ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น
Factors Related to Prosocial Behaviors of Early Childhood Students
Keywords:
นักเรียนอนุบาล, นักเรียนประถมศึกษา, พฤติกรรมเอื้อสังคม, การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกส์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนอนุบาล และนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นรายด้านและโดยรวม (๒) เปรียบเทียบพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนโดยจำแนกตามระดับชั้น ตัวแปรทางชีวสังคม และการอบรมเลี้ยงดู (๓) หาปัจจัยในการทำนายพฤติกรรมเอื้อสังคมรายด้านและโดยรวม และลักษณะพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอนุบาล ๒ และนักเรียนประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต ๓ จำนวน ๓๗๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม แบบวัดการอบรมเลี้ยงดู และแบบวัดพฤติกรรมเอื้อสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกส์ ผลการวิจัย พบว่า (๑) นักเรียนประถมศึกษาตอนต้นมีพฤติกรรมเอื้อสังคมรายด้านและโดยรวมมากกว่านักเรียนอนุบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉลี่ยที่ระดับ .๐๐๑ (๒) นักเรียนเพศหญิงมีพฤติกรรมเอื้อสังคมพฤติกรรมการปลอบโยนและโดยรวมมากกว่านักเรียนเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๓) นักเรียนที่บิดามีอาชีพรับราชการช่วยเหลือสูงกว่านักเรียนที่ไม่ทราบอาชีพของบิดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ แต่อาชีพของมารดาการศึกษาของบิดาและมารดา และรายได้ของครอบครัวมีพฤติกรรมเอื้อสังคมรายด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกัน (๔) นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบมุ่งพฤติกรรมเอื้อสังคมมาก มีพฤติกรรมเอื้อสังคมรายด้าน และโดยรวมมากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบมุ่งพฤติกรรมน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๕) นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก มีพฤติกรรมเอื้อสังคมรายด้าน และโดยรวมมากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ (๖) นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมากมีพฤติกรรมการแบ่งปันและพฤติกรรมการปลอบโยนมากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๗) นักเรียนที่ได้รับอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองช้า มีพฤติกรรมการช่วยเหลือมากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ (๘) ระดับชั้น สามารถทำนายพฤติกรรมการช่วยเหลือได้ร้อยละ ๑๒ (๙) ระดับชั้น และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการแบ่งปันได้ร้อยละ ๖ โดยปัจจัยที่สามารถทำนายได้ดีที่สุดคือ ระดับชั้นรองลงมาคือ การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ตามลำดับ (๑๐) ระดับชั้น การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง เพศ และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลร่วมกันทำนายพฤติกรรมปลอบโยนได้ร้อยละ ๙ โดยปัจจัยที่สามารถทำนายได้ดีที่สุดคือ ระดับชั้น รองลงมาคือ การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง เพศ และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ตามลำดับ (๑๑) ระดับชั้น การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ร่วมกันทำนายพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยรวมได้ร้อยละ ๑๐ โดยปัจจัยที่สามารถทำนายได้ดีที่สุดคือ ระดับชั้นรองลงมาคือ การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง และการอบรมเลี้ยงดูแบบให้เหตุผล ตามลำดับ (๑๒) ระดับชั้น สามารถทำนายการเกิดพฤติกรรมเอื้อสังคมแบบไม่ร้องขอได้ร้อยละ ๒๔ The purposes of the present study were to study early childhood students’ prosocial behaviors, to compare early childhood students’ prosocial behaviors according to bio-social and child-rearing variables, and to investigate the predictor variables in predicting early childhood students’ prosocial behaviors. The sample comprised 371 students who were second kindergarteners and third elementary students under Bangkok Education Service Area Office 3. A set of questionnaires was used to measure variables studied in the present study. Iorder to test hypothesis, t-test, One-way ANOVA, Multiple Regression Analysis and Binary Logistic Regression Analysis were performed using SPSS. Results show that third elementary students had a higher level of prosocial behaviors significantly than did the second kindergarteners at .001 level. Girls had a higher level of comforting behaviors and prosocial behaviors significantly than did boys at .05 level. Also, students who reported receiving a higher level of two techniques of parental child-rearing practice such as prosocial behavior-oriented and love-oriented techniques had a higher level of prosocial behaviors significantly than students who reported receiving a lower level of these two parental child-rearing practice at .05 level. In addition, students who reported receiving a higher level of reason-oriented parental child-rearing practice had a higher level of sharing and comforting behaviors significantly than who reported receiving a lower level of reason-oriented parental child-rearing practice at .05 level. Moreover, students who reported receiving a lateness of independence training parental child-rearing practice had a higher level of helping behaviors significantly than students who reported receiving a fastness of independence training parental child-rearing practice at .01 level. Furthermore, class level and two techniques of parental child-rearing practice included independence training and reason-oriented techniques contributed significantly to the prediction of a student’s prosocial behaviors. Altogether, 10 % of variance of a student’s prosocial behaviors was accounted for by the variance of these three independent variables. Class level was the best predictor. Finally, Class level contributed significantly to the prediction of a student’s spontaneous prosocial behavior.24 % of variance of a student’s spontaneous prosocial behavior was accounted for by the variance of class level. Discussions and implication were discussed.Downloads
Published
2024-04-22
Issue
Section
Articles