การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนแอโก๋-แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา

The Participatory Action Research of Community Empowerment in Aeko-Saenkumlue Village, Using the Contemplation-Oriented Transformative Facilitation

Authors

  • สมสิทธิ์ อัสดรนิธี
  • ศิริชัย มงคลเกียรติศรี
  • วิไลลักษณ์ ไกรลาศ
  • ปริญ์ญาภรณ์ เต็งประเสริฐ
  • สุธัมมะ ธรรมศักดิ์

Keywords:

การเสริมพลังชุมชน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, จิตตปัญญาศึกษา, ชุมชนแอโก๋-แสนคำลือ , Aeko-Saenkumlue Village

Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนแอโก๋-แสนคำลือ รวมถึงศึกษาการเปลี่ยนแปลงทั้งมิติภายในและภายนอก ในกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว โดยอาศัยระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานของการทำงานร่วมกันในทุกขั้นตอนของปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของกระบวนการที่เหมาะสมนั้น มีแกนกลางอยู่ที่กระบวนการลงมือปฏิบัติการร่วมกันอย่างมีเจตจำนงเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและมีองค์ประกอบเสริม ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจ การรู้จักกันและกัน รู้จักบริบทการเสริมทักษะความรู้ทั้งมิติภายในและภายนอก การเสริมสร้างพลังกลุ่ม บนความเข้าอกเข้าใจ ร่วมมือกัน มีแรงบันดาลใจ และการเกื้อหนุนจากภายนอก มีระบบพี่เลี้ยง การเป็นที่ยอมรับ และศรัทธาในผู้นำ ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่พบในกลุ่มผู้เข้าร่วม ด้านการเรียนรู้มิติด้านใน ได้แก่ สติสัมพันธภาพที่ดีขึ้น ความเชื่อมั่นในศักยภาพตนเองและด้านทักษะ ความรู้ภายนอก ได้แก่ ความกล้าตัดสินใจ การแบ่งหน้าที่ความรู้ในภูมิปัญญาดั้งเดิมและนิเวศวัฒนธรรม ขณะที่การขยับขยายกรอบการมองโลกถือเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญ  This research’s objectives were to study the contemplation oriented transformative facilitation appropriate for the community empowerment in Aeko-Saenkumlue and to explicate the participants’ inner and outer changes found after the completion of learning program. It employed Participatory Action Research as its methodology while centered on the project-based learning with cooperative manner in all steps. The results revealed that the praxis of effective transformative facilitation consisted of co-created intent of doing common good with the addition of trust, intimacy, contextual knowing, supplementary skills both inner and outer, group empowerment with empathy, cooperation, inspiration, supports of mentorship, recognition, and faith in leadership. Meanwhile, the inner changes found in the participants were those regarding mindfulness, betterment in relationships, and confidence in self-potentials while outer skills found were aptness in decision making, duty balancing, and new understandings in ancient wisdom and cultural ecology. Nevertheless, the alteration of one’s own meaning perspective is considered as an essential transformation as well.

References

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: ความเป็นมาและความเชื่อมโยง. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(3), 23-28.

จินตนา สุจจานันท์. (2554). การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

ชลลดา ทองทวี, จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร, ธีระพล เต็มอุดม, พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์ และสรยุทธ รัตนพจนารถ. (2551). จิตตปัญญาพฤกษา: การสำรวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษาเบื้องต้น. นครปฐม: โครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณดี สุทธินรากร. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการทางสำนึก. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี. (2554). ญาณวิทยาของจิตตปัญญาศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และกาญจนา ภูครองนาค. (2560). การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 225-242.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และคณะ. (2556). กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อนำไปสู่ความสามัคคีกลมเกลียวของส่วนรวม: กรณีศึกษาหมู่บ้านแอโก๋-แสนคำลือ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. นครปฐม: คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภาและมหาวิทยาลัย มหิดล. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และคณะ. (2558). การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋-แสนคำลือด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาชุมชน: แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา ประเด็นปัจจุบันและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kegan, R. (1982). The evolving self: Problem and process in human development. Cambridge, MA: Harvard University Press.

O’Sullivan, E. (2002). The project and vision of transformative education: Integral transformative learning. In E. O’Sullivan, A. Morrell, & M. A. O’Connor (Eds.). Expanding the boundaries of transformative learning: Essays on theory and praxis (pp. 1-12). New York: Palgrave.

Downloads

Published

2022-11-23