วาทกรรมเชิงวิพากษ์ในพิธีสืบชะตาเหย้าเรือนของชาวไทย-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

Critical Discourse Analysis in Seup Cha-ta Yao Ruan Yuan Ceremony of Thai-Yuan, Tambon Don Rae, Amphoe Mueang Ratchaburi, Ratchaburi Province

Authors

  • ปุณย์จรีย์ สรสีสม
  • ชนกพร ขาวคำ
  • ศราวุฒิ บุตรดาวงค์

Keywords:

วาทกรรมเชิงวิพากษ์, พิธีสืบชะตาเหย้าเรือน, ไทย-ยวน, ตำบลดอนแร่, จังหวัดราชบุรี, Critical Discourse, Seup Cha-ta Yao Ruan, Thai-Yuan, Tambon Don Rae, Ratchaburi Province

Abstract

บทความวิชาการนี้นำเสนอองค์ประกอบของตัวบทวาทกรรมทางพุทธศาสนาในตัวบทสืบชะตาเหย้าเรือน ของชาวไทย-ยวน ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี รวมถึงอธิบายวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมในพิธีสืบชะตาฯ โดยใช้การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความตามแนวทางภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะแบบจำลองการวิพากษ์วาทกรรม 3 มิติ (3 D model) ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995) มาวิเคราะห์ตัวบทของข้อความภาษาไทย ดังนี้ มิติที่ 1 คือ การวิเคราะห์ตัวบท มิติที่ 2 คือ การวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรม และมิติที่ 3 คือ การวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบของตัวบทในพิธีสืบชะตาเหย้าเรือนของชาวไทย-ยวน มีจำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การใช้คำอ้างถึง 2) การใช้วาทศิลป์ 3) การใช้คำและชุดคำศัพท์ และ 4) การขยายความ ในขณะที่วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมพบว่า ผู้สร้างวาทกรรม คือ พระภิกษุชาวไทย-ยวน วัดนาหนอง ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ผู้รับวาทกรรม คือ ชาวไทย-ยวน ทั้ง 10 หมู่บ้าน ได้รับตัวบทผ่านการมีส่วนร่วมในการประกอบพิธีกรรม และวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมพบว่ามี 3 ลักษณะ คือ 1) การสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในทางพุทธศาสนา 2) ความเชื่อเรื่องภพภูมิ และ 3) การสร้างความอุดมสมบูรณ์ในสังคมเกษตรกรรม This paper presents features of Buddhism discourse in Seup Cha-ta Yao Ruan Ceremony of Thai-Yuan, Tambon Don Rae, Amphoe Mueang, Ratchaburi Province, and explains the discursive and socio-cultural practice in the ceremony under the discourse analysis framework. Fairclough’s (1995) 3D model (text, discursive practice, and socio-cultural practice) is employed as an analysis method. The findings show that the textual dimension of Seup Cha-ta Yao Ruan Ceremony includes the following four elements: 1) the use of references; 2) the use of rhetoric; 3) the use of words and lexicons; and 4) explanation. Regarding the discursive practice, the discourse was formulated by Thai-Yuan Buddhist monks of Wat Na-nong, Tambon Don Rae, Amphoe Mueang Ratchaburi, Ratchaburi Province, and communicated to Thai-Yuan participants in Seup Cha-ta Yao Ruan Yuan Ceremony. The features of socio-cultural practice include the discourses about 1) the sacredness of Buddhism; 2) the belief of life after death; and 3) the abundance of agricultural society.

References

ชด ชมใจ. (2565, 25 กันยายน). ปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาด้านภาษาและศิลปวัฒนธรรม. สัมภาษณ์.

เชิดชาติ หิรัญโร. (2557). ธัมม์ คาถา และพระสูตรกับกระบวนการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสืบชะตาล้านนา. วรรณวิทัศน์, 14 (พฤศจิกายน), 107–129.

ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2545). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

นราธิป ทับทัน และชินศักดิ์ ตัณฑิกุล. (2560). ภูมิหลังการเคลื่อนย้ายประชากรชาวยวนเชียงแสนและการตั้งถิ่นฐานในบริเวณตอนกลางของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 8(ฉบับพิเศษตุุลาคม 2560 อาเซียน: แรงงานกับการพัฒนา), 10-34.

ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. (2478). พงศาวดารโยนก. โสภณพิพรรฒธนากร.

พระครูวินัยธรอำนาจ อนุภัทโท. (2565, 25 กันยายน). เจ้าอาวาสวัดนาหนอง หมู่ 2 ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สัมภาษณ์.

พระณัชพล คุตฺตธมฺโม (ตั๋นคำ). (2561). ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ล้านนาที่ใช้ในงานพิธีมงคล [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].

ราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป). เอบิช อินเตอร์กรุ๊ป.

วีระพงษ์ มีสถาน. (2550). ฅนราชบุรี. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา. อมรินทร์.

สาโรจน์ มูลพวก. (2565, 25 กันยายน). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สัมภาษณ์.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. Longman.

Leeuwen, V. (2008). Discourse and practice: New tools for critical analysis. Oxford University Press.

Downloads

Published

2023-05-12