ชนิดของสมาสสันสกฤตที่ปรากฏในภาษาไทย
Types of Sanskrit Samāsa Appearing in Thai Language
Keywords:
ชนิดของสมาส, สมาสสันสกฤต, คำสมาสในภาษาไทยAbstract
บทความเรื่องชนิดของสมาสสันสกฤตที่ปรากฏในภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอชนิดของสมาสสันสกฤตที่ปรากฏในภาษาไทย โดยใช้เกณฑ์การสมาสของภาษาสันสกฤตในการพิจารณาคำสมาสในภาษาไทย ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าสมาสสันสกฤต ที่ปรากฏในภาษาไทยมี 6 ชนิด ได้แก่ ตัตปุรุษสมาส กรรมธารยสมาส พหุวรีหิสมาส ทวิคุสมาส ทวันทวสมาส และอัพยยีภาวสมาส นอกจากนี้ยังพบสมาสย่อยของ ตัตปุรุษสมาส 3 ชนิด คือ วิภักติตัตปุรุษสมาส นัญตัตปุรุษสมาส และอุปปทสมาส สมาสย่อยของกรรมธารยสมาส 4 ชนิด ได้แก่ วิเศษณปูรวปทสมาส วิเศษยปูรวปทสมาส อุปมาโนตตรปทสมาส และอวธารณาปูรวปทสมาส และพบสมาสย่อยของอัพยยีภาวสมาส 1 ชนิด คือ อัพยยปูรวปทสมาส ชนิดของสมาสสันสกฤตเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ภาษาสันสกฤตมีอิทธิพลต่อภาษาไทยไม่ใช่มีแต่เพียงด้านคำ ด้านอักขรวิธี หรืออิทธิพล ด้านสำนวนภาษาและการผูกประโยคเท่านั้น แต่การสร้างคำโดยเฉพาะการสร้างคำโดยวิธีสมาสก็เป็นอิทธิพลที่ภาษาสันสกฤตมีต่อภาษาไทยเช่นกัน This article explored types of Sanskrit Samāsa (compound) appearing in Thai Language. The objective was to apply criterion of Sanskrit Samāsa to determine Thai Samāsa words. It can be concluded that there are six types of Sanskrit Samāsa appearing in Thai Language, namely Tatpuruṣa-Samāsa, Karmadhāraya-Samāsa, Bahuvrīhi-Samāsa, Dvigu-Samāsa, Dvandva-Samāsa, and Avyayībhāva-Samāsa. In addition, three subordinate types of Tatpuruṣa-Samāsa are founded, namely, Vibhakti-Tatpuruṣa-Samāsa, Nañ-Tatpuruṣa-Samāsa and Upapada-Tatpuruṣa-Samāsa. Also, this study found four subordinate types of Karmadhāraya-Samāsa: Viseṣṇapūrvapada-Samāsa, Viseṣyapūrvapada-Samāsa, Upam nottarapada-Samāsa, and Avadhāraṇāpūrvapada-Samāsa. Moreover, one subordinate type of Avyayī bhāva-Samāsa is also identified, i.e. Avyayapūrvapada-Samāsa. These types of Sanskrit Samāsa present that an influence of Sanskrit on Thai language is not only on words, orthography, idioms and structure of sentences but also on word formation. Therefore, Thai word formation, Samāsa formation in particular influences Sanskrit on Thai Language.References
จันจิรา เซี่ยงฉิน. (2550). คำสมาสในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา. (2559). การอธิบายเรื่อง “สมาส” ในตำราไวยากรณ์ไทย. ใน การประชุมวิชาการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 10 “เอกภาพและความหลากหลายใน
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” (หน้า 160-176). ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จำลอง สารพัดนึก. (2517). อิทธิพลของสันสกฤตอันมีต่อภาษาไทย: งานวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จำลอง สารพัดนึก. (2542). สังเขปไวยากรณ์สันสกฤต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระมหาสาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2552). การวิเคราะห์คำสมาสในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2553). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำและการยืมคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงาน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อภิชาญ ปานเจริญ. (2556). ภาษาสันสกฤต 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Vidyasagar, K. L. V., Sastry Pandit, L., & Sastri, A. (1984). Sabda manjari. India: J. C. Sachdev at Navabharat Offset Works.