พื้นที่กับการเมืองวัฒนธรรมของอัตลักษณ์ไทย-จีนในนวนิยายโรมานซ์ชาติพันธุ์ เรื่อง ทานตะวัน ของ ว.วินิจฉัยกุล
Space and the Cultural Politics of Chinese-Thai Identity in V. Vinicchayakul’s Ethnic Romance Novel-Sunflower
Keywords:
นวนิยายโรมานซ์ชาติพันธุ์, การเมืองวัฒนธรรม, อัตลักษณ์, พื้นที่, จีนโพ้นทะเล, Ethnic Romance Novel, Cultural Politics, Identity, Space, Overseas ChineseAbstract
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษานวนิยายโรมานซ์ชาติพันธุ์เรื่อง ทานตะวัน ของ ว.วินิจฉัยกุลในประเด็นการเมืองวัฒนธรรมของอัตลักษณ์ไทย-จีน โดยอาศัยมโนทัศน์เรื่องพื้นที่ผสานกับขนบนวนิยายโรมานซ์ ผลการศึกษาพบว่านวนิยายให้ความสำคัญแก่ความหมายของบ้านที่มิใช่เพียงฉากท้องเรื่องที่เป็นสถานที่ในฐานะองค์ประกอบบันเทิงคดี บ้านในนวนิยายเรื่องนี้มีความหมายที่ทับซ้อนกันระหว่างสถานที่กับพื้นที่ บ้านเชื่อมโยงกับสถานะทางสังคม ชนชั้น และทุน บ้านจึงเป็นพื้นที่ในการปะทะกันระหว่างอัตลักษณ์ไทยอัตลักษณ์จีนโพ้นทะเล และอัตลักษณ์ไทย-จีนผ่านพัฒนาการของโครงเรื่องและการสร้างตัวละคร อำนาจในการนิยามอัตลักษณ์ยังปรากฏผ่านความขัดแย้งระหว่างพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัวที่หนุนอำนาจของตัวละครเอกในฐานะนายทุนหญิงชาวจีน แม้ตัวละครเอกหญิงชาวจีนจัดเป็นผู้หญิงก้าวหน้าที่ได้ออกไปใช้อำนาจผ่านการทำงานในพื้นที่สาธารณะเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ของตนเอง แต่ก็สามารถกลับมาครอบครองพื้นที่ส่วนตัวได้เช่นกัน ลักษณะนี้ถือเป็นการหลอมสร้างอัตลักษณ์ไทย-จีนใหม่ผ่านความเป็นปัจเจกบุคคลและอำนาจเหนือพื้นที่ ความสำคัญของการวิจัยในครั้งนี้คือการนำเสนอแนวทางใหม่ในการศึกษาคนจีนในวรรณกรรมไทย โดยเน้นความซับซ้อนของอัตลักษณ์ไทย-จีนที่อยู่นอกเหนือเรื่องเล่าหลักว่าด้วยเสื่อผืนหมอนใบของผู้ชายจีนแต้จิ๋ว This article aims at studying V. Vinicchayakul’s ethnic romance novel titled Thantawan (Sunflower) in terms of the cultural politics of Chinese-Thai identity. The research design is addressed by the spatial conception along with literary conventions of the romance novel. It is found that the house is foregrounded. The house is not merely a physical setting—one of fictional elements. It instead signifies the interplay between place and space. The house is related to social status, class, and capitals. The house is thus a contested space between Thai identity, overseas Chinese identity, and Chinese-Thai identity, going hand in hand with plot development and characterization. The power which determines identity also manifests through the conflict between domestic and public space. Empowering the female protagonist as a Chinese woman capitalist, the two spaces define the female protagonist as a progressive woman who works in the public sphere. Yet she can also own her domestic sphere. This reshapes a Chinese-Thai identity through individuality and the power over certain spaces. The contribution of this research is to propose an alternative approach to the study of Chinese in Thai literature with special reference to the complexity of Chinese-Thai identity beyond the grand narrative of Teochew self-made men.References
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. ภาพพิมพ์.
กิติยา วิทยาประพัฒน์. (2555). สถานภาพและบทบาทสตรีในครอบครัวไทยเชื้อสายจีนในนวนิยายไทยแนวชีวิตครอบครัว ปี พ.ศ. 2538-2546. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2559). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). มติชน.
ธานีวัฒน์ บุญโต. (2542). ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวจีนในวรรณกรรมของหยก บูรพา. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
นัทธนัย ประสานนาม. (2553). รอยวสันต์ ของยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง: การเขียนอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของผู้หญิงกวางตุ้งพลัดถิ่น. วารสารภาษาและหนังสือ, 41, 127-170.
นัทธนัย ประสานนาม. (2559). ศัตรูที่รัก: คุณค่าสงครามกับสงครามคุณค่าในคู่กรรมของทมยันตี. ในสุรเดช โชติอุดมพันธ์ (บรรณาธิการ), ถกเถียงเรื่องคุณค่า (หน้า 445-508). วิภาษา.
พัชรี วราศรัย. (2537). นวนิยายที่เสนอภาพสังคมชาวจีนในเมืองไทย. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
เพ็ญนภา หมอนสอาด. (2550). ภาพลักษณ์ของชาวจีนในเมืองไทยที่ปรากฏในนวนิยายไทย พ.ศ. 2512-2533. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ว.วินิจฉัยกุล. (2539). ทานตะวัน. ดอกหญ้า.
ศุภมณฑา สุภานันท์. (2554). พื้นที่ เวลา อัตลักษณ์ และการสร้างความหมายทางสังคม. วารสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 29(3), 186-204.
เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. มติชน.
สุชาวดี เกษมณี. (2555). วรรณกรรมไทยที่สะท้อนอัตลักษณ์จีนในสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
Barker, C., & Jane, E. A. (2016). Cultural studies: Theory and practice (5thed.). Sage.
Jordan, G., & Weedon, C. (1995). Cultural politics: Class, gender, race and the postmodern world. Blackwell.
Ramsdell, K. (2012). Romance fiction: A guide to the genre (2nd ed.). Libraries Unlimited.
Zarchi, M. A. (2011). Ethnic Chinese women in Thai novels: The negotiation of identity, gender and generational transitions. [Doctoral dissertation of Thai Studies, Chulalongkorn University].