ความเข้าใจอิทธิพลเชิงโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในบทแปลภาษาไทยของนิสิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา

The Comprehension of English Syntactic and Grammatical Influences on English-Thai Translation among English Majors at Burapha University

Authors

  • สมภพ ใหญ่โสมานัง

Keywords:

โครงสร้างภาษาอังกฤษ, ความเข้าใจ, การแปล, ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ, อิทธิพลเชิงโครงสร้าง และไวยากรณ์

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเข้าใจเชิงโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่มีอิทธิพลต่อการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 115 คน โดยใช้แบบทดสอบการแปลในการวัดความเข้าใจ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลก่อนและหลังทดสอบเพื่อหาความถี่และค่าร้อยละของข้อผิดพลาดอันแสดงถึงระดับความเข้าใจ พบว่าก่อนทดสอบตัวอย่างมีความเข้าใจน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก คือ articles (ข้อผิดพลาด 114 ครั้ง หรือร้อยละ 99.1) ellipses (ข้อผิดพลาด 113 ครั้ง หรือร้อยละ 98.3) non-count nouns (ข้อผิดพลาด 113 ครั้ง หรือร้อยละ 98.3) non-count nouns (ข้อผิดพลาด 112 ครั้ง หรือร้อยละ 97.4) และ articles (ข้อผิดพลาด 108 ครั้ง หรือร้อยละ 93.9) หลังทดสอบ ตัวอย่างมีความเข้าใจน้อยที่สุด 5 ลำดับแรก คือ non-count nouns (ข้อผิดพลาด 113 ครั้ง หรือร้อยละ 98.3) articles (ข้อผิดพลาด 108 ครั้ง หรือร้อยละ 93.9) non-count nouns (ข้อผิดพลาด 106 ครั้ง หรือร้อยละ 92.2) ellipses (ข้อผิดพลาด 101 ครั้ง หรือร้อยละ 87.8) และ ellipses (ข้อผิดพลาด 99 ครั้ง หรือร้อยละ 86.1) หลังจากนั้นมีการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยความเข้าใจก่อนและหลังทดสอบเพื่อหาความแตกต่าง พบว่าเรื่อง punctuation, articles, nouns, passive voice, present participial phrases, past participial phrases, ellipses และ empty/dummy subjects มีคะแนนเฉลี่ยหลังทดสอบมากกว่าก่อนทดสอบ เรื่อง modals มีคะแนนเฉลี่ยหลังทดสอบน้อยกว่าก่อนทดสอบ ในขณะที่เรื่อง verb tenses มีคะแนนเฉลี่ยหลังทดสอบไม่แตกต่างจากก่อนทดสอบ The research sought to determine the comprehension of English syntactic and grammatical influences on English-Thai translation among 115 English majors at Burapha University. The data were obtained from the translation tests on syntactic and grammatical points, collected in two phases as for pre-test scores and post-test scores. The data were statistically analyzed to identify each type of errors and the frequency distribution of a data value. The pre-test analysis revealed the top five most frequent syntactic and grammatical errors on translation, a reflection of their comprehension levels. They were articles (f=114, 99.1%), ellipses (f=113, 98.3%), non-count nouns (f=113, 98.3%), non-count nouns (f=112, 97.4%), and articles (f=108, 93.9%), respectively. The top five most frequent syntactic and grammatical errors on translation were also identified in the post-test analysis as follows: non-count nouns (f=113, 98.3%), articles (f=108, 93.9%), non-count nouns (f=106, 92.2%), ellipses (f=101, 87.8%), and ellipses (f=99, 86.1%), respectively. The comparison of the differences between the post-test and pre-test scores was made. The difference analyses indicated the post-test scores were greater than the pre-test scores on punctuation, articles, nouns, passive voice, present participial phrases, past participial phrases, ellipses and empty/ dummy subjects. The post-test scores were less than the pre-test ones on modals while verb tenses showed no difference scores between the two analyses.

References

เชวง จันทรเขตต์. (2528). การแปลเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์ และปรีมา มัลลิกะมาส. (2547). อิทธิพลของภาษาอังกฤษในบทแปลภาษาไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 33(1), 69-110.

ดวงตา สุพล. (2541). ทฤษฎีและกลวิธีการแปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เตือนจิตต์ จิตต์อารี. (2553). แปลให้เป็นแล้วเก่ง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทิพา เทพอัครพงศ์. (2547). การแปลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีมา มัลลิกะมาส. (2556). การแปลกับการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรนาถ วิมลเฉลา. (2543). คู่มือสอนแปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิษณุ กอปรสิริพัฒน์. (2549). การแปลตามหลักภาษาศาสตร์. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2552). แปลได้ แปลดี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2555). แปลผิด-แปลถูก คัมภีร์การแปลยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lane, J., & Lange, E. (2012). Writing clearly: Grammar for editing (3rd ed.). Boston: Heinle/ Cengage Learning.

Leech, G. (2006). A glossary of English grammar. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Leech, G., & Svartvik, J. (2002). A communicative grammar of English (3rd ed.). Essex: Pearson Education Limited.

Parrott, M. (2007). Grammar for English language teachers. Cambridge: Cambridge University Press.

Pojprasat, S. (2007). An analysis of translati on errors made by Mattayomsuksa 6 students. Master’s thesis, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University.

Swan, M. (2016). Practical English Usage (4th ed.). Oxford: Oxford University Press.

Tallerman, M. (2011). Understanding syntax (3rd ed.). London: Hodder Education.

Wongranu, P. (2012). A study of translation errors in documentary translation by freelance translators. An Online Journal of Education, 7(1), 74-86. Retrieved from https://bit.ly/3A6qB3O

Downloads

Published

2022-11-18