ภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมจากสุภาษิตเกาหลี

Socio-cultural Reflections through Korean Proverbs

Authors

  • สุนทรี ลาภรุ่งเรือง

Keywords:

ภาพสะท้อน, สังคมและวัฒนธรรม, สุภาษิตเกาหลี, Reflection, Social and cultural, Korean Proverb

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะของสุภาษิตและภาพสะท้อนทางสังคม และวัฒนธรรมที่ปรากฏในสุภาษิตเกาหลี โดยเป็นการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ด้าน คือ ด้านที่หนึ่ง ลักษณะของสุภาษิตเกาหลีประกอบด้วย ๘ หมวด คือ หมวดชีวิต หมวดครอบครัว หมวดสังคม หมวดภาษา หมวดเหตุและผล หมวดจิตใจ หมวดการศึกษา และหมวดความประพฤติ ซึ่งสุภาษิตเกาหลีมีกลวิธีการใช้อุปมา อุปลักษณ์ และบุคลาธิฐาน รวมทั้งยังมีกลวิธีในการเลือกสรรคำมาใช้ในสุภาษิต เช่น การใช้สัมผัสอักษร การใช้สัมผัสสระ การซ้ำคำ การใช้คำในกลุ่มเดียวกัน หรือมีความเกี่ยวข้องกัน การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้าม และกลวิธีการเติมปัจจัยแสดงคำถามท้ายประโยค ด้านที่สอง ภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม สุภาษิต ได้สะท้อนให้เห็นด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ การเป็นสังคมเกษตรกรรม วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมการแต่งกาย และยังสะท้อนให้เห็นค่านิยมความเชื่อด้านต่างๆ เช่น ประเพณีตามฤดูกาล ศาสนาพุทธ ลัทธิคนทรงเจ้า ลัทธิขงจื้อ วัฒนธรรม การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิง ความเชื่อในโลกปัจจุบัน การให้ความสำคัญกับชนชั้น การให้ความสำคัญกับพวกพ้อง การให้ความสำคัญกับรูปแบบ การให้ความสำคัญกับอารมณ์และความรู้สึก และการให้ความสำคัญกับทรัพย์สิน  This research aims to study the character and reflection of Korean proverbs. The study way presented with descriptive analysis. The results are as follow: in the view of character and language use, it found that Korean Proverb can be divided into 8 categories; life, family, society, language, mind. cause and effect, education and behavior. Korean Proverbs use simile, metaphor and personification in language. The alliteration and assonance of words, repeating words, concerned words, opposite words and question suffix are also found in Korean Proverbs. In the view of social and cultural reflection, if found that proverbs reflects the way of living such as topography, agricultural society, food culture, living culture and dress culture. It also reflects Korean people’s beliefs and values such as seasonal customs, Buddhism, Shamanism, Confucianism, ancestor worship, values about women, present world-centeredness, class-centeredness, collectivism, formalism, emotionalism and mammonism.

Downloads

Published

2024-04-22