อิทธิพลของระบอบอาณานิคมในมณฑลพายัพ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19-20

The Influence of Colonial Regimes in Monthon Payap between the 19th and 20th Centuries

Authors

  • ชัยวัฒน์ ปะสุนะ

Keywords:

ระบอบอาณานิคม, อาณานิคมอังกฤษ, อาณานิคมฝรั่งเศส, สยาม, มณฑลพายัพ, Colonial Regime, British Colony, French Colony, Siam, Monthon Payap

Abstract

บทความนี้ศึกษาอิทธิพลของระบอบอาณานิคมบริเวณพื้นที่มณฑลพายัพในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 วัตถุประสงค์ในการศึกษามี 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาการเผชิญกับระบอบอาณานิคมอังกฤษ และ 2) ศึกษาการเผชิญกับระบอบอาณานิคมฝรั่งเศส โดยใช้กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับบริบทด้านเวลา คือ ลัทธิอาณานิคมและการล่าอาณานิคมภายใน ศึกษาจากหลักฐานชั้นปฐมภูมิประเภทรายงานการปกครองอาณานิคม หนังสือพิมพ์อาณานิคม และบันทึกของรัฐบาลสยาม รวมทั้งเอกสารจากงานวิจัยชั้นทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องด้วยระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ระบอบอาณานิคมส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับมณฑลพายัพ โดยรัฐบาลสยามเข้ามาจัดการปกครองอย่างรัดกุมเพื่อแก้ไข ปัญหาในการจัดการผลประโยชน์ป่าไม้และการจัดการกับคนในบังคับอาณานิคม นอกจากนี้ยังมีความพยายามของเจ้าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศสในการขยายอิทธิพลผ่านการสร้างกงสุลทั้งในเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองสําคัญ จากการศึกษานําไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของมณฑลพายัพที่เผชิญกับอิทธิพลระบอบอาณานิคม และความพยายามของรัฐพื้นเมืองในการสร้างอํานาจเพื่อต่อรองผ่านกลไกต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระบอบอาณานิคมช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20  This paper studied the influence of colonialism in Monthon Payap during the nineteenth and twentieth centuries. Its objective was to examine the Monthon’s encounter with British and French colonialism. The analysis focused on the relations between colonialism and internal colonization based on the temporal context. The data were collected from both primary sources, including colonial administration reports, colonial newspapers, Siamese government records, and secondary sources, such as research papers related to historical methods. The findings showed that colonialsm brought about changes in Monthon Payap, with the Siamese government playing a role in tackling issues related to the profits in the forestry sector and dealing with colonial subjects. The evidence also demonstrated the efforts of the British and French colonial regimes to extend their influence by establishing consuls in Chiang Mai and in major cities. The study brought about an understanding of the changing of Monton Payap under colonial influence, and the efforts of indigenous states to develop bargaining power by a variety of means to meet the colonial standards during the nineteenth and twentieth centuries.

References

ข้อบังคับสำหรับการปกครองมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ. 119. (2443, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. ตอน 17 เล่ม 17, หน้า 177-194.

ข้อบังคับสำหรับศาลต่างประเทศ. (2450, 16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, ตอน 24, เล่ม 0 ฉบับพิเศษ (16 กันยายน 2450), หน้า 597-603.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2514). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 5 และภาค 6. กรมศิลปากร. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันตำรวจเอกเพลิน ศรีสาคร และนางกัณหา ศรีสาคร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 21 ธันวาคม 2514).

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, พิภพ อุดร, ศุภลักษณ์ เลิศแก้วศรี, อานันท์ บัวแสงธรรม, กิตสุนี รุจิชานันทกุล, สุริยา โสกันต์, ฉัตรศิริ เพียรพยุห์เขตต์ และพยงค์ ทับสกุล. (2554). ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน: กัมพูชา-ลาว-พม่า-มาเลเซีย. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2495). เทศาภิบาล. คลังวิทยา.

โดม ไกรปกรณ์. (2557). กำเนิด “ภูมิกายา” และพื้นที่สมัยใหม่ของล้านนาในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารหน้าจั่ว, 11(1), 18-33.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2553). รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417-2476. [ดุษฎีนิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ประชากิจกรจักร, พระยา. (2499). ประวัติของมหาอำมาตย์ตรี พระยาประชากิจกรจักร์ (ชุบ โอสถานนท์). ลมูลจิตต์.

รายงานกระทรวงการต่างประเทศ. (2439, กุมภาพันธ์ 16). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 12 ตอน 46, หน้า 447-454.

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2446). พวกเงี้ยวผู้ร้ายหนีไปอยู่กับฝรั่งเศส. รหัสเอกสาร กต 98.1/1.

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2447ก). นักโทษเมืองเชียงของหนีกับการชำระผู้ร้าย. รหัสเอกสาร กต 98.1/41.

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2447ข). สำเนาเรื่องผู้ร้ายเงี้ยวจลาจลที่เมืองเชียงของ. รหัสเอกสาร กต 98.1/45.

สุวิทย์ ฟักขาว. (2518). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ ร.ศ. 112 ถึง ร.ศ. 126 (ค.ศ. 1893-1907). [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช. (2433, 25 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. ตอน 7 เล่ม 43, หน้า 389-390.

อัช บุณยานนท์. (ม.ป.ป.). สังเขปเอกสารประวัติศาสตร์ ร.ศ. 112. ราชนาวิกสภา.

ฮอลล์, ดี. จี. อี. (2549). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร (วรุณยุพา ณ อยุธยา, เพ็ชรี สุมิตร, ชูสิริ จามรมาน, เพ็ญศรี ดุ๊ก, รสสุคนธ์ อิศรเสนา, วิลาสวงศ์ พงศะบุตร, แถมสุข นุ่มนนท์ และศรีสุข ทวิชาประสิทธิ์, แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 3). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

A Journey Round Siam. (1896, May 26). The Singapore free press and mercantile advertiser (weekly), p. 15.

Among the Shans. (1884, January 19). Straits times weekly issue, p. 11.

Betgem, F. (2019, January 13). The Chiang Mai British consulate. https://travel-and-history.com/wp-content/uploads/2018/06/British-Consulate-Chiang-Mai-many-Shan-people.jpg

Border Question Between Burmah and Siam. (1883, November 24). Straits times weekly issue, p. 4.

Cima, R. J. (1989). Vietnam: A country study. Library of Congress.

Crawfurd, J. (1830). Journal of an embassy from the Governor-General of India to the courts of Siam and Cochin China, exhibiting a view of the actual state of those kingdoms, vol. 1. H. Colburn and R. Bentley.

Crosthwaite, C. (1968). The pacification of Burma. Frank Cass.

France and Siam. (1891, September 1). The Singapore free press and mercantile advertiser (weekly), p. 13.

French Indo-China. (1890, October 8). Straits times weekly issue, p. 8.

In Northern Siam. (1915, December 11). The Singapore free press and mercantile advertiser, p. 4.

Jeshurun, C. (1970). The Anglo-French declaration of January 1896 and the independence of Siam. Journal of the Siam Society, LVIII(2), 105-126.

Laos. (1973, April 26). New nation, p. 8.

Mangrai, S. (1965). The Shan states and the British annexation. Department of Asian Studies Cornell University.

Maulmain. (1837, August 3). The Singapore free press and mercantile advertiser, p. 1.

Mith, B. E. (1901). The Century Atlas of The World. Century.

Report on the Administration of British Burma during 1883-84. (1884). The Government Press.

Report on the Administration of British Burma during 1884-85. (1885). The Government Printing.

Report on the Administration of Burma during 1892-93. (1893). The Government Printing.

Siam’s Independence. (1899, January 25). The Singapore free press and mercantile advertiser, p. 3.

Telegrams. (1894, August 1). The Singapore free press and mercantile advertiser, p. 3.

The Anglo Siamese Mission. (1889, December 3). The Singapore free press and mercantile advertiser (weekly), p. 693.

The Protection of Siam. (1892, April 6). The Singapore free press and mercantile advertiser, p. 2.

The Queen’s Speech. (1896, February 18). The Singapore free press and mercantile advertiser (weekly), p. 16.

The Siamese Problem. (1902, September 17). The straits times, p. 2.

Winichakul, T. (1994). Siam mapped: A history of the geo-body of a nation. University of Hawaii Press.

Downloads

Published

2023-01-27