แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก

Guidelines to Promote Self Practice on Moral and Ethics in Accordance with Buddhism among Juvenile in the East

Authors

  • บุญรอด บุญเกิด
  • พัชรินทร์ รุจิรานุกูล

Keywords:

คุณธรรมจริยธรรม, พระพุทธศาสนา, เยาวชนภาคตะวันออก

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก เครื่องมือการวิจัย คือ แนวประเด็นการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม โดยกำหนดผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน คัดเลือกจากบุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คุณลักษณะผู้เข้าร่วมการสนทนาที่กำหนดขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก ได้แก่ 1) มีการขับเคลื่อน ส่งเสริมการปฏิบัติตนของเยาวชน โดยดำเนินการร่วมกันของสถาบันทางสังคม 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา โดยเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวที่ใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด 2) มีการขับเคลื่อน ส่งเสริมการปฏิบัติตนของเยาวชนผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ในสังคมท้องถิ่นภาคตะวันออก โดยสื่อมวลชนต่าง ๆ ตระหนักและให้ความสำคัญในการผลิต นำเสนอ และเผยแพร่ข่าวหรือรายการที่ส่งเสริม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา 3) การสร้างบุคคลต้นแบบ การเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่นภาคตะวันออกหรือบุคคลสาธารณะ 4) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 จังหวัด ควรสร้างเครือข่ายเพื่อดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้มีกิจกรรมคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในระดับชุมชนจนถึงระดับชาติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนได้แสดงออกด้านคุณธรรมจริยธรรมสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมขวัญกำลังใจให้แก่เยาวชนโดยการให้รางวัลและกล่าวคำยกย่อง  This research aimed to study the guidelines to promote the practices of morality and ethics in accordance with Buddhism disciplines among juveniles in the East of Thailand. The research tools consisted of focus group discussions comprising 12 participants who were selected according to the research qualification requirement. The result revealed as follows:  The promotion of practice of morality and ethics in accordance with the Buddhism disciplines among the juveniles in the East could be conducted by these four guidelines. First, the cooperation of the three social institutes which are family, educational institutes and religious institutes must be constructed. The initiative institute should be the family as family was the closest to the juveniles. Second, the promotion of the practices must be done through local media. All channels and types of media must realize the significance of Buddhism disciplines and present these on their programs. Third, role models must be created. Famous people in the East, for instance, artists, movie stars or singers who are popular among the juveniles must be role models who practice themselves along with the Buddhism disciplines. And fourth, all governmental institutes in these four eastern provinces must build up networks to seriously and continually promote and supports activities concerning the practices of morality and ethics in accordance with the Buddhism disciplines among the juveniles in local and national levels in order to give the juvenile stages to express themselves and encourage them by presenting rewards and complements.

References

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ม.ป.ป.). เอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3xipEUh

ตัวแทนจากสถาบันศาสนา คนที่ 1. (2561, 20 สิงหาคม). ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนา. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนจากสถาบันศาสนา คนที่ 2. (2561, 20 สิงหาคม). พระเจ้าอาวาส. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน คนที่ 1. (2561, 20 สิงหาคม). ผู้แทนกรมกิจการเด็กและเยาวชน. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน คนที่ 2. (2561, 20 สิงหาคม). นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี คนที่ 1. (2561, 20 สิงหาคม). ผู้บริหารสถานศึกษา. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี คนที่ 2. (2561, 20 สิงหาคม). ครูผู้สอน. สนทนา กลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดชลบุรี คนที่ 1. (2561, 20 สิงหาคม). ผู้บริหารสถานศึกษา. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดชลบุรี คนที่ 2. (2561, 20 สิงหาคม). ครูผู้สอน. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดตราด คนที่ 1. (2561, 20 สิงหาคม). ผู้บริหารสถานศึกษา. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดตราด คนที่ 2. (2561, 20 สิงหาคม). ครูผู้สอน. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดระยอง คนที่ 1. (2561, 20 สิงหาคม). ผู้บริหารสถานศึกษา. สนทนากลุ่ม.

ตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดระยอง คนที่ 2. (2561, 20 สิงหาคม). ครูผู้สอน. สนทนากลุ่ม.

พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ. (2552). รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาอบรมและพัฒนาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนให้ดำเนินชีวิต อย่างเหมาะสมตามหลักพุทธธรรม. ลำพูน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน.

ศิริวรรณ กันศิริ, ยุภาดี ปณะราช และไพรินทร์ เหมบุต. (2559). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดกำแพงเพชร. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (ฉบับที่ 2) (หน้า 32-33). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สมสุข นิธิอุทัย. (2554). การพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2544). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อมร โสภณวิเชษฐ์วงศ์ และกวี อิศริวรรณ. (2536). พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

อิสระพงศ์ แซงมุกดา. (2552). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการจัดกิจกรรมโครงการมวลชนสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

Published

2022-11-18