ประวัติความเป็นมาของการเรียกชื่อสีแบบไทยโบราณ: กรณีศึกษาหมู่สีแดง

History of Ancient Thai Color Terms: A Case Study of Red Tone

Authors

  • เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง

Keywords:

หมู่สีแดง, สี, ชื่อสี, ไทยโบราณ

Abstract

“คำเรียกชื่อสี” เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงบริบททางสังคมประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ความเชื่อ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งเป็นเจ้าของภาษาอันเกิดจากกระบวนการสังเกต เทียบเคียง และจัดจำแนกหมวดหมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หมู่สีแดง” มีหลากหลายเฉดสีและเป็นหนึ่งในแม่สีที่ช่างศิลป์ไทยใช้ประโยชน์ในงานศิลปกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีคำเรียกชื่อมากกว่า 50 คำ เช่น “สีหม้อใหม่” อันมีที่มาจากเครื่องปั้นดินเผา “สีแดงกำมะหยี่” มีที่มาจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และ “สีแดงเลือดนก” มีที่มาจากสัตว์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันคำเรียกชื่อสีแดงบางเฉดยังคงปรากฏให้เห็นการใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ขณะที่บางเฉดก็ไม่ปรากฏการเรียกชื่อให้เห็นแล้ว แต่ยังปรากฏหลักฐานในเอกสาร หนังสือ และคำบอกเล่าของช่างศิลป์ที่ใช้สีไทยเป็นองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมอยู่ เช่น ช่างทำหัวโขนจิตรกรแบบไทยประเพณี งานย้อมสีผ้า เป็นต้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมและเผยแพร่ความเป็นมาของการเรียกสีแดงแบบไทยโบราณให้เป็นที่รู้จัก  “Color terms” are language culture that reflects the society, history, economy, belief, environment and ways of life of those native speakers. These terms were coined by ways of close observation of the environment and classification by the speakers. As far as Thai color terms are concerned, red is one of special important and interesting colors since this color has a variety of tones and it has been used as a primary color especially in Thai traditional fine arts. Red consists of more than fifty different terms, such as Mor Mai (new pot i n transliteration or light red derived from pottery in meaning), Kamayi (velvet from textile in transliteration and in meaning), and Loednok (bird’s blood in transliteration or carmine from an animal in meaning). Some of the red color terms are still in use today while the others already vanished, or can be found only in documentary, textbooks, oral narratives from artisans, for example, dramatic mask makers, mural painters, and dyers. In order to preserve Thai wisdom concerning its colors, this article then aims to collect Thai red color terms through historical investigation and disseminate to the public.

References

กนกกาญจน์ นุกูล. (2551). วิเคราะห์ตัวละครจากบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาตามหลักอริยสัจสี่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กรมศิลปากร. (2552). โขน: อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

กุณฑล เทพจิตรา. (2558). ลิ้นจี่ ผลไม้ที่มีคุณค่าทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอาง. กรุงเทพฯ: ไทยนิวส์.

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2554). ดอกไม้ในวรรณคดีไทย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2553). ฐานข้อมูลสมุนไพร. อุบลราชธานี: อุบลสาสน์.

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). ปาริชาติ ดอกไม้จากสรวงสวรรค์. กรุงเทพฯ: สุโขทัยธรรมาธิราช.

จตุพร บุญประเสริฐ (2556). การวิเคราะห์ตำราวัว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิระกิต คลองเนียม. (2552). นกในวรรณคดี. กรุงเทพฯ: เปล่งปัญญา.

จิราภรณ์ อรัณยะนาค. (2552). ความเป็นมาของสีแดงชาดและสีแดงเสน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เจนจิรา เบญจพงศ์. (2554). ดินเทศที่บ้านปราสาท. กรุงเทพฯ: มติชน.

ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ. (2543). เทคนิคและวัสดุของจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบดั้งเดิม. วารสารเมืองโบราณ, 24(4), 93-102.

ชมรมพุทธศาสตร์สากล. (2557). พุทธประวัติและอนุพุทธะ. กรุงเทพฯ: แกรนด์พ้อยท์.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ. (2555). ตำราโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: ชีวรักษ์.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงศ์. (2556). คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งฯ

ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว. (2559). ว่าด้วยเรื่องสี. กรุงเทพฯ: อินเดียศึกษา.

ไทยเกษตรศาสตร์. (2553). ประโยชน์ของกระดอม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2496). สีและลักษณะหัวโขน. พระนคร: กรมศิลปากร.

ปิ่นอนงค์ ปานชื่น. (2559). ไทยโทน ท่วงทำนองของเฉดสีไทย. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

พนิดา สงวนเสรีวานิช. (2558). สีโทนไทย ชูรสใหม่ในงานดีไซน์. กรุงเทพฯ: ประชาชาติธุรกิจ.

พัชนะ บุญประดิษฐ์. (2553). สีแดง. กรุงเทพฯ: สำนักราชบัณฑิตยสภา.

ไพโรจน์ พิทยเมธี. (2551). การวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมธาสิทธิ์ อัดดก. (2554). สีของลายพันธุ์พฤกษาในงานจิตรกรรมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาทัศนศิลป์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วนิดา ไชยสาร. (2556). ทองกวาว ดอกไม้ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2549). เรื่องเล่าชีวิตสาวชาววัง หอมติดกระดาน. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศุภมาส เอ่งฉ้วน. (2543). คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัยและสมัยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์บริขารธุดงค์กรรมฐาน. (2545). การเปลี่ยนแปลงสีของจีวรสงฆ์. กรุงเทพฯ: ประชาชาติธุรกิจ.

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 6. (2554). ภูมิปัญญาการย้อมสีแดงจากครั่ง. นครราชสีมา: บรรณทัศน์.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2555). สีจากธรรมชาติ. เชียงใหม่: ม.เชียงใหม่.

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์, และคณะ. (2464). ตำรานพรัตน์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (2506). บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่มที่ 3. พระนคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์. (2464). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23. ราชบุรี: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. (2559). สีโบราณของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสนีย์ รักษ์ขิตวัน. (2543). ปลูกบัว. กรุงเทพฯ: วิริยะการพิมพ์.

สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร. (2559). ถอดสูตรสีฝุ่นไทยโทนจากธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สารคดี.

อมร ศรีพจนารถ. (2551). สีและพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: คนโขน.

อารียา ถุถาวร. (2557). ประวัติของดอกกุหลาบ. กรุงเทพฯ: บรรณสาสน์.

เอกพงศ์ ประสงค์เงิน. (2554). สีสันในภาษาไทย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกพระยาไกร. (2559). การดูพระเครื่องจากเนื้อดิน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

เอกรัตน์ อุดมพร. (2546). วรรณคดีสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

Downloads

Published

2022-11-18