ตัวแบบประสิทธิภาพในการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด

The Efficiency Model of Administration Management for Chief Provincial Community Development Officers

Authors

  • ธัชฤทธิ์ ปนารักษ์

Keywords:

ประสิทธิภาพ, การบริหารงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, Efficiency, Administration Management of Community Development Provincial Officers

Abstract

การวิจัยเรื่อง ตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยทางด้านสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การจัดการความรู้ วัฒนธรรมองค์การ หลักธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด (๒) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยทางด้านจิตลักษณะ ซึ่งประกอบด้วย การมุ่งอนาคต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เหตุผลเชิงจริยธรรม ทัศนคติทางบวก ความเชื่ออำนาจในตน และสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด (๓) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ที่ได้จากวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ กับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และ (๔) เพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกิดจากตัวแบบการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด เพื่อพัฒนาให้พัฒนาการจังหวัดเป็นคนเก่ง และคนดี สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสม ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พัฒนาการจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น ๗๕ คนซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาจากประชากรทั้งหมดในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พัฒนาการจังหวัดจำนวน ๖ คน โดยใช้เกณฑ์การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยตั้งเกณฑ์ว่าต้องเป็นพัฒนาการจังหวัดที่มีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี รวมถึงต้องยินดีที่จะให้ข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลอย่างเต็มที่ การวิเคราะห์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นหลัก อาศัยการวิเคราะห์เส้นทาง และการวิจัยเชิงคุณภาพ สนับสนุนโดยอาศัยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ซึ่งได้จากการวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์เส้นทาง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญพบผลที่มีความสอดคล้องกัน โดยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของพัฒนาการจังหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การจัดการความรู้ การมีทัศนคติที่ดี และการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน  The objectives of this research on the efficiency model of administration management in chief provincial community development officers was aimed at: (1) An investigation of situational factors that influence administrative participation, knowledge management, organizational culture, morality, and governance in better staff, (2) An investigation of psychological factors that influence future orientation, achievement motivation, ethical reasons, positive attitudes, belief in one’s work, and mental strength that represent good officers. (3) An exploration of correlations using statistical data, path analysis, and academic suggestions. (4) The establishment of a proposal based on administrative suggestions to train those officers to become good staff who can word efficiently. The method used to prove the hypothesis of the efficiency model was conducted through quasi-experimental studies, The population of the quantitative study was based upon interviews with 75 chief provincial community development officers all over Thailand. Quantitative calculation was applied in qualitative research, path analysis, and in-depth interviews. The qualitative study was conducted through selective purposive sampling on information needed from six chief provincial community development officers with at least 15 years of working experience. According to the Pearson’s Correlation and path analysis, it is determined that only three variables are statistically significant in the development of chief provincial community officers. These significant variables are administrative participation Knowledge management, and positive attitudes, Together they directly influence the efficiency of administration management.

Downloads

Published

2024-04-19