เทวันคำกาพย์: นิทานพื้นบ้านไทยที่เปลี่ยนรายละเอียดเนื้อเรื่องมาจากชาดก

Thewan Kham Kap: A Thai Folktale with the Changing Details from Jataka

Authors

  • ณัฐา ค้ำชู

Keywords:

เทวันคำกาพย์, นิทานคำกาพย์, กลอนสวด, นิทานพื้นบ้าน, การดัดแปลงวรรณกรรม

Abstract

เทวันคำกาพย์เป็นนิทานพื้นบ้านไทยประเภทลายลักษณ์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาในยุคที่สังคมไทยนิยมการสวดอ่าน และฟังนิทานหรือกลอนสวดในที่ประชุมชนหรือในครัวเรือนราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันต้นฉบับเทวันคำกาพย์ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่ฝ่ายเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร  กวีสร้างสรรค์เทวันคำกาพย์มาจากเทวันธชาดก ซึ่งเป็นนิทานในปัญญาสชาดก โดยได้เปลี่ยนรายละเอียดของตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่อง ได้แก่ เปลี่ยนรายละเอียด ชื่อ ลักษณะ พฤติกรรมของตัวละคร เปลี่ยนรายละเอียดเหตุการณ์ในเรื่องด้วยการนำอนุภาคและเหตุการณ์จากวรรณกรรมหรือนิทานเรื่องอื่นที่รู้จักกันดีที่มีมาก่อนมาดัดแปลงผสมผสาน ทำให้เทวันคำกาพย์มีความแตกต่างไปจากตัวบทนิทานต้นเรื่อง ซึ่งก่อให้เกิดความตลกขบขัน นอกจากนี้กวียังเปลี่ยนรายละเอียดของหลักธรรมคำสอนที่ปรากฏในเนื้อเรื่องให้ง่ายต่อความเข้าใจและการจดจำของผู้อ่านผู้ฟังซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นชาวบ้านชาววัด เทวันคำกาพย์เป็นนิทานพื้นบ้านไทยอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ มีคุณค่า สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญา ความรอบรู้และความสามารถของกวีในการปรับเปลี่ยนนิทานศาสนาให้มาเป็นนิทานพื้นบ้าน จึงควรอนุรักษ์และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางต่อไป  Thewan Kham Kap is a recorded type of Thai Folktale which was created when Thai society was fond of storytelling or Klon Suat (Thai religious verse) at social gathering or in the household from around Early Rattanakosin Period to the reign of King Rama V. Nowadays, the original version of Thewan Kham Kap is securely kept at the Archival Department, National Library of Thailand, Bangkok. Thewan Kham Kap is originated from Thewan Jataka which is one of the tales in Pannasa Jataka. A poet changed some details of the characters and incidents in the story such as the characters’ names, characteristics, and behaviors. The poet also adapted and added motif and incidents from other well-known literatures or famous tales. Therefore, Thewan Kham Kap was differentiated from the original story; and that made it appear to be humorous and fun to read. Moreover, the poet simplified moral principles appeared in the story to be more comprehensible and easier to memorize for the readers who were mostly the villagers.  Thewan Kham Kap is one of the interesting and valuable Thai folktales. It reflects the poet’s wisdom, omniscience, and talent for adapting religious tales into a good folktale. Hence, it should be conserved as well as widely publicized.

References

จรรยา เหตะโยธิน. (2561). การดัดแปลงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เรื่อง นักฉลาดมืออาชีพ สู่การออกแบบภาพในงานแอนิเมชัน เรื่อง The Wise. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 27(2), 249-260.

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. (2552). พระพิฆเนศวร “เจ้าผู้มีอำนาจเหนืออุปสรรค”. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐา คํ้าชู. (2553). วิเคราะห์การสร้างสรรค์นิทานคำกาพย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2555). สัมพันธบทของบทละครเวทีเรื่องสาวิตรีและการสร้างสรรค์ใหม่เพื่อสื่อสารอุดมคติแห่งรัก. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช ปุณโณทก. (2533). แนวทางศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านประเภทลายลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

ธวัช ปุณโณทก. (2553). นิทานพื้นบ้าน. นนทบุรี: ปันรู้.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2558). ปัญญาสชาดก: ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ลายคำ.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่มสอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2549). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พลับลิเคชั่น.

วรัทพร ศรีจันทร์. (2551). การเล่าเรื่องและการดัดแปลง เดธโน้ต ฉบับหนังสือการ์ตูนแอนิเมชั่น ภาพยนตร์และนวนิยาย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชยุตม์ ปูชิตากร. (2556). สัมพันธบทข้ามสื่อและข้ามวัฒนธรรมเรื่อง “ริง” ในนวนิยายภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2557). กระบวนการสร้างสรรค์บทการแสดงประกอบแสงเสียง เรื่องอุรังคธาตุปกรณัม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 130-155.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2556). เวตาลปัญจวิงศติ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ชนนิยม.

ศิราพร ฐิตะฐาน. (2523). ทฤษฎีการแพร่กระจายของนิทาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัมพันธ์ สุวรรณเลิศ. (2550). กลวิธีการดัดแปลงวรรณกรรมต้นฉบับเป็นละครนอกของกรมศิลปากร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุขสมาน ยอดแก้ว. (2524). สุภมิต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุดารัตน์ มาศวรรณา. (2553). การเปลี่ยนแปลงของนิทานสู่หนังสือการ์ตูนนิทานไทย. ช่อพะยอม, 21(1), 82-93.

หอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เจ้าเทวันสมุด 1. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหมึก, เลขที่ 170.

หอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เทวัน เล่ม 2. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหมึก, เลขที่ 169.

เอมอร รัตนเนตร. (2533). การวิเคราะห์นิทานคำกาพย์เรื่องปทุมกุมารซึ่งมีที่มาจากมหาปทุมชาดกในปัญญาสชาดก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจารึกภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

Published

2022-11-18