ความเป็นสุภาพบุรุษและแนวคิดเบื้องหลังตัวละครชายในนวนิยาย เรื่อง กุหลาบเมาะลำเลิง ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

Being Gentlemen and Background Concepts of Male Characters in the Novel Titled Mawlamyine Rose Written by Major General Luang Wichitwathakarn

Authors

  • เอกชัย แสงโสดา

Keywords:

นวนิยาย, สุภาพบุรุษ, ตัวละครชาย, ชายเป็นใหญ่, สตรีนิยม, Novel, Gentleman, Male Character, Male-Dominated, Feminism

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นสุภาพบุรุษและแนวคิดเบื้องหลังของตัวละครชายในนวนิยายเรื่อง กุหลาบเมาะลำเลิง แต่งโดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ใช้การวิเคราะห์ตัวบทนวนิยาย ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครชายมีความเป็นสุภาพบุรุษในแบบชายผู้ดี กล่าวคือ เกิดในชาติตระกูลสูงและได้รับการศึกษาดีสะท้อนความเป็นอภิสิทธิชน มีความซื่อสัตย์และรักษามิตรภาพระหว่างสหาย หากดำเนินไปอย่างเห็นแก่ตัว ไม่คำนึงถึงคุณค่าและความรู้สึกของผู้หญิง ด้านความสุขุมเคร่งขรึม ตัวละครชายไร้คุณสมบัติข้อนี้ เพราะมีพฤติกรรมเหมือนเด็กเล่นซน ไร้ความรับผิดชอบ ขณะที่คุณสมบัติการให้เกียรติสุภาพสตรีนั้น ตัวละครชายไม่มีคุณสมบัติข้อนี้เพราะได้ล่วงละเมิดตัวละครหญิงอันนำไปสู่ความวุ่นวายของเรื่อง ในมิติของความเป็นสุภาพบุรุษแบบสามัญชน ผลการศึกษาไม่พบคุณสมบัติข้อนี้ ในมิติของความเป็นสุภาพบุรุษแบบมีจริยธรรมนำทาง ตัวละครชายต่างไร้เหตุผลเชิงจริยธรรมและควบคุมตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดที่แฝงอยู่เบื้องหลังตัวละครชาย พบแนวคิดชายเป็นใหญ่ แนวคิดสตรีนิยมและการเมืองเรื่องเพศ ตลอดจนแนวคิดชนชั้นทางสังคม  This article aimed to study and analyze the gentlemanliness and male characters’ background concepts in “Mawlamyine Rose” by Major General Luang Wichitwatakarn through the novel’s plot. The findings showed that male characters were gentlemen in the form of aristocrats; they were born into a high family and well-educated, reflecting their privilege. They were honest and maintained friendships. Nevertheless, they proceeded selfishly without considering women’s values and feelings. Regarding sobriety solemn, the male characters lacked this feature because they behaved like mischievous children without being irresponsible. Based on the property of honoring ladies, the male characters did not have this feature either because they harassed the female characters, which was the main cause leading to the story’s chaos, in the dimension of being a commoner gentleman. The findings showed that this qualification was not found. To the extent of being an ethical gentleman, the male characters were morally irrational and unable to control themselves. When considering the background concepts of male characters, it showed the male-dominated, feminism, and sexual politics as well as social class concepts.

References

กรมศิลปากร. (2533). ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง (พิมพ์ครั้งที่ 2). หอสมุดแห่งชาติ.

จุฑามาศ ศรีระษา. (2565). ดวงใจขบถ มธุรสโลกันตร์: จริยธรรมที่ปรากฏในตัวละครเอกชายในนวนิยายชุดสุภาพบุรุษจอมโจร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7), 359-376.

ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. (2565). มะละแหม่ง: เมืองท่าการค้าและศูนย์กลางการปกครองอาณานิคมของอังกฤษในพม่า ระหว่าง ค.ศ.1826-1852. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 9(1), 39-54.

ชานันท์ ยอดหงษ์. (2558). นายในสมัยรัชกาลที่ 6 (พิมพ์ครั้งที่ 3). มติชน.

ธิดาดาว เดชศรี. (2562). ความ “หัวโบราณ” ในนวนิยาย ห้วงรัก-เหวลึก ของหลวงวิจิตรวาทการ. วรรณวิทัศน์, 19(1), 81-106.

วาสนา บุญสม. (2535). บทบาทของผู้หญิงในนวนิยายและเรื่องสั้นของหลวงวิจิตรวาทการ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. (2542). กุหลาบเมาะลำเลิง. สร้างสรรค์บุ๊ค.

สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ. (2551). “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Glaser, B. G. (1998). Doing grounded theory: Issues and discussions. Sociology Press.

Downloads

Published

2024-01-10