คุณค่าข่าวที่มีผลต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์
The Effect of News Value on Issue Selection in Social Media
Keywords:
คุณค่าข่าว, รายการข่าว, สื่อสังคมออนไลน์Abstract
การวิจัยนี้ศึกษาและเปรียบเทียบหลักคุณค่าข่าวที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกประเด็นข่าว การตรวจ สอบข้อมูล และรูปแบบการใช้ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ที่สมควรเสนอเป็นข่าวในทัศนะของสื่อมวลชน และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 6 คน จากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า หลักคุณค่าข่าวที่มีผลต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์ ในทัศนะของสื่อมวลชน ได้แก่ 1) ความสนใจ 2) ความใกล้ชิด 3) ผลกระทบ 4) ความขัดแย้ง และ 5) ความแปลก ส่วนทัศนะของนักวิชาการเห็นว่า ควรเน้นด้านผลกระทบของข้อมูลที่นำเสนอ และประโยชน์ต่อส่วนรวมและบุคคลเป็นสำคัญ การตรวจสอบข้อมูล ทั้งในทัศนะของสื่อมวลชนและนักวิชาการเห็นตรงกันใน 2 วิธี ได้แก่ 1) หาต้นทางผู้โพสต์ และ 2) ตรวจสอบจากแหล่งอื่น โดยสื่อมวลชนตรวจสอบจากความคิดเห็นเพิ่มเติม ส่วนนักวิชาการเสนอให้มีระบบการได้มาซึ่งข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยวิธีคราวด์ซอสซิ่งรูปแบบการใช้ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ในทัศนะของสื่อมวลชน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) เสนอเป็นข่าวเหตุการณ์โดยไม่ต่อยอด 2) ใช้เป็นแหล่งข่าวปฐมภูมิ และ 3) ใช้ประกอบการนำเสนอ ส่วนทัศนะของนักวิชาการพบว่า ควรใช้เป็นแหล่งข่าวปฐมภูมิและประกอบการนำเสนอ โดยต้องสะท้อนปัญหาและนำไปสู่การแก้ปัญหา ผลการวิจัยนี้จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาคุณภาพเนื้อหาข่าวของรายการข่าวโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลต่อไป This research is study the news value use as criteria in selecting the news, information validation, and type of information usage from social media from perspective of journalists and journalism scholars. This study is qualitative research by using in-depth interviews of 6 people from purposive sampling. From perspective of journalists, it was found that the effect of news value on issue selection in social media is 1) audience interest, 2) proximity, 3) effect, 4) conflict, and 5) uniqueness. However, scholars revealed that should be emphasized the effect of news, and the usefulness in social and individual level. To validate the information from perspective of journalists and journalism scholars be of the same opinion in two manners: 1) the origin of the post, 2) other trustworthy sources by journalists check from the comments and scholars propose to get information from social media by Crowdsourcing On type of information usage from social media, journalists thought that three manners: 1) completed news incident, 2) primary news source to develop into a deeper edge, and 3) news component. However, the scholars thought that should be primary news source for a deeper edge, and news component to reflect and resolve the problem. The result of research will lead to improve the quality of news content of television program in digital era.References
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557). “User-Generated Content”: ยุคสื่อของผู้ใช้ เข้าถึงได้จาก https://positioningmag.com/58244
นักวิชาการ 1 (นามสมมติ). (2562, 31 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.
นักวิชาการ 2 (นามสมมติ). (2562, 11 มิถุนายน). สัมภาษณ์.
นักวิชาการ 3 (นามสมมติ). (2562, 17 มิถุนายน). สัมภาษณ์.
พรรณพิไล ปุกหุต. (2553). กรอบในการคัดเลือกข่าวของสถานีข่าวทีเอ็นเอ็น 24. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณทิพา จิตราวุฒิพร และพงษ์ วิเศษสังข์. (2561). การคัดเลือกข่าวจากคลิปวิดีโอในโซเชียลมีเดีย เพื่อนำเสนอในรายการข่าวโทรทัศน์. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 (หน้า 671-678). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พัชรา เอื้ออมรวนิช. (2561). สื่อสังคมออนไลน์กับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(2), 235-242.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). แนวทางเพื่อการเรียนรู้การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส 1989).
มัทนา เจริญวงศ์. (2562). พลเมืองสร้างสื่อ สื่อสร้างพลเมือง. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
มัทนา เจริญวงศ์ และอาภาพร ทองเรือง. (2556). การเกิดขึ้นและพัฒนาการของนักข่าวพลเมืองไทยพีบีเอส. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2), 265-286.
วัฒณี ภูวทิศ. (2560). ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 135-144.
ศศิธร ยุวโกศล. (2545). การให้ความหมายข่าวในมุมมองผู้รับสาร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวารสารสนเทศ, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสุข หินวิมาน, ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ, ภัทธีรา สารากรบริรักษ์, อารดา ครุจิต, กรรณิกา รุ่งเจริญพงษ์ และกุลนารี เสือโรจน์. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สื่อมวลชน 1 (นามสมมติ). (2562, 18 กรกฎาคม). สัมภาษณ์.
สื่อมวลชน 2 (นามสมมติ). (2562, 5 กรกฎาคม). สัมภาษณ์.
สื่อมวลชน 3 (นามสมมติ). (2562, 23 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.
สุทธิชัย หยุ่น. (2555). อนาคตของข่าว. กรุงเทพฯ: ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย).
สกุลศรี ศรีสารคาม. (2558). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการจัดการเนื้อหาจากผู้รับสารในกระบวนการสื่อข่าว. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(2), 145-166.
สกุลศรี ศรีสารคาม, สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และบุณยศิษย์ บุญโพธิ์. (2559). การส่งเสริมแนวทางการใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในกระบวนการรายงานข่าวในยุคเทคโนโลยีหลอมรวม. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3jgBObt
สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และจักร์กฤษ เพิ่มพูล. (2557). หลักและแนวคิดวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์. กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลคลิ๊ก.
เสริมศิริ นิลดำ. (2550). คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตทางสังคม. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.