กลวิธีทางภาษาในการโฆษณาอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับผู้ชาย

Linguistic Devices Used in Advertisements of Male Muscle - Building Supplements

Authors

  • วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา
  • ธนพล เอกพจน์

Keywords:

กลวิธีทางภาษา, โฆษณาออนไลน์, อีมาร์เก็ตเพลส, อาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อ, E-Marketplace, อาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับผู้ชาย

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการโฆษณาอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับผู้ชาย โดยวิเคราะห์จากตัวบทโฆษณาจากอีมาร์เก็ตเพลสที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย 2 แห่ง ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 100 ชิ้น ผลการศึกษาพบกลวิธีทางภาษาในการโฆษณาอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับผู้ชาย 4 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การกล่าวอ้าง การใช้มูลบท และการใช้อุปลักษณ์ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ภาษาเป็นเครื่องมือทรงอำนาจที่มีบทบาท และอิทธิพลในการชี้นำให้ผู้บริโภคผู้ชายเกิดความตระหนักถึงความจำเป็นในการบริโภคอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อการมีเรือนกายที่กำยำ มีมัดกล้ามล่ำสัน คมชัดเพื่อสื่อคุณค่าและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนา ตลอดทั้งกลวิธีทางภาษาที่พบเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ  The objective of this research is to study linguistic devices used in advertisements of male muscle - building supplements. One hundred body copy in the advertisements of the two most popular e-marketplaces in Thailand were selected by a purposive sampling technique. The results revealed four linguistic devices used in advertisements of male muscle - building supplements, including lexical selection, claiming, presuppositions, and metaphors. Based on the findings, language is a powerful tool, influencing male consumers to realize the necessity of muscle supplement consumption in order to have robust and muscular bodies, which represent their values and desirable images. Finally, linguistic strategies were significantly designed for increasing business profits.

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 405) พ.ศ. 2562 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 3). เข้าถึงได้จาก http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P405.PDF

กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์. (2563). ส่อง 3 กลยุทธ์ช้อปปี้ ขึ้นแท่นเบอร์ 1 แซงลาซาดา แม้มาทีหลัง. เข้าถึงได้ จาก https://workpointtoday.com/shopee-growth-strategies-over-lazada/

กฤติน ขันละ และทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ. (2564). โครงสร้างปริจเฉทโฆษณาออนไลน์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ. ใน สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน (บรรณาธิการ), การประชุมวิชาการเสนอผลการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ประจำปี 2564 (หน้า 281-292). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2554). สหบท: มุมมองใหม่ในการวิเคราะห์ภาษาและวาทกรรม. วารสารภาษาและภาษาศาตร์, 29(2), 1-26.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จันทิมา เอียมานนท์. (2549). การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีราวัฒน์ คงแก้ว. (2558). ‘SPORNOSEXUAL’ เทรนด์ตลาด หนุ่มล่ำ กล้ามโต. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/630663

ชื่นรัตน์ เม้งตระกูล. (2534). การวิเคราะห์ภาษาและการตีความภาพผู้หญิงในโฆษณาน้ำหอมจากนิตยสารแอลล์ (พ.ศ. 2531-2532). วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฐ อังศุวิริยะ. (2562). กลวิธีภาษาในประเด็นการเป็นหนี้และการออมที่ปรากฏผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์. มนุษยศาสตร์สาร, 20(1), 11-40.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทนา วงษ์ไทย. (2556). การวิเคราะห์วาทกรรมความงามในโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อความงาม. วารสารมนุษยศาสตร์, 20(1), 77-107.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). การส่งเสริมการตลาด: การโฆษณา. เข้าถึงได้จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/unit7/MENUUNIT7.htm

รัชนินท์ พงศ์อุดม. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับค่านิยมเกี่ยวกับความงาม: การศึกษาวาทกรรมโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนา แช่มวงษ์, กาญจนา ทรายงาม และปิยพล ไพจิตร (2558). รายงานวิจัยเรื่อง กลวิธีการใช้ภาษาในวาทกรรมโฆษณาเครื่องสำอางในภาษาไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วิริยวิศศ์ มงคลยศ. (2560). กลวิธีการนำเสนอและการใช้ภาษาของโฆษณาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ประเภทฟังก์ชันนัลดริงก์ในสื่อเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2553). อุดมการณ์ความเป็นชายในวาทกรรมโฆษณาสินค้าและบริการสำหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2558). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวทางการศึกษาภาษาโฆษณาในภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 57-74.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2553). รายงานวิจัยเรื่อง วาทกรรม “ความเป็นผู้หญิง” ในนิตยสารสุขภาพและความงามภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. London: Longman Publishers.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphor we live by. Chicago: The University of Chicago Publishers.

Panpothong, N. (2007, August 10). Being unattractive is like having a disease: On the advertising discourse of cosmetic surgery in Thai [Paper presentation]. Symposium on Discourse, Communication and Modernity, Bangkok, Thailand.

Simpson, M. (2014). The metrosexual is dead. Long live the “Spornosexual:” The telegraph. Retrieved from https://www.telegraph.co.uk//men/fashion-and-style/10881682/The-metrosexual-is-dead.-Long-live-the-spornosexual.html/

Downloads

Published

2022-11-23