กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง

The Contemplation-oriented Transformative Learning Facilitation for Cultivating Eco-cultural Entrepreneurs of the Bang Pakong Communities

Authors

  • สมสิทธิ์ อัสดรนิธี
  • ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ
  • กัญจน์ ทัตติยกุล

Keywords:

นิเวศวัฒนธรรม, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, ชุมชน, บางปะกง

Abstract

บนความเชื่อพื้นฐานที่มุ่งความสำคัญไปที่คนและกระบวนการเรียนรู้ของคนเป็นอันดับแรก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาที่มีความเหมาะสมสำหรับการบ่มเพาะผู้ประกอบการทางนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำบางปะกง รวมถึงศึกษาศักยภาพของผู้ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การจดบันทึก การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการที่เหมาะสม คือ กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและผ่านประสบการณ์ตรงที่ต้องประกอบด้วยความสมดุลระหว่างมิติภายในกับมิติภายนอก โดยอาศัยคุณค่า ความหมายและเจตจำนงของผู้เรียนรู้เป็นตัวนำ ส่วนศักยภาพสำคัญที่พบในตัวผู้เข้าร่วม ได้แก่ การตระหนักอย่างลึกซึ้งในรากเหง้าของชุมชน การเกิดพลังกลุ่ม และการมีพลัง และความเชื่อมั่นในหนทางการสร้างความเข้มแข็งที่ใช้คุณค่าภายในเป็นตัวนำ ขณะที่ผลผลิตหลักของโครงการ คือ พื้นที่ทางวัฒนธรรม 22 จุด และแผนที่ทางวัฒนธรรม 3 เส้นทาง  With the basic assumption to give a priority to human beings and their learning process, this research aimed to investigate the contemplation-oriented transformative learning facilitation appropriate for the cultivation of eco-cultural entrepreneurs of the Bang Pakong communities as well as to study their capabilities found after the completion of the program. The methodology used was action research; and data were collected and analyzed qualitatively; using focus group interview, journaling, non-participant observation, and in-depth interview as research tools. The results revealed that the appropriate learning process was found to be a participatory and experiential one, with a good balance between inner and outer practices; whilst values, meanings, and intents were prioritized over other things. Meanwhile, crucial capabilities developed in participants were deep realization upon root  empowerment of the communities, team cohesion, and inspiration and faith in value driven action. As the major outputs, the project yielded 22 spots of cultural space and three different cultural maps.

References

กฤษฎา บุญชัย. (2560). ว่าด้วยวิจัยท้องถิ่น ตอนที่ 2 Inside Out ญาณวิทยาเชิงลึกของชุมชน. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3xfvExa

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2561-2565) (ฉบับทบทวน). เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3ynZpx0

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). ศักยภาพชุมชนและการมีส่วนร่วมพลเมืองในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion, 6(2), 265-294.

ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2561). นิเวศวิทยามนุษย์: การศึกษาสิ่งแวดล้อมในมิติของสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และอดิศร จันทรสุข. (2552). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: คู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตะติยา กาฬสุวรรณ์. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้เข้าร่วม#1. (2561, 17 กรกฎาคม). สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วม#2. (2561, 19 กรกฎาคม). จดบันทึก.

ผู้เข้าร่วม#3. (2561, 19 กรกฎาคม). จดบันทึก.

ผู้เข้าร่วม#4. (2561, 19 กรกฎาคม). จดบันทึก.

ผู้เข้าร่วม#4. (2561, 4 พฤศจิกายน). จดบันทึก.

ผู้เข้าร่วม#4. (2562, 28 มกราคม). สัมภาษณ์.

ผู้เข้าร่วม#5. (2562, 28 มกราคม). สัมภาษณ์.

ผู้เข้าร่วม#6. (2562, 9 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

พลอยโพยม บ้านโพธิ์ (นามสมมติ). (2562, 19 มกราคม). สนทนากลุ่ม.

ภารดี มหาขันธ์. (2555). การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออก ยุคปรับปรุงประเทศตามแบบสมัยใหม่ถึงปัจจุบัน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2553). พัฒนาการของศาสตร์ทางสังคม. ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม (หน้า 19-33) (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิบูลย์ เข็มเฉลิม. (2548). วิถีคนบนป่าตะวันออกผืนสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี. (2554). ญาณวิทยาของจิตตปัญญาศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2553). ปรัชญาของศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: สามลดา.

Gehman, J., & Soublière, J. F. (2017). Cultural entrepreneurship: From making culture to culture making. Innovation: Organization & Management, 19(1), 61-73.

Wikipedia. (2018). Cultural ecology. Retrieved from https://bit.ly/3A6DfzM

WinklerPrins, A. M. G. A. (2010). Cultural ecology. Retrieved from https://bit.ly/2VkDwk3

Downloads

Published

2022-11-18