บทบาทของปัจเจกบุคคลต่อการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการชุมนุมของคณะ กรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในปี พ.ศ. 2556-2557
The Role of Individuals in the Flow of Information through Social Media: The Case Study of People’s Democratic Reform Committee Movement (PDRC) from 2014 to 2015 A.D.
Keywords:
สื่อสังคมออนไลน์, การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร, การชุมนุมทางการเมืองAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของปัจเจกบุคคลต่อการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในมิติทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในกรณีการชุมนุมของคณะ กรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในปีพ.ศ. 2556-2557 ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงวิกฤตทางการเมืองมีการใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการถ่ายทอดข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป โดยแนวทางที่บุคคลทั่วไปใช้ช่องทางนี้เพื่อสื่อสาร คือ 1. ปัจเจกบุคคลที่ใช้นามจริง โดยการศึกษานี้ศึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊กหนึ่งในแกนนำ กปปส. ซึ่งเพจมีท่าทีเป็นมิตรกับกลุ่มต่าง ๆ เพื่อหาแนวร่วม 2. ปัจเจกบุคคลที่ใช้นามแฝง โดยการศึกษานี้ศึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊กของตัวแทนผู้ใช้นามแฝง ซึ่งแสดงท่าทีว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลชัดเจน และนำเสนอข้อมูลบางประเด็นที่สื่อมวลชนมักไม่นำเสนอ เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ในประเด็นบทบาทของปัจเจกบุคคลต่อการไหลเวียนของข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์พบว่า ในขณะที่สื่อมวลชนแสดงบทบาทในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง โดยการเป็นสื่อกลางรายงานความเคลื่อนไหว ผลกระทบ และนำเสนอความคิดฝ่ายต่าง ๆ ในสังคม ฝ่ายผู้ชุมนุมได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อนำเสนอข้อมูล การอธิบายในมุมมองของตน และระดมผู้คนให้เข้าร่วมชุมนุม This study is a qualitative research study using textual analysis method. The objective of this research was to study the role of individuals in the flow of information through social media: the case study of people’s democratic reform committee movement from 2014 to 2015 A.D. The results found that social media channels were used to present information and convey opinions of the person. The patterns that individuals applied included: 1. Individual using his or her real name in Facebook had activated their accounts via Facebook page of a backbone of the People’s Democratic Reform Committee. This page seemed to be friendly with other pages in order to find supporters. 2. individual with pseudonyms activating his or her accounts via Facebook page of a representative of pseudonyms name. This page was clearly an opponent to the Thai government. It presented the information that mass media have always not broadcasted because of the lack of evidence Regarding the role of individuals in the flow of information through social media, it found that among political conflicts, the media played their role by reporting movement, impact and opinion of various parties in society, demonstrators use social media to present information and ideas to express their views and mobilize people to join the assembly.References
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ทฤษฎีการสื่อสารตามทัศนะของสำนักทฤษฎีวิพากษ์ใน ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, หน้า 103-105. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เดลินิวส์. (2556ก, 24 พฤศจิกายน). เกาะติดม็อบ 24 พย. 56. เข้าถึงได้จาก https://www.dailynews.co.th/article/197097
เดลินิวส์. (2556ข, 14 ธันวาคม). “สุเทพ” เร่งทหารตัดสินใจยืนเคียงข้างประชาชน เข้าถึงได้จาก https://www.dailynews.co.th/politics/201851
ทีมข่าวการเมือง. (2557, 24 กุมภาพันธ์). ปริศนา “เสธ.น้ำเงิน” แนวรบโลกไซเบอร์. โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/politic/report/279972
ไทยพีบีเอส. (2556ก, 26 พฤศจิกายน). สื่อต่างชาติเกาะติดสถานการณ์ชุมนุมในไทย. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/208927
ไทยพีบีเอส. (2556ข, 30 พฤศจิกายน). นายกฯ ยืนยันไม่เลือกตั้งก่อนกำหนด. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/209660
ไทยพีบีเอส. (2556ค, 3 ธันวาคม). “อภิสิทธิ์” ให้สัมภาษณ์ซีเอ็นเอ็น เรียกร้อง “นายกฯ” แสดงความรับผิดชอบ. เข้าถึงได้จากhttps://news.thaipbs.or.th/content/210118
ไทยพีบีเอส. (2556ง, 10 ธันวาคม). สื่อต่างชาติเกาะติดสถานการณ์ชุมนุมในไทย. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/208927
ไทยรัฐออนไลน์. (2556ก, 30 พฤศจิกายน). สรุปข่าววันที่ 30 พ.ย. 56 เวลา 06.00-18.00 น. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/386353
ไทยรัฐออนไลน์. (2556ข, 2 ธันวาคม). สรุปข่าววันที่ 2 ธ.ค. 56 เวลา 06.00 น.-18.00 น. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/386754
ไทยรัฐออนไลน์. (2556ค, 9 ธันวาคม). แถลงยุบสภารัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์’ ฉบับเต็ม!. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/388120
ประชาไทออนไลน์. (2556ก, 25 พฤศจิกายน). พระบรมฯ ทรงเป็นห่วงพสกนิกรไม่อยากให้คนไทยทะเลาะกันแนะทุกฝ่ายเจรจา. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2013/11/49959
ประชาไทออนไลน์. (2556ข, 1 ธันวาคม). ‘สุเทพ เทือกสุบรรณ’ อ่านแถลงการณ์ กปปส. ไปยังประชาชนชาวไทย. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2013/12/50122
โพสต์ทูเดย์. (2556ก, 22 พฤศจิกายน). ม็อบราชดำเนินเชิญชวนชุมนุมใหญ่ 24 พย. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/politic/news/260507
โพสต์ทูเดย์. (2556ข, 8 ธันวาคม). ประชาธิปัตย์มีมติให้ ส.ส. ทั้งพรรคลาออก. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/politic/news/263638
โพสต์ทูเดย์. (2556ค, 19 ธันวาคม). อัด “นิวยอร์ก ไทม์ส-บีบีซี” รายงานข่าวไทยลำเอียง. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/world/265991
ผู้จัดการออนไลน์. (2556, 8 พฤศจิกายน). บีบีซีชี้ร่างนิรโทษกรรมเรียกแขกทุกหมู่เหล่า-ฟันธงไร้รัฐประหารเหตุ “ปู” ซี้ปึ้ก “ตู่.” เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/around/detail/9560000139193
ผู้จัดการออนไลน์. (2557, 1 พฤศจิกายน). แฉความลับ “เสธ.น้ำเงิน”. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9570000125661
สนุกดอทคอม. (2556, 30 พฤศจิกายน). รามวุ่น! การ์ด น.ศ. รามฯ กั้นมวลชน ปะทะเสื้อแดง. เข้าถึงได้จาก https://www.sanook.com/news/1334609
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2553, 28 ตุลาคม). จริยศาสตร์สารสนเทศระหว่างวัฒนธรรม: ความเป็นส่วนตัวการไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/37mHHhy
สำนักข่าวอิศรา. (2556, 23 พฤศจิกายน). “สุเทพ” ควง คปท.-กปท.ประกาศรวมพลังกำจัดระบอบทักษิณ. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3jnCufc
McQuail, D. (1983). Mass communication theory: An introduction. London: Sage.