสนเทศทางการตลาด. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.
สิปปศิณี บาเรย์. (2555). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสปาในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
อารีย์ลักษณ์ ตระกูลมุกทอง. (2559). การรับรู้กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพบริการและความภักดีของนักท่องเที่ยวต่างชาติในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, 11(2), 115-128.
Chen, M. L., & Chen, K. J. (2010). The relations of organizational characteristics, customer oriented behavior and services quality. African Journal of Business Management, 4(10), 2059-2074.
Cheung, B. C. (2012). A study of the interrelationship of spa guests’ motivation, perceieved service quality, value, satisfaction and behavioral intentions. Doctoral of Philosophy dissertation, Human sciences, Oklahoma State University.
Chieochankitkan, A., & Sukpatch, K. (2014). Te customers’ perception of service quality for spa establishments in the active beach tourism cluster, Thailand. Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 14(3), 53-75.
Devon, M. H. (2007). Medical tourism: Global competition in health care. Nation Center for Policy Analysis [NCPA]. Policy Report No.3042007. Retrieved from https://bit.ly/3xsN9u9
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lalitnuntikul, P. (2016). Integrated management model for day spas business in Thailand. Panyapiwat Journal, 8(Supplement), 28-39.
Lovelock, C., & Wirtz, J. (2011). Service marketing: People, technology, strategy. New Jersey: Prentice-Hall.
Maneesriwongkul, W., & Dixon, J. K. (2004). Instrument translation process: A method review. Journal of Advance Nursing, 48(2), 175-186.
Mustawadjuhaefa, Basrimodding, Muh, Jobhaarbima, & Ilhamlabbase. (2017). Marketing mix and service quality effect on customer satisfaction and loyalty of Toyota cars. Journal of Research in Business and Management, 5(2), 13-23.
Parasuraman, A., Zeithamal, V. A., & Berry, L. L. (1985). SERVQUAL: A multi-item scale for measuring consumer perception of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.
Peterson, R. A. (1984). A meta-analysis of Cronbach’s coefficient alpha. Journal of Consumer Research, 21(2), 381-391.
Romanyani, & Mardatillah, A. (2016). Effect of marketing mix of service and quality of service to costumer’s loyalty. International Journal of Economics, Commerce and Management, 4(10), 502-516.
Somocor, M. (2017). Marketing mix and service quality (servqual) attributes as determinants of customer satisfaction in selected three star hotels in Davao city. International Journal of Contemporary Applied Researches, 4(7), 134-187
Srinita, S. (2018). The effect of service quality and marketing mix strategy towards local sustainable economic growth. European Research Studies Journal, 21(1), 272-284.
Thamrin, H. M. (2012). The role of service marketing mix and ship service quality towards perceived value and its impact to ship passenger’s satisfaction in Indonesia. Global Journal of Management and Business Research, 12(3), 96-102.