อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังของภาคตะวันออก พ.ศ. 2490-2510

Cassava: Processing Industry in Eastern Region of Thailand in 1947-1967 A.D.

Authors

  • เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท
  • เสาวรินทร์ สายรังษี
  • สุทธิพร ชัยกูล

Keywords:

มันสำปะหลัง, มันสำปะหลังแปรรูป, ภาคตะวันออก

Abstract

บทความวิจัยเรื่องอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังของภาคตะวันออก พ.ศ. 2490-2510 เป็นการศึกษาธุรกิจมันสำปะหลัง ทั้งการเพาะปลูกและการแปรรูปมันสำปะหลัง ซึ่งพบว่า ในช่วง พ.ศ. 2490-2510 อุตสาหกรรมมันสำปะหลังมีการเติบโตอย่างมากในภาคตะวันออก เนื่องจากความต้องการมันสำปะหลังแปรรูปจากต่างประเทศประกอบกับปัจจัยต่าง ๆ ภายในภาคตะวันออก ตั้งแต่สภาพภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสมกับการปลูกมันสำปะหลัง การขยายพื้นที่เพาะปลูกจากการตัดถนนสุขุมวิทและเครือข่ายและความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการนำมันสำปะหลังเข้าสู่โรงงาน ขณะที่การเติบโตของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังเกิดจากปัจจัยเรื่องของต้นทุนและการจัดการขนส่งของการส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาและนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดขึ้นในการแปรรูปมันสำปะหลังทำให้ธุรกิจมันสำปะหลังช่วงเวลานี้ก้าวเข้าสู่ยุคทอง และเป็นพื้นฐานให้มันสำปะหลังแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศสืบมา    Cassava: Processing Industry in Eastern Region of Thailand in 1947-1967 was a study of both cultivation and processing of cassava business. It was found that during the period 1947-1967 of Tapioca business was showing the great growth in the Eastern region due to the demand for processed cassava from aboard as well as various factors within the Eastern region. These factors included suitable geography for cultivation, the expansion of the plantation from the intersection on Sukhumvit Road and network road, and the convenience in transportation of cassava to the factory which was a necessary factor. The growth of processed cassava industry stemmed from the cost factors, transportation and, manufacturing technology, this business hence was encouraged to enter to its golden age. Also, the business can be the important guideline to export the processed cassava.    

References

ตรีรัตน์ ฐิตาภิวัฒนกุล. (2527). การศึกษาการดำเนินงานของบริษัทค้าแป้งมันสำปะหลังที่มีโรงงานและไม่มีโรงงานในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาพาณิชยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิศาล มโนลีหกุล. (2522). มันสำปะหลัง. กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส.

เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์. (2560). พัฒนาการทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันออกของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2398-2519. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภัทราวุธ ปักเคธาติ. (2550). การวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมมันสำปะหลังในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท. (2545). รายงานการวิจัยเรื่อง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกก่อน พ.ศ. 2525. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภกิจ นิมมานนรเทพ. (2522). มันสำปะหลัง: อดีต ปัจจุบัน และอนาคตยังสดใส?. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.

สมชาย ชคตระการ และสุทธ์สินี หักกะยานนท์. (2547). พืชไร่. กรุงเทพฯ: ก.พล (1996).

สมบูรณ์ ศิริประชัย. (2530ก). รายงานวิจัยเรื่องมันสำปะหลังในเศรษฐกิจไทย: จากความรุ่งโรจน์สู่ความมืดมน พรมแดนแห่งความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบูรณ์ ศิริประชัย. (2530ข). การค้ามันสำปะหลังไทย: พัฒนาการการส่งออกมันสำปะหลังของไทยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2489-2525). วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 5(3), 3-80.

สมพร ร้อยกรอง และศิริชัย จิรัฐติกุลชัย. (2525). ปัญหาและอนาคตของมันสำปะหลัง. วารสารของสมาคมธนาคารไทย, 16, 33.

สมาน มักทรัพย์. (2563, 20 เมษายน). อดีตผู้ประกอบอาชีพขับรถบรรทุกมันสำปะหลัง. สัมภาษณ์.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี). (2556). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2555 (หน้า 2-1). เข้าถึงได้จาก http://www.reo13.go.th/DataService/report/EES55.pdf

สุมาลี พันธุ์ยุรา. (2543). พัฒนาการของอำนาจท้องถิ่นในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ. 2440-2516. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี วงส์พิเชษฐ และพิศาล หมื่นแก้ว. (2556). การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.phtnet.org/2013/06/131/

อำพิกา สวัสดิ์วงศ์. (2545). ถนนสุขุมวิทกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ. 2477-2539. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

Published

2022-11-18