ประเพณีก่อพระทราย: กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเทศกาลวันไหลบางแสน
The Sand Cetiya Creating Tradition: The Process of Cultural Space Production in the Bangsaen Wan Lai Festival
Keywords:
ประเพณีก่อพระทราย, กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม , เทศกาลวันไหลบางแสน, Sand Cetiya Creating Tradition, Process of Cultural Space Production, Bang Saen Wan Lai FestivalAbstract
การวิจัยเรื่องประเพณีก่อพระทราย: กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเทศกาลวันไหลบางแสน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา คติความเชื่อ แนวคิดและรูปแบบการก่อพระทรายในเทศกาลวันไหลบางแสน 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ สืบทอดและสร้างสรรค์ประเพณีก่อพระทรายในเทศกาลวันไหลบางแสน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับประเพณีก่อพระทราย จำนวน 74 คน โดยเลือกแบบอัตราส่วนและสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย และเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า มีการสืบทอดมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนที่นับถือบูชาเจดีย์ตามคติพระพุทธศาสนาเถรวาท การก่อพระทรายมีพัฒนาการจากแบบดั้งเดิมสู่แบบเจดีย์สำคัญของไทยและแบบศิลปะร่วมสมัย ในขณะที่แนวคิดในการสร้างสรรค์พระทรายมีลักษณะเป็นพลวัต ด้านกระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมพบว่าเทศบาลเมืองแสนสุขมีนโยบายสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดการกระบวนการเรียนรู้การก่อพระทรายหลากหลายรูปแบบ ก่อให้เกิดการเรียนรู้มิติทางวัฒนธรรมจากพระทราย สำหรับแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดและสร้างสรรค์ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างจิตสำนึกร่วมของชุมชน การสร้างเครือข่ายด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาเพื่อต่อยอดทั้งรูปแบบและแนวคิด และการสร้างพื้นที่ปฏิบัติการทางวัฒนธรรม The objectives of the research “The Sand Cetiya Creating Tradition: The Process of Cultural Space Production on the Bangsaen Wan Lai festival” were 1) to study the history, beliefs, concepts and patterns of sand cetiya creating during the Bangsaen Wan Lai festival; 2) to analyze the process of creating cultural space; and 3) to present guidelines for preserving, inheriting, and creating the sand cetiya building tradition. This study employed a qualitative research methodology. The informants included a group of 74 people involved in sand cetiya creating tradition. They were selected using ratio and random sampling techniques. The data were collected using observations, interviews, and focus group discussions. The results of the research were then presented using a descriptive analysis. The results of research revealed that the tradition has been inherited since the settlements of cetiya worshippers in the Theravada Buddhist tradition. The patterns of sand cetiya creating has involved from the traditional patterns to the patterns based on important cetiya in Thailand and the contemporary art patterns, while the ideas of sand cetiya creating is dynamic. Regarding the process of cultural space production, it was found that Saen Suk Municipality had a policy to create physical cultural areas. This resulted in the learning process of creating sand cetiya in various patterns, and of different cultural aspects of the sand cetiya. The study suggested the following guidelines for preserving, inheriting, and creating the tradition: collecting data, raising collective consciousness of the community, establishing local wisdom network, further developing both concepts and patterns and creating space for cultural practice.References
กาญจน์ (นามสมมติ). (2564, 28 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
คัชพล จั่นเพชร และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). การบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 111-121.
เจริญ (นามสมมติ). (2564, 28 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2561). ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท สาวรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย. ชนนิยม.
เทพพร มังธานี. (2563). ศิลปะทางศาสนา: แนวคิดพื้นฐานและแนวทางการศึกษา. วารสารปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 19-33.
เทศบาลเมืองแสนสุข. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (2561-2565). เทศบาลเมืองแสนสุข.
เทศบาลเมืองแสนสุข. (2562). โครงการประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน. เทศบาลเมืองแสนสุข.
เทศบาลเมืองแสนสุข. (2565). โครงการประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน. เทศบาลเมืองแสนสุข.
ธนวรรธน์ นิธิปภานันท์. (2558). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาเพลินวาน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
นภา (นามสมมติ). (2564, 28 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์.
บำเพ็ญ (นามสมมติ). (2564, 28 เมษายน). สัมภาษณ์.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2560). ประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขง. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
พระครูสิริรัตนานุวัตร และคณะ. (2553). การศึกษาคุณค่าทางจริยธรรมของประเพณีสงกรานต์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (บรรณาธิการ). (2559). สาดน้ำสงกรานต์วัฒนธรรมร่วมรากของเอเชีย. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.
พิเภก เมืองหลวง. (2554). มโนทัศน์และสัญลักษณ์ในงานบุญแปดหมื่นสี่พันขันธ์ ที่บ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด: การศึกษาในฐานะพิธีกรรมประดิษฐ์. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ภรณ์ (นามสมมติ). (2564, 15 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
ภารดี มหาขันธ์ (บรรณาธิการ). (2542). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชลบุรี. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี.
ภารดี มหาขันธ์ และนันท์ชญา มหาขันธ์. (2562). ความหลากหลายทางนิเวศวัฒนธรรมบางปลาสร้อย: รากฐานและภูมิพลัง จังหวัดชลบุรี. ปริ้นท์โอโซน.
ภารดี มหาขันธ์. (2564, 23 ธันวาคม). สัมภาษณ์.
ยงยุทธ ชูแว่น. (2562).ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. ยิปซี กรุ๊ป.
วันชัย (นามสมมติ). (2565, 17 เมษายน). สัมภาษณ์.
วิชา (นามสมมติ) . (2564, 30 เมษายน). สัมภาษณ์.
ศิราพร ณ ถลาง. (2552). คติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ (นามสมมติ). (2564, 25 มกราคม). สัมภาษณ์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2560). พุทธศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์.
สงคราม (นามสมติ). (2564, 15 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.
สรรเกียรติ กุลเจริญ. (2558). การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษากรณีงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง สมุทรปราการ. [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
สิริมา (นามสมมติ). (2565, 17 เมษายน) . สัมภาษณ์.
สุดใจ แก้วแวว. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบประเพณีสงกรานต์ของชุมชนมอญ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครกับชุมชนมอญ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].
สุทธิ นามสมมติ. (2564, 25 สิงหาคม). สัมภาษณ์.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสตร์. (2539). พระพุทธศาสนามหายาน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Barker, C., & Emma, A. (2016). Cultural studies. Sage.