ตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง จำหลักไว้ในแผ่นดิน: กลวิธีการสร้างตัวละครและปฏิสัมพันธ์กับบริบทสังคม
Protagonists in Jamlak Wai Nai Phandin: The Creation of Characters and Social Interactions
Keywords:
จำหลักไว้ในแผ่นดิน, กลวิธีการสร้างตัวละคร, ตัวละครเอก, ปฏิสัมพันธ์บริบทสังคม, นวนิยายAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง จำหลักไว้ในแผ่นดิน ของ กฤษณา อโศกสิน 2 ด้าน คือ กลวิธีการสร้างตัวละคร และปฏิสัมพันธ์ของตัวละครกับบริบทสังคม ผลการ ศึกษาพบว่า ตัวละครเอกมี 2 ตัวละคร คือ เจ้าหญิงโสคนเทียเป็นตัวละครกัมพูชา และสูตัวละครไทย ด้านการสร้างตัวละคร ผู้ประพันธ์สร้างบุคลิกภาพภายนอกที่เหมาะสมกับชาติกำเนิดและบทบาทของตัวละคร โดยตัวละครฝ่ายหญิงสะท้อนลักษณะทางกายภาพของผู้หญิงกัมพูชา มีการแสดงบทบาทผู้นำที่เหมาะสมกับสถาน ภาพของเจ้าหญิง ตัวละครฝ่ายชายมีบุคลิกภาพภายนอกที่สอดคล้องกับอาชีพทหาร แต่ผู้ประพันธ์มุ่งนำเสนอบทบาททางทหารของตัวละครมากกว่าบุคลิกภาพภายนอก ด้านบุคลิกภาพภายในตัวละครทั้งสองเป็นผู้มีอุดมการณ์รักชาติ มีเชาวน์ปัญญาและความสามารถ มีทัศนคติการมองชีวิตต่อตนเองและผู้อื่นอย่างเข้าใจ ด้านภูมิหลังและการแสดงบทบาทของตัวละคร มีความสอดคล้องกับแก่นเรื่อง คือ การให้ความสำคัญต่อชาติบ้านเมืองก่อนสิ่งใด ด้านปฏิสัมพันธ์ของตัวละครเอกกับบริบทสังคมมีความสัมพันธ์ในระดับบุคคล ระดับสังคม และระดับประเทศ โดยตัวละครทั้งสองเป็นตัวแทน ของประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในการถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และการทำงานของทหารไทยในการปกป้องชายแดนไทย ด้วยความรักชาติและมีมนุษยธรรมสอดคล้องกับแก่นเรื่องและสาเหตุในการประพันธ์นวนิยาย The purposes of this research are to study the protagonists in the novel by Krisana Asoksin Jamlak Wai Nai Phandin regarding the creation of characters and their social interactions. The findings showed that there are two protagonists: Princess Sokontia from Cambodia and Sue from Thailand. With regard to the creation of characters, the author built personality traits that fit the protagonists’ birth statuses and roles. The female protagonist reflects physical characteristics of Cambodian women. She also performs as the leader, which suits her royal status, whereas the male protagonist demonstrated personality traits that echo his military career. However, the author put an emphasis on his military role rather than his external personality. Concerning the internal personality, the two protagonists are patriotic, clever, and capable. They have an understanding attitude towards their lives and of others. In terms of backgrounds and roles, the portrayal of the protagonists is consistent with novel’s theme of patriotism. Regarding the social interactions, the protagonists develop three levels of relationships: individual, social, and national. The two protagonists represent Cambodia and Thailand in conveying history and portraying the roles of Thai military as being patriotic and humane, which reflects the original novel’s key theme.References
กฤษณา อโศกสิน [นามแฝง]. (2544). จำหลักไว้ในแผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลนายน์.
จิราภา เต็งไตรรัตน์, นพมาศ อุ้งพระ (ธีรเวคิน), รัจรี นพเกตุ, รัตนา ศิริพานิช, วารุณี ภูวสรกุล, ศรีเรือน แก้ว
กังวาล, ศันสนีย์ ตันติวิท, สิริอร วิชชาวุธ และอุบลวรรณา ภวกานันท์. (2552). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ธนพร หมูคำ. (2559). การประกอบสร้างภาพแทนสตรีในวรรณกรรมอาเซียนกับบทบาททาง การเมือง, วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 116-128.
ธวัช ปุณโณทก. (2527). แนวทางศึกษาวรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธิบดี บัวคำศรี. (2547). ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
นพพร ประชากุล. (2552). วรรณกรรมศึกษา: การวิเคราะห์นิยาย. ใน นพพร ประชากุล, ยอกอักษรย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม (หน้า 149-170). กรุงเทพฯ: อ่านและวิภาษา.
พระมหาสนอง ปัจโจปการี. (2553). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2541). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ธรรมชาติ.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2537). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.