บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นมอญในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

The Roles of Mon Cuisine Culture in Ban Pong District, Ratchaburi Province

Authors

  • ปาจรีย์ สุขาภิรมย์

Keywords:

บทบาทหน้าที่, วัฒนธรรมพื้นถิ่น, อาหารพื้นถิ่นมอญ, อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Abstract

การศึกษาเรื่อง บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นมอญในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นที่มีต่อชุมชนชาวมอญ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน และผู้ประกอบอาหารพื้นถิ่นมอญ จำนวน 10 คน และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงานประเพณีในพื้นที่วิจัย ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นมอญในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีนั้นมีบทบาทความสำคัญต่อชุมชนในหลาย ๆ ด้าน เช่น บทบาทในการสืบทอดความเชื่อของชาวมอญที่แสดงออกผ่านการใช้อาหารในการประกอบพิธีกรรม การไหว้ผีบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน บทบาทในการสร้างสำนึกร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ข้าวแช่ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญ วัฒนธรรมในการประกอบอาหาร บริโภคอาหาร การใช้อาหารในงานประเพณียังทำให้เกิดบทบาทการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นแกนยึดโยงคนในชุมชนให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และยังมีบทบาทด้านการศึกษาเกิดการพัฒนากิจกรรม หลักสูตรการเรียนการสอนภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น รวมถึงก่อให้เกิดรายได้จากการประกอบอาหาร การพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารมอญสะท้อนให้เห็นถึงบทบาททางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย  “The Roles of Mon Cuisine Culture in Ban Pong District, Ratchaburi Province” is a qualitative research study, aiming at investigating the roles of vernacular food culture in the Mon community in Ban Pong District, Ratchaburi Province. The key informants of this research consist of 10 community members, including a community leader, local scholars and Mon vernacular cuisine entrepreneurs. The data were collected through in-depth interviews and by observing the people and tourists attending local festivals. The research results showed that vernacular cuisine culture plays important roles in the Mon community. For example, the inheritance of Mon belief is expressed through the use of cuisine as part of rites, ancestral worship, and as sacred objects. Vernacular cuisine such as Kao-Chae (rice soaked in iced water), which is the symbol of the Mon people, also plays the role of building collective conscience within the ethnic group. Moreover, catering culture, food consumption and cuisine for rites take the role of promoting social interactions, which unite community members, as well as the role of education, exemplified by activities and courses related to vernacular cuisine. In addition, food culture helps increase the income of the local community and encourages the development of Mon food products, which reflects its economic role.

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2553). การบริหารจัดการวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรมการวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

คมสรร จับจุ. (2562, 11 มกราคม). ประธานกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญนครชุมน์. สัมภาษณ์.

คมสรร จับจุ. (2562, 17 มกราคม). ประธานกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญนครชุมน์. สัมภาษณ์.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2538). หลักมนุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

แจ้ง ประมวลรัตน์ และวีระ โลจายะ. (2503). ความสัมพันธ์ระหว่างมอญและไทย. กรุงเทพฯ: แสงทองการ พิมพ์.

ตุ๋ย บุญนพ. (2562, 17 มกราคม). สัมภาษณ์.

ธนวัฒน์ ปัญญานันท์. (2561). วัตถุ/วัฒนธรรม/ผี/คน รวมบทความวิชาการทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เล่มที่ 1. ใน พัชรินทร์ สิรสุนทร และวัชรพล พุทธรักษา (บรรณาธิการ), ผีปะทะรัฐ: การวิเคราะห์ภาพยนตร์เรื่องตะเคียน (2547) เพื่อแสดงนัยแห่งการต่อต้านความอยุติธรรม (หน้า 35-57). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นัทธนัย ประสานนาม. (2550). เพศ ชาติพันธุ์ และปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ในภาพยนตร์เรื่อง Touch of Pink. เข้าถึงได้จาก http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document95248.html

นันทิกา ยินดี. (2562, 17 มกราคม). สัมภาษณ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). มอญศึกษา. ใน สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), ลุ่มน้ำแม่กลอง ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ “เครือญาติ” มอญ (หน้า 36-39). กรุงเทพฯ: มติชน.

บุญเกิด ชื้นเครือ. (2562, 17 มกราคม). สัมภาษณ์.

บุษบา ทองอุปการ. (2554). ภูมิปัญญาอาหารมอญ: อัตลักษณ์ชุมชนมอญสังขละบุรี. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. ใน วิภาส ปรัชญาภรณ์ (บรรณาธิการ), วาทกรรมอัตลักษณ์ (หน้า 31-72). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ปาจรีย์ สุขาภิรมย์. (2561). อาหารพื้นถิ่นไทยมอญในพิธีกรรมเลี้ยงผี: ศึกษากรณี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ใน สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการระดับชาติ “ถิ่น-โลกนิยมในมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” ครั้งที่ 12 (หน้า 478-492). ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2560). อัตลักษณ์แห่งภูกามยาว: รูปลักษณ์ ความเชื่อ และภูมิปัญญา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 868-886.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2558). รายงานการวิจัย การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมมอญ กรณีศึกษาชุมชนบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

มณฑล คงแถวทอง. (2544). การชลประทานในจังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ละเอียด ดัดพันธ์. (2562, 17 มกราคม). สัมภาษณ์.

วรัฐธยา สาระศาลิน. (2559). การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของสื่อพื้นบ้าน: กรณีศึกษาประเพณีกินข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิง ทรัพย์คง. (2562, 17 มกราคม). สัมภาษณ์.

วิชชุดา เภานุช. (2562, 17 มกราคม). สัมภาษณ์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร. (2557). การฟื้นฟูอาหารพื้นบ้านจีนแคะ (ฮากกา) ห้วยกระบอก: สิ่งท้าทายในภาวการณ์ที่สวนกระแส. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 34(3), 43-64.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2536). ลุ่มน้ำแม่กลอง: พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.

ศรีเสาวภางค์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้า. (2494). จดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาส ในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสไทรโยคครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ.2431. พระนคร: กรมศิลปากร.

ศูนย์มอญศึกษา. (2550). นำชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ และกาญจนา แก้วเทพ. (2553). การสืบทอดสื่อพื้นบ้านเท่งตุ๊ก อำเภอ ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารนิเทศศาสตร์, 28(1), 1-18.

สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. (2547). โภชนศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุทิศ ทาหอม, สำราญ ธุระตา, ชุลีพร บุ้งทอง และคเนศ วงษา. (2561). รูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตำเปียงทรงเครื่อง” เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพัฒนาสังคม, 20(2), 35-60.

อำนาจ กมศิลป์. (2562, 16 มีนาคม). กรรมการกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญ. สัมภาษณ์.

Berger, P., & Luckman, T. (1967). The social construction of reality: A treatise in the sociology of knowledge. New York: Anchor Books.

Biddle, B. J. (1986). Recent developments in role theory. Annual Reviews Social, 12, 67-92.

Bourdieu, P. (1997). The forms of capital. In Halsey, A. H. Halsey (Ed.), Education: Culture, economy and society (pp. 241-258). Oxford: Oxford University Press.

Jenkins, R. (1996). Social identity. London: Routledge.

Downloads

Published

2022-11-23