การจัดทำแผนสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

Community Environment Planning for Environment Quality Management in Eco-Industrial Development Zone in Tub Ma Sub-District Municipality, Mueang District, Rayong

Authors

  • เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์
  • พรทิพย์ พันธุ์ยุรา

Keywords:

แผนสิ่งแวดล้อม, เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษ ภาคตะวันออก, การพัฒนาที่ยั่งยืน, EEC

Abstract

การวางแผนพัฒนาประเทศให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องดำเนินการพร้อมกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อให้การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พื้นที่ชุมชนเทศบาลตำบลทับมา ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองอุตสาหกรรม ส่งผลเชิงบวกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น และส่งผลเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ชุมชนเคยใช้ประโยชน์ คณะผู้วิจัยได้ดำเนิน การจัดทำแผนสิ่งแวดล้อมชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลทับมา จังหวัดระยอง ให้สอดคล้องกับบริบทและปัญหาของพื้นที่ เพื่อให้ได้แผนสิ่งแวดล้อมชุมชนที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้เป็นเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนต่อไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การประชุมระดมความคิด และการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยทำให้ได้แผนชุมชนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลตำบลทับมา ซึ่งประกอบไปด้วย แผนงาน โครงการ/กิจกรรม ที่มีเทศบาลตำบลทับมาและคณะกรรมการชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบหลักในโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานที่วางไว้เพื่อจัดการประเด็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมตามกรอบเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และส่งเสริมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสู่เมือง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน  Country development planning results in economic expansion and growth. Therefore, it requires sustainable environmental use, in order to be environmentally friendly with the production and consumption. Tub Ma Sub-district municipal community area has been influenced from being an industrial area. This yields both advantages and disadvantages to the community, namely better economic system and environmental and natural resource exploitation. The researchers have created an environmental plan for Tub Ma Sub-district municipal community in Rayong according to the area conditions and problems in order to achieve a plan which can be a tool for environmentally quality management toward the community development and ecological industrial zone development for the sustainable environment. Qualitative methodology was employed with participatory action research (PAR). Data collection tools were document, brainstorming, in-depth interview, and content analysis. The results reveal that the ecological industrial zone development plan for Tub Ma Sub-district municipal community area consists of project/ activity plans which the municipality and the community committee are responsible to process the planned projects in order to solve the community problems that have impacted industrial plants around the ecological industrial zone and promote the development of the zone to be a sustainable environmental zone.

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). กระบวนการบูรณาการขับเคลื่อนแผนชุมชน. เข้าถึงได้จาก district.cdd.go.th/buengbun/แผนชุมชน

กรมควบคุมมลพิษ. (2552). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 32. เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/laws/ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม-25/

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์และตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2560). Roadmap เมืองไทยน่าอยู่อย่างยั่งยืน ปี 2560-2579. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3yLCjAV

กฤติน จันทร์สนธิมา และอรทัย อินต๊ะไชยวงค์. (2559). การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน: ศึกษาเฉพาะกรณี ป่าชุมชนบ้านคลองห้วยหวายอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 9(1), หน้า 58-79.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). กรอบเเนวทางการพัฒนา Eco ของ กนอ. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3s0z7P0

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2558). นโยบายการพัฒนา Eco ของไทย. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3AluuSE

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2560). คู่มือเกณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco factory) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการจัดทำแผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2562). แผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ชยันต์ ตันติวัสดาการ, อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์, บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, ไพสิฐ พาณิชย์กุล และทรงพันธุ์ ตันตระกูล. (2559). รายงานวิจัยการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือสู่รูปแบบเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ธันวดี สุขสาโรจน์ และชัยศรี สุขสาโรจน์. (2562). โครงการจัดทำแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน ในเขตพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การส่งเสริมและพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco industrial town). เข้าถึงได้จาก https://weis.fti.or.th/ecoindustrial-town/

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนจัดการสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3CwqEbp

Downloads

Published

2022-11-23