การต่อสู้เพื่อเอกราชและกำเนิดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

The American Revolution and the Origins of American Foreign Policy

Authors

  • มัทนา เกษกมล

Keywords:

การปฏิวัติ, เอกราช, สิทธิสันโดษนิยม, สหรัฐอเมริกา, Revolution, Independence, Isolationism, The United States of America

Abstract

ประวัติศาสตร์การทูตและการต่างประเทศของอเมริกามีรากฐานมาจากยุโรป ช่วงเวลา ๑๖๙ ปี ของการเป็นอาณานิคมภายใต้จักรรรดิอังกฤษ (ค.ศ.๑๖๐๗-๑๗๗๖) อเมริกาเข้าร่วมรบกับเมืองแม่ในสงครามกับชาติยุโรปอื่นๆ ในโลกใหม่เสมอมา ชาวอาณานิคมสนับสนุนและต่อสู้เพื่อความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิอังกฤษในสงครามเหล่านี้ด้วยความภักดี ในกระบวนการดังกล่าวชาวอาณานิคมก็รับมรดกทางความคิดเกี่ยวกับการขยายอำนาจในแบบจักรวรรดิมาจากชาติยุโรปเหล่านั้นด้วย อันได้แก่ การพยายามขยายอำนาจเหนือภูมิภาคต่างๆ การควบคุมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการมีอำนาจทางทหารและเทคโนโลยีเหนือกว่าผู้ใด เป็นต้น  ระหว่าง ค.ศ. ๑๖๘๙-๑๗๖๓ ชาวอาณานิคมได้ร่วมทำสงครามกับเมืองแม่ในการต่อสู้กับฝรั่งเศสเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในยุโรปและอเมริกาเหนือถึงสี่ครั้ง การที่อังกฤษมีนโยบายกระชับอำนาจการปกครองดินแดนอาณานิคมภายหลังสงครามครั้งสุดท้าย คือสงครามกับฝรั่งเศสและอินเดียน (ค.ศ.๑๗๕๔-๑๗๖๓) หรือ สงครามเจ็ดปี (ค.ศ.๑๗๕๖-๑๗๙๓) ส่งผลให้ชาวอาณานิคมอเมริกา ซึ่งปกครองตนอย่างเสรีมาเป็นเวลานาน ไม่พอใจ ด้วยเห็นว่า เป็นการละเมิดสิทธิในการปกครองตนเองของพวกตนตามรัฐธรรมนูญ ชาวอาณานิคมก่อการประท้วงซึ่งรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ การที่อังกฤษไม่ยอมอ่อนข้อให้กับความต้องการของชาวอาณานิคม นำมาซึ่งความคิดที่จะแยกตัวเป็นเอกราช ในกระบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชดังกล่าวนี้ แนวคิดชาตินิยมบนพื้นฐานของอุดมการณ์สาธารณรัฐนิยมก็เติบโตขึ้น พร้อมกับแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศที่ว่าด้วยลัทธิสันโดษนิยม (Isolationism) และการค้าเสรีระหว่างประเทศ แนวคิดเหล่านี้ กล่าวได้ว่า พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ของการเป็นอาณานิคม ร่วมไปกับแนวคิดของกลุ่มนักเสรีนิยม นักคิดและนักเขียนร่วมสมัยของคริสต์ศตวรรษที่สิบแปด อันได้แก่ พรรควิกของอังกฤษ และกลุ่มฟิโลซอฟของฝรั่งเศส ผลงาน Common Sense ของทอมัส เพน ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ให้แนวคิดที่เป็นรากฐานด้านนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ อย่างไรก็ดี การปฏิวัติอเมริกาจะไม่ประสบความสำเร็จไปได้เลยหากมิได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงิน และการทหารจากฝรั่งเศส รวมทั้งจากสเปน และฮอลแลนด์ ความช่วยเหลือเหล่านี้ช่วยให้สงครามปฏิวัติบรรลุผลสำเร็จ กระนั้น ประสบการณ์ของการติดต่อทางการทูตกับพันธมิตรที่ช่วยเหลือตนเหล่านี้ ยิ่งทำให้สาธารณรัฐใหม่อเมริกามองว่าชาติมหาอำนาจยุโรปไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งเป็นการเสริมพลังให้แก่แนวคิดที่ว่าด้วยสันโดษนิยมทางการเมืองให้หนักแน่นยิ่งขึ้น ด้วยการเป็นชาติแรกที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้เพื่อเอกราชในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อเมริกาจึงเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้แก่นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพและอิสรภาพจากระบอบอาณานิคมของชาติต่างๆ ในทุกๆ ส่วนของโลก นับจากคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้าจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ  The history of American diplomacy and foreign affairs has European roots. One hundred and sixty-nine years (1607-1776) as a part of the British empire, America was inevitably involved in the wars among the imperial powers. The wars were mostly for the hegemony in the New World. Though the wars were for the interests of the mother country, the colonists fought loyally for the victory of the empire. In the process, the colonists inherited the imperial mentality that aspired for mastering other regions, controlling the international economy, and maintaining military and technological superiority, etc. In the aftermath of the last of the four great Anglo-French wars for preeminence in Europe and North America, i.e. the French and Indian War(1754-1763) or the Seven Years’ War(1756-1763), the British replaced their former slipshod practice of leaving the colonies pretty much alone with the policy of strict and efficient control over their American colonists. Perceiving the policy as violating the British constitutional rules of self government, the colonists cried out in protest. In the attempts to bend upon holding the colonists in subordination to their authority, the British drove them instead to complete independence. As Americans moved towards independence there emerged the ideas of republican nationalism which also contained the roots of foreign policy of isolation and international free trade. Pondering over their colonial past, the Americans wished to isolate themselves from European’s imperial wars and British mercantilism. The Americans also found the lessons of isolationism and free trade in the Whig writers and in the writings of the French philosophes which emphasized commercial expansion over standard power politics. As well, the arguments in Thomas Paine’s Common Sense concerning internationalism left an imprint upon the United States’ basic foreign policy. With all these ideas combined, and the assistance militarily and financially from France, Spain and Holland, the United States won the independence from England. However, diplomatic experiences and exposure to European politics during the revolution helped form American attitudes towards Europe as untrustworthy. This attitude strengthened even more the desire for isolationism. As the first nation in modern history that successfully fought for the independence, the United States gave inspiration and example for those who struggled against colonialism and autocracy in every part of the world from nineteenth till twentieth century.

Downloads

Published

2024-04-22