โครงสร้างภาษาไทยที่ใช้ในการแปลกริยาวลี Participle ที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก
Thai Syntactical Structures Translated into English Participial Phrases in The Story of Mahajanaka
Keywords:
การแปล, กริยาวลี participle, พระมหาชนก, Translation, Participial Phrase, The Story of MahajanakaAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและหน้าที่ของกลุ่มคำภาษาไทยที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยกริยาวลี participle และเพื่อเปรียบเทียบหน้าที่ของกริยาวลี participle ที่ปรากฏในบทแปลภาษาอังกฤษของบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดชเรื่อง พระมหาชนก โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกประเภทและหน้าที่ของกลุ่มคำภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร (2541) และการจำแนกหน้าที่ของกริยาวลี participle ของ Michael Swan (2020) และ John Eastwood (1994) โดยพบว่า จากกริยาวลี participle ทั้งสิ้น 53 วลี กลุ่มคำภาษาไทยที่ถูกแปลออกมาเป็นกริยาวลี participle มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กริยาวลี (25 วลี) วิเศษณานุประโยค (8 อนุประโยค) และวิเศษณ์วลี (8 วลี) สำหรับหน้าที่ของกริยาวลี participle ภาษา อังกฤษในฉบับแปลนั้นมิได้ตรงกับหน้าที่ของโครงสร้างต้นฉบับภาษาไทย แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างภาษาไทยที่สามารถแปลออกมาโดยใช้กริยาวลี participle นั้นมีหลายชนิด ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะระบบวากยสัมพันธ์ของไทยที่เน้นความหมายและหน้าที่มากกว่าตำแหน่ง จึงทำให้การแบ่งเนื้อความสามารถทำได้หลากหลายโดยที่ใจความสำคัญไม่ขาดหายไป This study using the data from a royal novel named The Story of Mahajanaka by King Bhumibol Adulyadej was to examine types and functions of Thai word groups translated into English participial phrases and to compare functions of those Thai word groups and the English participial phrases. Phraya Upakit Silapasan’s categorization of syntactical structures and functions of Thai word groups (B.E. 2541) was used to analyze Thai word groups, and Michael Swan’s (2020) and John Eastwood’s (1994) categorization of functions of English participial phrases. It was found that the top three Thai syntactic structures translated into English participial phrase were 1) verb phrase (25 phrases), 2) adverbial clauses (8 clauses), and adjectival phrase (6 phrases). The functions of English participial phrases were not exactly the same with those of the original Thai structures. This means various Thai syntactical structures can be translated into English participial phrase. This may be because the Thai syntax which focuses on meaning and function rather than position of word allows different ways of sentence segmentation without losing essential content.References
กำชัย ทองหล่อ. (2540). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 10). รวมสาส์น.
ชุติมา สัจจานันท์. (2543). การพัฒนาเกณฑ์ประเมินค่าวรรณกรรมไทย. กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฐภัทร พัฒนา. (2546). บทวิเคราะห์การแปลกริยาวลี Participle ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ปรากฏในสารคดี. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
ทิพา เทพอัครพงศ์. (2540). การแปลเบื้องต้น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพา เทพอัครพงศ์. (2551). การแปลเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีมา มัลลิกะมาส. (2559). ปัญหาการแปลที่เกิดจากหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย. วารสารการแปลและการล่าม, 1(1), 50-77.
ปัญญา บริสุทธิ์. (2542). ทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติในการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 3). ราชบัณฑิตยสถาน.
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. (2542). พระมหาชนก The story of Mahajanaka. อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง.
วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2545). ทฤษฎีและหลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชุตา เกิดมณี. (2550). แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำจากบทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เรื่องพระมหาชนก. [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].
วิมลตรี แก้วประชุม. (2559). บทวิเคราะห์การแปลกริยาวลีภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ปรากฏในพระราชหัตถ เลขาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ถึงนายเมย์นาร์ด วิลโลบี คอลเชสเตอร์-วีมซ คหบดี. [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
สมบูรณ์ เจตน์จำลอง. (2556). การแปลบันเทิงคดี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สัญฉวี สายบัว. (2528). หลักการแปล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธา พินิจภูวดล. (2544). คู่มือนักแปลอาชีพ. นานมีบุ๊กส์.
อมรา ประสิทธ์รัฐสินธุ์, ยุพาพรรณ หุ่นจำลอง และสรัญญา เศวตมาลย์. (2544). ทฤษฎีไวยากรณ์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2541). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์. ไทยวัฒนาพานิช.
British Council Learn English. (2022). Participle clauses. https://learnenglish.britishcouncil.org/grammar/b1-b2-grammar/participle-clauses
Eastwood, J. (1994). Oxford guide of English grammar. Oxford University Press.
Newmark, P. (1988). A textbook of translation. Prentice Hall.
Swan, M. (2020). Practical English usage (4th ed.). Oxford University Press.