การวิเคราะห์ปัจจัยและจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวตามภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี เพื่อเลือกตลาดเป้าหมายที่ตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำ

A Factor and Cluster Analysis of Chon Buri Destination Image for Market Targeting with Tourists’ Revisit Intention

Authors

  • วุฒิชาติ สุนทรสมัย

Keywords:

ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว, ความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำ, การตลาดเป้าหมาย, การวิเคราะห์ ปัจจัยจำแนกกลุ่ม

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำจังหวัดชลบุรี จำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวด้วยภาพลักษณ์ และศึกษาความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำแบ่งตามภาพลักษณ์โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยและจำแนกกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ต่อปัจจัยด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวในด้านประสบ การณ์มากที่สุด ผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยพบว่า ภาพลักษณ์จำแนกได้เป็น 5 ด้าน ดังนี้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านความเป็นธรรมชาติ ด้านความชอบความเป็นส่วนตัวและไม่ชอบร่วมกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ด้านความชอบเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพักผ่อน และด้านความชอบภูมิอากาศของแหล่งท่องเที่ยว ผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพบว่า สามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจความเป็นธรรมชาติแต่ไม่ชอบที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจสังคมและวัฒนธรรมและชอบเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจความเป็นธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวและชอบภูมิอากาศ โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจด้านสังคมและวัฒนธรรมและชอบเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเป็นกลุ่มที่มีโอกาสกลับมาเที่ยวซ้ำมากที่สุด  The objectives of this study were to investigate tourist’s perceptions of destination image of Chon Buri, to classify tourist groups based on the destination image factors as well as determine revisit intention through clustered tourist groups. Survey research was conducted. A high-quality questionnaire was used to collect the data from 400 tourist samples. Descriptive statistics were calculated and Inferential statistics with factor-cluster analysis was performed with .05 level of statistical significance. The findings revealed that tourists rated destination image as quality of experience the most. Using factor analysis, there were such five destination image factors as society and culture, naturalness, privacy and dislike to join activities, naturalness and preference to join activities, and preference of climate. According to cluster analysis, it was found that there were such four tourist clusters: 1) tourists who were interested in society and nature; 2) tourists who were interested in nature but dislike to join activities; 3) tourists who were interested in society and culture and like to join activities; and 4) those who were interested in nature and climate. Accordingly, tourists of cluster3 had the highest chance to revisit intention.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2562). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติพร ชาญศิริวัฒน์. (2561). ความต้องการสารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวไทย. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 36(4), 2-17.

รังสิมา อุ่นโสภา. (2561). ปัจจัยภาพลักษณ์ การคมนาคมและการประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวที่ตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริกันยา อารัญ. (2551). ภาพลักษณ์ในมุมมองของนักท่องเที่ยวจังหวัดกรุงเทพมหานครที่มีต่อจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2563). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2553-2562. เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx

อนุรักษ์ ทองขาว, โสพิชา เถกิงเกียรติ, ภัทรานิษฐ์ งามวงศ์น้อย และพูลพงศ์ สุขสว่าง (2562). อิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวที่มาบาลีฮาย พัทยา เพื่อก้าวเข้าสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 67-82.

Baloglu, S. (1997). The relationship between destination images and sociodemographic and trip characteristics of international travellers. Journal of Vacation Marketing, 3(3), 221-233.

Baloglu, S., & Mangaloglu, M. (2001). Tourism destination images of Turkey, Egypt, Greece, and Italy as perceived by US-based tour operators and travel agents. Tourism Management, 22, 1-9.

Baloglu, S., & McCleary, K. W. (1999a). A model of destination image. Annals of Tourism Research, 26(4), 868-897.

Baloglu, S., & McCleary, K. W. (1999b). US international pleasure travelers’ images of four Mediterranean destination: A comparison of visitors and non-visitors. Journal of Travel Research, 38(2), 144-152.

Cha, S., McCleary, K., & Uysal. M. (1995). Travel motivations of Japanese overseas travelers: A factor-cluster segmentation approach. Journal of Travel Research, 34, 33-39.

Echtner C. M., & Ritchie, J. R. B. (1993). The measurement of destination image: An empirical assessment. Journal of Travel Research, 31(4), 3-13.

Edlinger, P. (2015). An analysis of the impact of photographing on the visitors’ emotional experience at cultural spaces and their postvisit behavioural intentions. A Master of Science Thesis, Faculty of Tourism, University of Ginrona.

Fakeye, P. C., & Crompton, J. L. (1991). Image differences between prospective, first-time, and repeat visitors to the Lower Rio Grande Valley. Journal of Travel Research, 30(2), 10-16.

Kotler, P., Haider, D. H., & Rein, I. (1993). Marketing places: Attracting investment, industry, and tourism to cities, states, and nations. New York: Free Press.

Mazanec, J. A. (1997). Segmenting city tourists into vacation style. In K. Grabler, & J. A. Mazanec (Ed.), International city tourism-analysis and strategy (pp. 114-128). London: Continuum Intel Pub Group.

Morgan, N., Pritchard, A., & Pride, R. (2012). Destination branding (3rd ed.). Oxfordshire: Routledge.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory 1998. New York: McGraw-Hill.

Pagano, N. (2014). Tourism destination image and Irish websites. International Journal of Business and Social Science, 5(8), 178-188.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods. Philadelphia: JB Lippincott Company.

Slivar, I., Aleric, D., & Dolenec, S. (2019). Leisure travel behavior of generation Y & Z at the destination and post-purchase. E-Journal of Tourism, 6(2), 147-159.

Walmsley, D. J., & Jenkins J. M. (1993). Appraisive images of tourist areas: Application of personal constructs. Australian Geographer, 24(2), 1-13.

Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Yang, Y. W. (2017). National destination image and outbound travel intention. Business Management Journal, 17(4), 143-158.

Downloads

Published

2022-11-23