โลกทัศน์ไสยศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร : ลักษณะและการเปลี่ยนแปลง

World Outlook of the Superstition in the Royal Chronicle: Characteristics and Changes

Authors

  • อรรถวิทย์ รอดเจริญ
  • ประเทือง ทินรัตน์
  • สิริวรรณ นันทจันทูล

Keywords:

ไสยศาสตร์, พระราชพงศาวดาร, โลกทัศน์

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ไสยศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและนำเสนอผลแบบการพรรณนาวิเคราะห์ เก็บข้อมูลจากพระราชพงศาวดารฉบับความพิสดาร จำนวน 13 ฉบับ จำแนกออกเป็น 3 สมัยตามจารีตการบันทึกพระราชพงศาวดาร ผลการวิจัยพบว่า พระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแสดงโลกทัศน์ด้านไสยศาสตร์ใน 6 ลักษณะ ได้แก่ 1) อิทธิปาฏิหาริย์ 2) ฤกษ์ยาม 3) เครื่องรางของขลัง 4) คาถาอาคม 5) โชคลาง และ 6) ความฝัน ทั้งนี้พระราชพงศาวดารที่ชำระในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแสดงโลกทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อด้านไสยศาสตร์อย่างชัดเจน โดยนำแนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาอธิบายเพื่อปฏิเสธความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ซึ่งสัมพันธ์กับการปรับเปลี่ยนประเทศสยามให้ทันสมัยตามวิทยาการของชาติตะวันตก  The objective of this research was to study the characteristics and changes of the world outlook of superstition in the royal chronicle. Qualitative research methods were used and the results are presented through descriptive analysis. Data were collected from 13 detailed royal chronicles, which were classified into three periods according to the royal chronicle record. The results of this research indicated that the royal chronicles from the Ayutthaya period to the Rattanakosin period during the reign of King Rama V presented six characteristics of the world outlook of superstition, namely: 1) supernatural power, 2) auspicious time, 3) charm and amulet, 4) spell, 5) fortune, and 6) dream. The royal chronicles revised in the reign of King Rama V expressed the world outlook of the changes in the superstition based on scientific concepts and principles to explain phenomena in order to deny superstition. This is related to the Siamese modernization to keep up with knowledge of the West.

References

กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2. (2550). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ขนิษฐา ตันติพิมล. (2535). การวิเคราะห์ความเหลือเชื่อในนิทานคำกลอนของสุนทรภู่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิตใส อยู่สุขี. (2539). การศึกษาความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ของคนไทยจากเอกสารสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. (2547). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ.

ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2519). วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย จากเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ). ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย (หน้า 62-94). กรุงเทพฯ: สังคมศาสตร์ปริทัศน์.

ตำราพิชัยสงคราม ใน บรรณานุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก อำนาจ ดำริกาญจน์. (2524). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ทัศนีย์ สุจีนะพงษ์. (2516). การใช้ไสยศาสตร์ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพย์ สาริกบุตร. (2514). เคล็ดลับไสยศาสตร์. พระนคร: ศิลปบรรณาคาร.

เทพย์ สาริกบุตร. (2549). วิชาคงกระพันชาตรี. กรุงเทพฯ: เสริมวิทย์บรรณาคาร.

นฤมล ธีรวัฒน์. (2525). พระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาฏวิภา ชลิตานนท์. (2524). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555). ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา. ใน ปากไก่และใบเรือ (หน้า 367-436) (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.

นิพัทธ์ แย้มเดช. (2561). ไตรภูมิพระร่วงและจารึกวัดป่ามะม่วง: ลักษณะร่วมด้านเนื้อหาและการสะท้อนภาพลักษณ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย). วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(50), 263-288.

พระมหาสมชาย ธีรปภาโส. (2546). ความเชื่อเรื่องพระบรมสารีริกธาตุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหมอบรัดเล (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2549). กรุงเทพฯ: โฆษิต.

พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 2. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ใน อนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้งพรประภา ณ สุสานศรีราชา ชลบุรี วันที่ 4 กันยายน พุทธศักราช 2511. (2511). (พิมพ์ครั้งที่ 11). ม.ป.ท.

พลูหลวง. (2546). 7 ความเชื่อของไทย [คติสยาม] (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เรไร สืบสุข. (2521). ไสยศาสตร์ในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วิไลเลขา ถาวรธนสาร. (2545). ชนชั้นนำไทยกับการรับวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศานติ ภักดีคำ. (2562). ประวัติศาสตร์อยุธยาจากพระราชพงศาวดาร พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกและฉบับความย่อ. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ฯ.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2531). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตรวจชำระ และทรงนิพนธ์อธิบาย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2545). พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2546). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สายชล วรรณรัตน์. (2525). พุทธศาสนากับแนวคิดความทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. 2325-พ.ศ. 2352). วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2546). สมเด็จฯ กรมดำรงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.

อภิเชษฐ กาญจนดิฐ. (2555). เอกสารลำดับที่ 76 หนังสือแสดงกิจจานุกิจของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์: การปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของชนชั้นนำไทย. ใน สยาม ภัทรานุประวัติและคณะ (บรรณาธิการ). 100

เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทยลำดับที่ 19 (หน้า 55-105). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2555). การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-พ.ศ. 2475 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลศรี อรรถพันธุ์. (2524). การชำระพระราชพงศาวดารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

Published

2022-11-11