ที่มาและรูปเขียนที่เปลี่ยนแปลง : กรณีศึกษาหน่วยศัพท์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ใช้ในการตั้งชื่อ

Origins and Written Forms: A Case Study of Pali and Sanskrit Lexemes Used for Naming

Authors

  • จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา

Keywords:

หน่วยศัพท์ในชื่อ, หน่วยศัพท์ภาษาบาลี, หน่วยศัพท์ภาษาสันสกฤต, หน่วยศัพท์ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต

Abstract

บทความวิจัยเรื่องที่มาและรูปเขียนที่เปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาหน่วยศัพท์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ใช้ในการตั้งชื่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและรูปเขียนที่เปลี่ยนแปลงไปของหน่วยศัพท์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในการตั้งชื่อบุคคล ผลการศึกษาพบว่า ที่มาของหน่วยศัพท์ที่ใช้ในการตั้งชื่อมี 3 ลักษณะ คือ หน่วยศัพท์ในชื่อที่มีที่มาจากภาษาบาลี หน่วยศัพท์ในชื่อที่มีที่มาจากภาษาสันสกฤต และหน่วยศัพท์ในชื่อที่มีที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปเขียนของหน่วยศัพท์ในชื่อพบว่า หน่วยศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตที่ใช้ในการตั้งชื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปเขียนซึ่งสรุปได้ 6 ลักษณะ ดังนี้ 1) หน่วยศัพท์ในชื่อที่มีรูปเหมือนคำที่ปรากฏในพจนานุกรมซึ่งมีรูปเหมือนหน่วยศัพท์ภาษาเดิม 2) หน่วยศัพท์ในชื่อที่มีรูปเหมือนคำที่ปรากฏในพจนานุกรมแต่เปลี่ยนรูปไปจากหน่วยศัพท์ภาษาเดิม 3) หน่วยศัพท์ในชื่อที่มีรูปแตกต่างกับคำที่ปรากฏในพจนานุกรมซึ่งมีรูปเหมือนหน่วยศัพท์ภาษาเดิม 4) หน่วยศัพท์ในชื่อที่มีรูปแตกต่างกับคำที่ปรากฏในพจนานุกรมแต่มีรูปเหมือนหรือคล้ายกับหน่วยศัพท์ภาษาเดิม 5) หน่วยศัพท์ในชื่อที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม และมีรูปเหมือนหรือคล้ายกับหน่วยศัพท์ภาษาเดิม 6) หน่วยศัพท์ในชื่อที่มีรูปแตกต่างกับคำที่ปรากฏในพจนานุกรม และมีรูปแตกต่างไปจากหน่วยศัพท์ภาษาเดิม  This research was conducted to examine the origins and written forms of Pali and Sanskrit lexemes used in naming people. The results showed three origins of lexemes used for naming: Pali origin, Sanskrit origin and Pali combined with Sanskrit origin. The examination of written forms showed six forms of lexeme writing: 1) the dictionary forms which are the same as their origins, 2) the dictionary forms which are transformed from their origins, 3) the forms which are different from those in the dictionary but indifferent from their origins, 4) the forms which are different from those in the dictionary but the same as or similar to their origins, 5) the forms which are not present in the dictionary but the same as or similar to their origins, and 6) the forms which are both different from those in the dictionary and in their origins.

References

กรหริศ บัวสรวง. (2554). นามศาสตร์ มหาอำนาจแห่งการตั้งชื่อ. กรุงเทพฯ: มติชน.

เครือวัลย์ ทองหนูนุ้ย. (2557). ลักษณะแนวโน้มของการใช้ภาษาในการตั้งชื่อของบุคคลสามระดับอายุ: กรณีศึกษา ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา. (2562). อักขรวิธี: อิทธิพลของภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีต่อภาษาไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27(55), 276-293.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิสันติ์ กฏแก้ว. (2545). ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สมชาย สำเนียงงาม. (2545). ลักษณะภาษาที่แสดงความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและกาลกิณีในชื่อของคนไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2558). เอกสารประกอบการสอน กระบวนวิชา (014211) ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2527). รายงานผลการวิจัยเรื่อง การใช้ภาษาในการตั้งชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำรวย นักการเรียน. (2550). นามภาษา ภาษาเพื่อการตั้งชื่อ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

สำรวย นักการเรียน และสาวิตรี แสนสว่าง. (2542). ชื่อดีมีความหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2520). จะตั้งชื่อบุตรหลานอย่างไร. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์.

เอกพงศ์ ประสงค์เงิน. (2548). ภาษากับวัฒนธรรม. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

Published

2022-11-23