การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกของชาวบ้านอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
A Community Participation in the Preservation and Restoration of a Local Art of Tangyuak by the Villagers in Khuengnai District, Ubon Ratchathani Province: A Study of the Local Wisdom as a Cultural Heritage
Keywords:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ศิลปะการแทงหยวก, Community Participation, Local Wisdom, Local Art of TangyuakAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกและศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกของชาวบ้านอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม 3) แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) แบบบันทึกการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวก มี 4 ลักษณะ คือ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผน 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ และ 4) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการดำเนินการ 2. ด้านแนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกมี 3 แนวทาง คือ 1) การอนุรักษ์โดยชุมชน 2) การสนับสนุนโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน 3) การสนับสนุนและส่งเสริมโดยสถาบันการศึกษา การสืบทอดภูมิปัญญาการแทงหยวก พบว่า มี 4 ลักษณะ คือ 1) การสอนให้กับเครือญาติ 2) การสอนให้กับคนในชุมชน 3) การสอนให้กับบุคคลทั่วไป และ 4) การสอนเสริมในสถานศึกษาและนอกสถานที่ The research aimed to study the process of participation in preservation and restoration of local wisdom, “Tangyuak” and the guidelines to preserve and restore it in Khueangnai district, Ubon Ratchathani province. The research instruments were an in-depth interview, a questionnaire, a participant, and a non-participant observation. The subjects were 100 individuals. The research found that 1) communal participation in preserving local wisdom includes examining problems and causes, planning, implementing plans, and benefiting from them. 2) The guidelines for preservation were: community conservation, private and state agency support, and educational institute involvement. Regarding the succession of local knowledge, it was passed down to close relatives, and community members and also taught in educational institutions as well as being available to the general public.References
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2525). ชีวิตไทย. อมรินทร์การพิมพ์.
ณัฐวุฒิ (นามสมมติ). (2562, 11 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
ดวงจันทร์ สุสุทธิ. (2551). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะการแทงหยวก จังหวัดเพชรบุรี. [สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ดำรงค์ ชีวะสาโร. (2554). ศึกษาการแทงหยวกของช่างพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา. [ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ].
บุญมา (นามสมมติ). (2562, 10 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
ประภากร แก้ววรรณา. (2554). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2550). ชุมชนปฏิบัติการด้านการเรียนรู้: แนวคิด เทคนิค และกระบวนการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัส (นามสมมติ). (2562, 10 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
มนูญ (นามสมมติ). (2563, 22 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2559). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. http://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog-post_79.html
สมชาย (นามสมมติ). (2563, 22 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.
สำนักมาตรฐานการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. (2554). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน. เอสอาร์พริ้นติ้งเมสโปรดักส์ชั่น.
สำราญ (นามสมมติ). (2562, 10 ตุลาคม). สัมภาษณ์.
โสภิดา ณ ป้อมเพชร์. (2557). ศิลปกรรม ศิลปะการแทงหยวก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.