การสำรวจองค์ความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรม ชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

A Survey of the Body of Knowledge about Cultural Resources in Baan Maab Mor Community, Baan Puek Subdistrict, Muang District, Chonburi Province

Authors

  • ศรัญญา ประสพชิงชนะ
  • ปาจรีย์ สุขาภิรมย์
  • อมรฉัฐ เสริมชีพ

Keywords:

การสำรวจองค์ความรู้, ทรัพยากรวัฒนธรรม, ชุมชนบ้านมาบหม้อ, Review of Body of Knowledge, Cultural Resources, Baan Maab Mor Community

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรม ของชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2) ประเมินคุณค่า ความสำคัญของทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชนบ้านมาบหม้อเพื่อนำไปสู่การจัดการ ความรู้คณะผู้วิจัยเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การ ศึกษาเอกสาร การลงภาคสนามโดยมีการสนทนากลุ่มควบคู่กับการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลที่ เป็นบุคคลในพื้นที่ชุมชนบ้านมาบหม้อ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน และประชาชน ในพื้นที่วิจัย โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นแบบก้อนหิมะหรือแบบลูกโซ่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการใช้แบบการวิเคราะห์คุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรมในการเก็บข้อมูล ผลการสำรวจทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชนบ้านมาบหม้อพบทรัพยากรด้านวัฒนธรรม ที่หลากหลายและสามารถจำแนกเป็นกลุ ่มประเภทวัฒนธรรมได้2 ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ได้แก่ การละเล่น งานประเพณีเทศกาลต่าง ๆ และทรัพยากรวัฒนธรรมที่จับต้องได้ได้แก่ การทำแป้งท้าวยายม่อม ผ้าทอมือ อาหาร พื้นบ้าน วัดใหม่เกตุงาม และเรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊จากการวิเคราะห์ พบว่า ทรัพยากรวัฒนธรรมเหล่านี้มีคุณค่า 4 ด้าน ได้แก่ เชิงเศรษฐกิจ เชิงหน้าที่ใช้สอย เชิงการศึกษา และเชิงสังคม องค์ความรู้จากงานวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปเป็นแนวทาง การจัดการความรู้พัฒนาปรับปรุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ตลอดจนนำไปใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป  The purposes of this research were to 1) review the body of knowledge about cultural resources in the Baan Maab Mor community, Baan Puek, Amphur Muang, Chonburi; and 2) assess the significance of cultural resources in the Baan Mab Mor community, prior to knowledge management. This study employed qualitative methodology, including documentary and field study, which involved focus group and in-depth interviews with community members. The informants, who were community leaders, local scholars and community members, were selected using a snowball/chain sampling technique. Participant observation and the cultural resources value assessment framework were also used as part of data collection. The findings showed that Baan Maab Mor contained a diversity of cultural resources, which could be categorised into two groups. One was the intangible cultural resources including games, customs and festivals. The other was the tangible cultural resources comprising arrowroot flour, handwoven textiles, local recipes, Wat Mai Ket Ngam, and the Yaii Nguan-Yaii Ai House Museum of Handwoven Textiles. According to the data analysis, the community cultural resources contains four types of values: economic, functional, educational and social values. The body of knowledge reviewed in this study could be beneficial for Knowledge Management (KM), the development of cultural-historical learning centre, and the promotion of cultural tourism in the community.

References

กนกวรรณ ชูชาญ. (2552). การจัดการความรู้ทางทรัพยากรวัฒนธรรมโดยผู้นำชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ พราหมณพันธุ์, ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร, ธรรมศักดิ์ สงกา, มนัส แก้วบูชา, ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ปาจรีย์สุขาภิรมย์, พรทิพย์ พันธุ์ยุรา, สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง, รุ่งอรุณ ดอนจันทร์ทอง, ศิริอร ศักดิ์วิไลสกุล, พีรพัฒน์ มั่งคั่ง, วัชรพงษ์ สุขีวงศ์, รินจง เสริมศรี และณัฐวรา เทียนเหตุ. (2562). โครงการแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์: บ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา.

คณะกรรมการหมู่ 7 บ้านมาบหม้อ. (2557). แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการหมู่บ้าน : ตามโครงการประกวดผลงานการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการหมู่บ้านที่มีผลงานโดดเด่น (บ้านฉันมีดี). คณะกรรมการหมู่ 7 บ้านมาบหม้อ.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2544). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดชลบุรี. กรมศิลปากร.

คลังวัฒนธรรมชุมชนอ่างศิลา ชลบุรี. (2565, 1 พฤษภาคม). อุโบสถวัดใหม่เกตุงาม. https://www.angsilatradi. com/index.php/treasury/tangible/ketngamtemple

ณวิญ เสริฐผล. (2563). การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัตน์. วารสาร บัณฑิตแสงโคมคำ, 5(2), 313-331.

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

บุญเชิด หนูอิ่ม. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจ ชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ คุณยายหง่วน (บ้านมาบหม้อ) อย่างมีส่วนร่วม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2549). กระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้ของชุมชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่งทิวา ทองคำแท้. (2561). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำแป้งท้าวยายม่อม กรณีศึกษา กลุ่มอนุรักษ์แป้งท้าวยายม่อม ชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. โครงการศึกษาเฉพาะเรื่องศิลปศาสตรบัณฑิต, ภาควิชา ประวัติศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ปาจรีย์ สุขาภิรมย์, มนัส แก้วบูชา และนิสิตสาขาการจัดการ ทรัพยากรวัฒนธรรม รหัส 59. (2562). แนวทางการจัดทำทะเบียนวัตถุเพื่อพัฒนาสู่การทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านผ้าทอมือ ณ บ้านยายไอ๊หมู่ 7 บ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึกจังหวัดชลบุรี. ใน การประชุมวิชาการนานาชาติร่วมเกาหลีศึกษาไทยศึกษา ครั้งที่ 6 “ไทย-เกาหลี พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมดิจิทัล” (หน้า 697-715). คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ศูนย์ความรู้กินได้ (ม.ป.ป.). การจัดการความรู้ (KM) คืออะไร? จำเป็นแค่ไหนต้องใช้ KM?. https://okmd.or.th/ upload/pdf/chapter1_kc.pdf

สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ และธีร์ โคตรถา. (2562). การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่น จากหัตถกรรมสิ่งทอ ชุมชนบ้านปึก-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรีด้วยเทคนิคการตัดเย็บ ขั้นสูงเพื่อจัดจำหน่ายในตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(5), 1108-1123.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน.

Feilden, B. M., & Jokilehto, J. (1998). Management guidelines for world cultural heritage sites. ICCROM.

MedThai. (2560). เท้ายายม่อม สรรพคุณและประโยชน์ของแป้งเท้ายายม่อม 16 ข้อ!. https://medthai.com/เท้ายายม่อม/

YA02 (นามสมมติ). (2565, 16 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

Downloads

Published

2022-11-24