การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี

The Development of Local Culture Database System of Nonthaburi Province

Authors

  • นนทนันท์ แย้มวงษ์

Keywords:

การพัฒนาระบบฐานข้อมูล, วัฒนธรรมท้องถิ่น, จังหวัดนนทบุรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม จัดเก็บ พัฒนาระบบฐานข้อมูล และประเมินผลระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรีเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยเริ่มจากการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่น และสามารถแบ่งได้เป็น 15 สาขา และใช้มาตรฐานเมทาดาทาเพื่อการจัดเก็บ และพัฒนาระบบฐานข้อมูล 6 ขั้นตอน มีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จำนวน 71 คน และใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ วิชวลเบสิก สตูดิโอ 2019 ในการบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์และจัดการฐานข้อมูลโปรแกรมไมโครซอฟท์ เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์แมนเนจเมนท์ 18 จำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้การสร้างส่วนกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ระบบ การสร้างส่วนประสานงานกับผู้ใช้ที่เป็นหน้าหลัก การสร้างส่วนประสานงานกับผู้ใช้งานระบบและการสร้างส่วนประสานงานกับผู้ใช้ผู้ดูแลระบบ จากนั้นได้ทดสอบเพื่อใช้งานระบบบำรุงรักษาและประเมินผลระบบฐาน ข้อมูลโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี 5 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านความสามารถในการทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ การประเมินระบบด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ การประเมินระบบด้านประสิทธิภาพของระบบ การประเมินระบบด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบและการประเมินระบบด้านความปลอดภัยในการใช้ระบบ ผลการประเมินพบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก  The purposes of this research were to collect, store, develop and evaluate local culture database system of Nonthaburi Province. This research and development project began with collecting and storing local culture data before classifying it into 15 majors. The metadata was used for storing and developing a database system in 6 steps. The data were collected from semi-structured interviews with 71 participants which aimed to develop local culture database system. Microsoft Visual Basic 2019 was used for managing website content and Microsoft SQL Server Management 18 was used for database management which was developed into four sections: log in, graphic user interface, end users of the system and end admins of the system. The database was tested, maintained, and evaluated by questionnaires which was distributed to  260 participants. The evaluation was based on five aspects: functional requirement test, functional test, performance test, usability test and security test. The statistical methods used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The result of the evaluation was at the very good level.

References

กองนโยบายและแผน. (2564). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). เข้าถึงได้จาก https://mplan.pnru.ac.th/upload-files/uploadfile/11/a8729be7a029fa5094243667298ff081.pdf

กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564. (2564, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 3.

กัลยาณี ศุภดิษฐ์. (2559). คลังข้อมูลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. Pulinet Journal, 3(1), 77-85.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2563). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. เข้าถึงได้จาก http://nonthaburi.go.th/category/ยุทธศาสตร์

กีรติ (นามสมมติ). (2563, 14 เมษายน). สัมภาษณ์.

ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดนนทบุรี. (2564). เข้าถึงได้จาก https://www.mculture.go.th/nonthaburi/ewt_dl_link.php?nid=422&filename=index.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2553). รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตจังหวัดนนทบุรี. (2563). เข้าถึงได้จาก http://www.localcultuenonthaburi.co.th

เดชดนัย จุ้ยชุม และดิชิตชัย เมตตาริกานนท์. (2560). การพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 187-201.

เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2559). ดับลินคอร์เมทาดาทา: เค้าร่างเมทาดาทาสำหรับการบรรยายวัตถุดิจิทัล. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 9(1), 140-157.

ปราลี มณีรัตน์. (2552). การจัดการฐานข้อมูลธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พรรณทิพา หัวหนองหาร. (2547). การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ ด้านวัฒนธรรม จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชราภรณ์ ชัยพัฒนเมธี. (2561). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(2), 263-276.

มาลี (นามสมมติ). (2563, 14 เมษายน). สัมภาษณ์.

ยศวดี (นามสมมติ). (2563, 14 เมษายน). สัมภาษณ์.

ลักษณนันท์ พลอยวัฒนาวงศ์. (2559). ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. เข้าถึงได้จาก http://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2559/2559240605127.pdf

วารี ยอดครุฑ. (2549). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวัฒนธรรมท้องถิ่นสำหรับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิเชียร (นามสมมติ). (2563, 14 เมษายน). สัมภาษณ์.

วิไลภรณ์ ศรีไพศาล. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล. เข้าถึงได้จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/book/53/b6_53.pdf

สมศักดิ์ (นามสมมติ). (2563, 14 เมษายน). สัมภาษณ์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2546). กรอบความคิดในการปลูกฝังและสร้างเสริมความรักชาติรักถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สิริวรนุช แคลล์เบิร์ค. (2551). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rob, P., & Ceronel, C. (2002). Database system: Design Implementation and Management (5th ed.). MA, United States: Course technology Press.

Smith, J. A. (2011). Microsoft? Visual basic? programs to accompany programming logic and design. San Francisco: Course technology.

Downloads

Published

2022-11-23