ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557-2560

Employer’s Satisfaction towards the Competencies of Graduates from Bachelor of Information Studies Program, Burapha University, Graduated during Academic Years 2014-2017

Authors

  • ศรีหทัย เวลล์ส

Keywords:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, สารสนเทศศึกษา, ผู้ใช้บัณฑิต, สมรรถนะของบัณฑิต

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสมรรถนะของบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ 2) เพื่อศึกษาจุดแข็ง และจุดอ่อนที่ควรพัฒนาในสมรรถนะทั้ง 5 ด้านของบัณฑิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ใช้บัณฑิตแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 123 คน 2) กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อสมรรถนะทั้ง 5 ด้านของบัณฑิตฯ อยู่ในระดับมากในทุกด้าน และ 2) จุดแข็งและจุดอ่อนที่ควรพัฒนาของบัณฑิตพบว่า จุดแข็งของบัณฑิตฯ เรียงตามลำดับดังนี้ 1) สามารถเรียนรู้งานได้รวดเร็วและมีความสามารถในการปฏิบัติงาน 2) มีจิตบริการและมีน้ำใจ และ 3) มีทัศนคติที่ดีต่องาน ส่วนจุดอ่อนที่ควรพัฒนาของบัณฑิตฯ เรียงตามลำดับดังนี้ 1) ขาดทักษะทางภาษาอังกฤษ 2) ขาดภาวะผู้นำ และ 3) บัณฑิตบางส่วนขาดการควบคุมอารมณ์  The purposes of this research were: 1) to study employers’ satisfaction through five Thai qualifications framework for Higher Education, including ethics, moral and professional ethics, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills and responsibility, and numerical  analysis, communication and information technology skills and; 2) to study the Information Studies graduates’ strengths and weaknesses. This research is a mixed method research. The samples were divided into two groups: 1) quantitative research sample group consisted of 123 employers and 2) qualitative research sample group consisted of 10 employers. The research instruments were questionnaires and semi-structure in-depth interviews. The quantitative data were analyzed  by means and standard deviation, and content analysis was used for analyzing the qualitative data. The results were as follows: 1) employers’ satisfaction regarding ethical and moral, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills and responsibility, and numerical analysis, communication and information technology skills were at high level; and 2) the information Studies graduates’ strengths were: 1) able to learn fast and having a job specific skills; 2) having a service mind and generosity; and 3) having a positive attitude toward job. The weaknesses of the Information Studies graduates were as follows: 1) a lack of English skills; 2) a lack of leadership and self-confidence; and 3) a lack of emotional control

References

กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. (2558). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2562. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กลุ่มบรรณารักษ์สังกัดหน่วยงานราชการ. (2562, 22 มีนาคม). สัมภาษณ์.

เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี. (2548, 25 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 7-13.

แขไข (นามสมมติ). (2562, 14 มีนาคม). สัมภาษณ์.

ดวงใจ (นามสมมติ). (2562, 4 เมษายน). หัวหน้าบรรณารักษ์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. สัมภาษณ์

ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์ และเดชดนัย จุ้ยชุม. (2559). สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์: การสร้างความพร้อมเพื่อการเป็นบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 9(2), 87-97.

ณัฐวดี มะลิทอง. (2545). การผลิตและพัฒนาบรรณารักษ์ระบบสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นุจรินทร์ ปทุมพงษ์ และชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2558). การพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิของประเทศไทยสำหรับวิชาชีพบรรณารักษ์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 8(2), 15-29.

พจน์ (นามสมมติ). (2562, 21 มีนาคม). สัมภาษณ์.

พรชิตา อุปถัมภ์. (2554). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พ้นพันธ์ ปิลกศิริ. (2555). ความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งของบรรณารักษ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิพัฒน์ ดารากร ณ อยุธยา. (2558). ความคาดหวังขั้นพื้นฐานของสถานประกอบการที่มีต่อแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 99-113.

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2554). ผลการสำรวจคุณภาพบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาควิชาสารสนเทศศึกษา. (2554). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาควิชาสารสนเทศศึกษา. (2559ก). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาควิชาสารสนเทศศึกษา. (2559ข). รายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 (1 สิงหาคม 2558-31 กรกฎาคม 2559). ชลบุรี: ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาควิชาสารสนเทศศึกษา. (2562). รายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2560 (1 สิงหาคม 2561-31 กรกฎาคม 2562). ชลบุรี: ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิมานพร รูปใหญ่. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. อุบลราชธานี:

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วิลาวัณย์ พรพัชรพงศ์. (2560). การศึกษาความต้องการบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(5), 151-160.

ศิริกาญจน์ โพธิ์เขียว, เนตร โพธิ์เขียว และอภิญญา หนูมี. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศตามความคิดเห็นของสถาบันบริการสารสนเทศในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสารสนเทศ, 16(1), 199-214.

สรคม ดิสสะมาน. (2550). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาสารนิเทศศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายสุดา ปั้นตระกูล, บุญลักษณ์ ตำนานจิตร และบรรพต พิจิตรกำเนิด. (2562). การประเมินหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 221-233.

สิรี (นามสมมติ). (2562, 29 มีนาคม). ผู้จัดการร้านหนังสือ. สัมภาษณ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

American Library Association. (2009). ALA standards & guidelines. Retrieved from https://bit.ly/3xlJY7d

Association of College and Research Library. (2016). Framework for information literacy for higher education. Retrieved from https://bit.ly/3C6fAS9

Grizzle, A., et al. (2013). Media and information literacy: Policy and strategy guidelines. France: UNESCO.

Downloads

Published

2022-11-18