การวิเคราะห์เนื้อหาสารและกลยุทธ์การสื่อสารบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
An Analysis of Contents and Communication Strategies about Major Depression Disorder in Online Communities
Keywords:
กลยุทธ์การสื่อสาร, โรคซึมเศร้า, ความเข้มแข็งทางจิตใจ, ความไว้วางใจ, ความผูกพันAbstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ดูแลสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสารด้านความเข้มแข็งทางจิตใจความไว้วางใจ และความผูกพันต่อชุมชนของสมาชิกบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เนื้อหาสารจากเฟซบุ๊กกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่ม “เพื่อนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, โรคไบโพล่า, โรคจิตเภท, โรควิตกังวล, จิตเวชอื่น ๆ” 2) กลุ่ม “ลาน better together มาสู้โรคซึมเศร้า/ไบโพลาร์ด้วยกัน” 3) กลุ่ม “โรคซึมเศร้าหายได้ Depression” พบว่า ผู้ดูแลกลุ่มสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ใช้กลยุทธ์การสื่อสาร 3 ด้าน คือ 1) ด้านรูปแบบ คือ ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการสื่อสารอย่างอิสระ 2) การเรียบเรียงสาร คือ การกำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อรองให้ความสำคัญต่อความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องราวที่สื่อสาร 3) เทคนิคการสื่อสาร คือ ใช้วิธีการสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ และเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ซึ่งลักษณะข้อความที่มีการสื่อสารกันในกลุ่มสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากที่สุด คือ ข้อความเพื่อจรรโลงใจให้คติข้อคิด ทำให้การแสดงออกทางการสื่อสารของสมาชิกในกลุ่มในด้านความไว้วางใจมากที่สุด ผ่านการใช้ข้อความเปิดเผยตนเอง ลำดับต่อมา คือ ความเข้มแข็งทางจิตใจ โดยใช้ข้อความด้านสิ่งที่ตนเป็น และความผูกพันผ่านการใช้ข้อความแสดงความผูกพันด้านความรู้สึก This research aimed to study the communications strategies used by administrators of online groups that associated with major depression disorder, and to identify the members’ messages written in in Online Communities on how they coped with resilience, trust, and attachment. The research methodology includes in-depth interview and content analysis from three Facebook groups, namely; 1) “Friends of Patients with Major Depression Disorder, Bipolar, Schizophrenia, Panic Disorder, and Others”, 2) “Better Together We Fight Depression/Bipolar Together”, and 3) “Major depression Disorder is Curable”. The results revealed three keys communication strategies that the administrators used were as follows: 1) Communication Patterns: There were no strict communication patterns among members; 2) Message Editing: Main and subtopics were outlined with logical concerns; 3) Communication Technique: Building or sustaining the relationships with members were applied as well as participating them. The most frequent messages in depression groups were positive and inspirational ones which enable the members to gain trust through self-disclosing messages. The messages at second rank in frequency were the message to develop patients’ resilience by expressing self-identity and building secure attachment.References
กนกรัตน์ วงศ์ลักษณพันธ์. (2542). กลยุทธ์การสื่อสารของเจ้าหน้าที่บำบัดฟื้นฟูกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมฟื้นฟูของผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูเพื่อเลิกยาเสพติด. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมสุขภาพจิต. (2562). เช็กความต่างตามประเภทของโรคซึมเศร้า. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29928
กรมสุขภาพจิต. (2563ก). สถิติผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิต. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1738735
กรมสุขภาพจิต. (2563ข). Application กรมสุขภาพจิต สำหรับประชาชน. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/apps/
กรุงเทพธุรกิจ. (2562). คนไทยฆ่าตัวตายเฉลี่ย 6 คนต่อแสนประชากร. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/849753
ข่าวสดออนไลน์. (2562). รพ.ตำรวจ ปลื้ม Depress we care ที่พึ่งคนซึมเศร้า ครบ 1 ปี ช่วยตร.-ปชช. เข้าถึงได้จาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_2051886
จรัสพร กิรติเสวี. (2544). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อฟื้นฟูจิตใจผู้ป่วยจิตเวช. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวาทวิทยา, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2552). ความไว้วางใจในองค์การของประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบองค์การภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐิติกานต์ นิธิอุทัย. (2554). Facebook Marketing. กรุงเทพฯ: ดรีม แอนด์ แพชชั่น.
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce). กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์ แอนด์คอนซัลท์.
ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ล้อมคอกโรคซึมเศร้า ปฏิบัติการพิทักษ์สุขภาพคนไทยสู้เพชฌฆาตเงียบ ลดตายปีหนูท้อแท้ 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1738735
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). ทฤษฎีองค์การเเละการออกแบบ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธนพร เกียรติไชยากร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคและความยืดหยุ่นทางอารมณ์และจิตใจกับความเครียด ของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธัสมน นามวงษ์. (2540). ผลการสอนการพยาบาลโดยใช้กรณีศึกษา ต่อความสามารถในการตัดสินใจในการพยาบาลที่เน้นจริยธรรม และการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยระยะสุดท้ายของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลศึกษา, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาวิก นำเสียง. (2554). เรื่องจริงเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3lBXelY
นุสรา วรภัทราทร. (2522). ประสบการณ์การจัดการอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัลลังก์ เหลืองวรานันท์. (2553). ความไว้วางใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวีต่อแพทย์ผู้รักษา: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศธร สิงห์น้อย. (2556). บทบาทของการสื่อสารในการสร้างเครือข่ายและการส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะของเยาวชนอาสาสมัครชาย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 7(2), 131-153.
พิเชษฐ์ ผุงเพิ่มตระกูล. (2554). ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา ความไว้วางใจในองค์การความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันในองค์การของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เยาวลักษณ์ จุลมกร. (2550). การสื่อสารกับการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รณิดา กรพิทักษ์. (2556). พฤติกรรมของลูกค้าและการรับรู้ผลประโยชน์ส่งผลต่อความผูกพันในชุมชนแบรนด์ออนไลน์บนเฟซบุ๊คแฟจเพจของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
โรงพยาบาลพญาไท. (2562). โรคซึมเศร้า โรคฮิตหรือแค่คิดไปเอง. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3lBXph8
วรวัฒน์ จินตกานนท์. (2549). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสารในงานนิเทศศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิระ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(197), 195-205.
วีระ ชูรุจิพร. (2542). วิธีการจัดการกับภาวะซึมเศร้าของคนไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 7(3), 176-178.
สำนักข่าว PPTV. (2563). คุยกับจิตแพทย์ “ปฐมพยาบาลใจ ก้าวผ่านโรคซึมเศร้า” จากโควิด-19. เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/126003
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). “ป่วยซึมเศร้า” พฤติกรรมด้านสุขภาพ น่าจับตามองอันดับหนึ่ง ปี 2563. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2TUBd6u
เอื้ออนุช ถนอมวงษ์, ทิพย์วัลย์ สุรินยา, งามลมัย ผิวเหลือง, นรุตม์ พรประสิทธิ์ และวิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(1), 115-126.
Antai-Otong, D. (2008). Psychiatric nursing pocket guide. Burlington: Jones & Bartlett Learning.
Beck, J. S., & Beck, A. T. (1995). Cognitive therapy: Basics and beyond. New York: The Guilford Press.
Butler, B., Sproull, L., Kiesler, S., & Kraut, R. (2002). Community effort in online groups: Who does the work and why. In Leadership at a distance: Research in technologically supported work (pp. 171-194). Retrieved from https://bit.ly/2VxSD9k
Chernomas, W. M. (1997). Experiencing depression: women’s perspectives in recovery. Journal of Psychiatric and Mental Health Nursing, 4(6), 393-400.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. New York: Cornell University Press.
Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Hague: Bernard van leer foundation.
Hargreaves, S., Bath, P. A., Duffin, S., & Ellis, J. (2018). Sharing and empathy in digital spaces: Qualitative study of online health forums for breast cancer and motor neuron disease (amyotrophic lateral sclerosis). Journal of Medical Internet Research, 20(6), e222.
Hennig-Thurau, T., Gwinner, K. P., Walsh, G., & Gremler, D. D. (2004). Electronic word-of-mouth via consumer-opinion platforms: What motivates consumers to articulate themselves on the internet?. Journal of Interactive Marketing, 18(1), 38-52.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1994). Constructive conflict in the schools. Journal of Social Issues, 50(1), 117-137.
Kanter, R. M. (1972). Commitment and community: Communes and utopias in sociological perspective. Cambridge: Harvard University Press.
Luthar, S. S., Cicchetti, D., & Becker, B. (2000). The construct of resilience: A critical evaluation and guidelines for future work. Child Development, 71(3), 543-562.
Meyer, J. P., Allen, N. J., & Gellatly, I. R. (1990). Affective and continuance commitment to the organization: Evaluation of measures and analysis of concurrent and time-lagged relations. Journal of Applied Psychology, 75(6), 710.
Schomerus, G., & Angermeyer, M. C. (2008). Stigma and its impact on help-seeking for mental di sorders: What do we know?. Epidemiologia e Psichiatria Sociale, 17(1), 31-37.
Vorvoreanu, M. (2008). Website experience analysis: A new research protocol for studying relationship building on corporate websites. Journal of Website Promotion, 3(3-4), 222-249.
Yi, J., Kim, M. A., & An, S. (2016). The experiences of Korean young adult survivors of childhood cancer: A photovoice study. Qualitative Health Research, 26(8), 1044-1054.