การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี ชุมชนผลิตเครื่องปั้นดินเผาลุ่มทะเลสาบสงขลาเพื่อพัฒนาสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจสังคมในโลกปัจจุบัน

Historical and Archaeological Study of the Songkhla Lake Pottery Production Community to upgrade Community Products that Are Consistent with the Current Economic and Social Contexts

Authors

  • เขมิกา หวังสุข
  • วิเชษฐ์ จันทร์คงหอม

Keywords:

ประวัติศาสตร์และโบราณคดี, เครื่องปั้นดินเผา, การยกระดับผลิตภัณฑ์, ทะเลสาบสงขลา, Historical and Archaeological, Pottery Production, Product Upgrade, Songkhla Lake

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัยเรื่อง การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดีชุมชนผลิตเครื่องปั้นดินเผาลุ่มทะเลสาบสงขลาเพื่อพัฒนาสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจสังคมในโลกปัจจุบันเพื่อศึกษาและประยุกต์ความรู้ ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบริเวณชุมชนคลองปะโอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพผลการศึกษาพบว่า คลองปะโอเป็นเส้นทางเดินเรือออกทะเลสาบสงขลาสู่อ่าวไทยนับแต่อดีต พื้นที่ ริมคลองเป็นแหล่งเตาเผาโบราณความโดดเด่นเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพื้นที่ สามารถนำมา สร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับชุมชนริมคลองปะโอได้ โดยเฉพาะการประยุกต์ความรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาให้โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  This qualitative study aimed at acquiring and applying historical and archaeological knowledge of the Pa-O canal area, Singhanakhon District, Songkhla Province, in order to upgrade the community’s pottery products. The results of the study revealed that the Pa-O canal has been a waterway connecting Songkhla Lake with the Gulf of Thailand to this day. The area along the canal is a site of ancient kilns. The historical and archaeological significance of the area could be highlighted in order to create the uniqueness of pottery products, and so it could heighten the cultural and economic values of the community along the Pa-O canal.

References

กนกวรรณ ชูชาญ. (2552). การจัดการความรู้ทางทรัพยากรวัฒนธรรมโดยผู้นำชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ดิเรก ศศิธร. (2564, 28 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.

ดำรงค์ ชีวะสาโร. (2554). การพัฒนารูปแบบศิลปหัตถกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา: กรณีศึกษาชุมชนบ้านสทิงหม้อ ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ธราพงศ์ ศรีสุชาติ และอมรา ขันติสิทธิ์. (2526). หลักฐานใหม่จากการปฏิบัติงานขุดค้น. ใน สถาบันทักษิณคดีศึกษา, ประวัติศาสตร์และโบราณคดีคาบสมุทรสทิงพระ (หน้า 46-51). รุ่งแสงการพิมพ์.

ธราพงศ์ ศรีสุชาติ และอมรา ศรีสุชาติ. (2542). เครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองสมัยโบราณ: ในภาคใต้. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 3 (หน้า 1165-1202). สยามเพรส แมเนจเมนท์.

นิรัช สุดสังข์. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. โอเดียนสโตร์.

ผาสุข อินทราวุธ. (2526). ภาชนะพื้นเมืองจากการสำรวจและขุดค้นบริเวณเมืองโบราณในคาบสมุทรสทิงพระ ใน สถาบันทักษิณคดีศึกษา, ประวัติศาสตร์และโบราณคดีคาบสมุทรสทิงพระ (หน้า 71-81). รุ่งแสงการพิมพ์.

ผาสุข อินทราวุธ. (2528). ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. สยามการพิมพ์.

ภัย พิทักษธรรม. (2564, 28 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.

สมใจ จันทร์แดง. (2564, 6 ธันวาคม). สัมภาษณ์.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2547). การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิด วิธีการ และประสบการณ์จากจังหวัดน่าน. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผา: พื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทัศน์ จันบัวลา, มานะ เอี่ยมบัว, วรรณิกา เกิดบาง และวัชรกรณ์ เนตรหาญ. (2559). การออกแบบและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประเภทของที่ระลึก วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สุรีย์พร โชติธรรมโน. (2545). การศึกษาทางด้านโบราณคดีของชุมชนโบราณในเขตอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียงถึงพุทธศตวรรษที่ 19. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

อดิศร ศักดิ์สูง. (2554). ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย. นำศิลป์โฆษณา.

อมรา ขันติสิทธิ์ และศรีอนงค์ ทองรักษาวงศ์. (2524). สทิงหม้อ แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณ. วารสารเมืองโบราณ, 7(1), 100-112.

Stargardt, J. M. (2515). The ceramic industry of Southern Thailand in the Srivijayan Period. โบราณคดี, 4(2). 190-219.

Srisuchat, A. (2003). Earthenware from archaeological sites in Southern Thailand in J. N. Miksic (Ed.), Earthenware in Southeast Asia (pp. 249-260). Singapore University Press.

Ueda, K., Miksic, J. N., Wibisono, S. C., Harkantiningsih, N., Goh, G. Y., McKinnon, E. E., & Shah, A. M. Z. (2017). Trade and consumption of fine paste ware in Southeast Asia: Petrographic and portable x-ray fluorescence analyses of ninth-to fourteenth-century earthenware. Archaeological Research in Asia, 11, 58-68. https://doi.org/10.1016/j.ara.2017.05.004

Downloads

Published

2022-11-24