การตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ
Students’ Decision to Study in an Undergraduate Program in Information Studies in Public Universities
Keywords:
การตัดสินใจเลือกเรียน, สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา, มหาวิทยาลัยของรัฐAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามข้อมูลสถานภาพส่วนตัว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ชั้นปีที่ 1-2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 แห่ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบแบ่งชั้นแบบเป็นสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทดสอบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านค่าใช้จ่ายในการเรียน ด้านสถานที่และทำเลที่ตั้ง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านทัศนคติ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันและศึกษาอยู่ในสถาบัน การศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาด้านสถานที่ และทำเลที่ตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 This research aims to investigate and compare students’ decision to study at an undergraduate program of information studies in public universities. The samples used in this survey research included 210 freshman and sophormore undergraduate students majoring in information studies from 10 public universities in the academic year of 2018. The sample were selected by a proportional stratified random sampling method. The research tool was 5-point rating scale questionnaire. The statistics analysis in the study consisted of percentage, mean, standard deviation while one-way ANOVA was used for hypothesis test. When the statistically significant difference revealed at 0.05, LSD were applied. The findings revealed that: Features affecting the decision to study at an undergraduate program of information studies in public universities holistically and individually reached high levels. It can be ranged from the greatest to the least values as follows: teaching and learning administration, tuition fees and other expenses, location, facilities, and attitudes, respectively. When comparing factors influencing the study decision across the data, it was found that students having different genders and studying different universities expressed their opinions about the decision to study at an undergraduate program of information studies in public universities in terms of location differently at statistically significant level of 0.05.References
กัญกมญ เถื่อนเหมือน. (2549). ปัจจัยจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีปทุม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ข้อมูลสถิติการศึกษา. (2561). เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3An5ydn
จิระจิตต์ ราคา. (2551). การตัดสินใจและการควบคุม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 32403 พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ หน่วยที่ 1-7 (หน้า 227-316) (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทักษะที่นายจ้างต้องการจากนักศึกษาจบใหม่. (2562). เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3itMrZ4
ธนพรรณ กุลจันทร์ และปราณี วงศ์จำรัส. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พัชรา บุญมานำ และสมควร ทรัพย์บำรุง. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง สภาพแวดล้อมในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, ปริญ ลักษิตานนท์, องอาจ ปทะวานิช และจิระวัฒน์ อนุชชา. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.
Harrison, F. E. (1999). The managerial decision-making process (5th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Hoppock, R. (1967). Theories of occupational choice and careers development occupational information (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
Render, B., Stair, R. M., & Hanna, M. E. (2012). Quantitative analysis for management (11th ed.). Boston: Pearson.