การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

An analysis of cost and return of Giant sea perch cage culture in Bang Pakong District, Chachoengsao Province

Authors

  • จุฑารัตน์ จุลศิริพงษ์

Keywords:

ต้นทุนและผลตอบแทน, ปลากะพงขาว, ฉะเชิงเทรา, Cost and Return, Giant sea perch, Chachoengsao

Abstract

จากการที่การประมงชายฝั่งได้รับผลกระทบ จากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ปลากะพงขาวเป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยง เนื่องจากปลากะพงขาวเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจของผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (๒) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังของเกษตรกร โดยเปรียบเทียบตามขนาดฟาร์ม ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง โดยเปรียบเทียบตามขนาดฟาร์ม คือฟาร์มขนาดเล็กที่มีเนื้อที่ ๔๘-๔๘๐ ตารางเมตร และฟาร์มขนาดใหญ่ คือฟาร์มที่มีเนื้อที่กระชังมากกว่า ๔๘๐ ตารางเมตร ปรากฏว่าต้นทุนทั้งหมดต่อตารางเมตรของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็ก และฟาร์มขนาดใหญ่ เท่ากับ ๘,๘๓๘.๙๖, ๑๓,๒๔๓.๙๕ และ ๗,๑๗๙.๗๕ ตามลำดับ และต้นทุนทั้งหมดต่อน้ำหนักปลากะพงขาว ๑ กิโลกรัมเท่ากับ ๘๙.๔๕, ๙๘.๐๘ และ ๘๔.๓๔ บาท ตามลำดับ จากต้นทุนทั้งหมดแบ่งเป็นต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ ร้อยละ ๙๐.๙๔ และ ๙.๐๖ ตามลำดับ รายได้ต่อตารางเมตร ของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่ เท่ากับ ๑๒,๑๐๐.๐๖, ๑๕,๐๑๓.๑๒ และ ๑๑,๐๐๒.๘๔ บาท ตามลำดับ รายได้ทั้งหมดต่อน้ำหนักปลากะพงขาว ๑ กิโลกรัมของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็ก และฟาร์มขนาดใหญ่ เท่ากับ ๑๒๒.๘๔, ๑๑๑.๑๗ และ ๑๒๙.๒๕ บาท ตามลำดับ สำหรับรายได้สุทธิเฉลี่ยต่อตารางเมตร ของรวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็ก และฟาร์มขนาดใหญ่เท่ากับ ๔,๐๖๑.๖๑, ๒,๙๔๔.๓๗ และ ๔,๔๘๒.๔๗ บาท ตามลำดับ รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อน้ำหนักปลากระพงขาว ๑ กิโลกรัม เท่ากับ ๔๑.๑๓, ๒๑.๘๐ และ ๕๒.๖๖ บาท ตามลำดับ และเมื่อหักต้นทุนทั้งหมดออกจากรายได้ทั้งหมดแล้วปรากฏว่ารวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็ก และฟาร์มขนาดใหญ่ มีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อตารางเมตร เท่ากับ ๓,๒๖๑.๑๐, ๑,๗๖๙.๑๗ และ ๓,๘๒๓.๐๙ บาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อน้ำหนักปลากะพงขาว ๑ กิโลกรัม เท่ากับ ๓๓.๐๓, ๑๓.๐๙ และ ๔๔.๙๑ บาท ตามลำดับ เมื่อหักต้นทุนเงินสดออกจากรายได้ทั้งหมดแล้ว ปรากฏว่า รวมทุกขนาดฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็ก และฟาร์มขนาดใหญ่ มีรายได้สุทธิเหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ยต่อตารางเมตร เท่ากับ ๔,๒๙๓.๓๐, ๓,๓๔๗.๓๐ และ ๔,๖๔๙.๖๖ บาท ตามลำดับ และมีรายได้เหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ยต่อน้ำหนักปลากะพงขาว ๑ กิโลกรัม เท่ากับ ๔๓.๔๗, ๒๔.๗๗ และ ๕๔.๖๒ บาท ตามลำดับ สาเหตุที่ฟาร์มขนาดใหญ่มีกำไรสุทธิมากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก เพราะฟาร์มขนาดใหญ่สามารถผลิตปลากะพงขาวได้มากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก และขายได้ในราคาที่สูงกว่าทำให้รายได้มากกว่า และยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่านอกจากนี้ฟาร์มขนาดใหญ่มีประสบการณ์ และระยะเวลาในการเลี้ยงมานานกว่าฟาร์มขนาดเล็ก มีปัญหาทางด้านเงินทุนน้อยกว่าฟาร์มขนาดเล็ก  ส่วนปัญหาที่ผู้เลี้ยงปลากะพงขาวพบมากที่สุด คือปัญหาเรื่องอาหารปลา ร้อยละ ๙๓.๐๕ รองลงมา คือปัญหาน้ำ ลูกพันธุ์ปลา โรคปลา และเทคนิคการเลี้ยงปลาร้อยละ ๙๑.๖๗, ๘๘.๘๙, ๗๗.๗๘ และ ๒๒.๒๒ ตามลำดับ  Due to impact to coastal fishery from deterioration of fishery resources, coastal aquaculture is encouraged. Giant sea perch (Lates calcarifer) is one of the fishes encouraged in pisciculture, because of it is important economic fish and significant source of income for people in Chachoengsao province.  The purpose of this research is (1) to study economic status of Giant sea perch cage farmers in Bang Pakong, Chachoengsao (2) to study cost and return of Giant sea perch cage farming compared by farm size in Bang Pakong, Chachoengsao, and (3) to study problems, obstacles and methods to improve Giant sea perch cage culture.   From the analysis of cost and return of Giant sea perch cage culture, it is found that total cost per sq.m. for all farm size, small farms, is 8,838.96, 13,243.95 and 7,179.75 baht, respectively. Total cost per 1 kg. of Giant sea perch is 89.45, 98.08 and 84.34 baht, respectively. Total cost is composed of variable and fixed cost, 90.94 and 9.06 percent, respectively. Income per sq.m. for all farm size, small farms and large farms is 12,100.06,15,013.12 and 11,002.84 baht, respectively. Gross income per 1 kg. of Giant sea perch for all farm size, small farms and large farms is122.48, 111.17 and 129.25 baht, respectively. Net average income per sq.m. for all farm size, small farms and large farms is 4,061.61, 2,944.37 and 4,482.47 baht, respectively. Net average income for 1 kg. of Giant sea perch is 41.13, 21.80 and 52.66 baht, respectively. After all cost is deducted from total income, it is found that all farm size, small farms and large farms has average net profit per sq.m. 3,261.10, 1,769.17 and 3,823.09 baht, respectively, and average net profit per 1 kg of Giant sea perch 33.03, 13.09 and 44.91 baht, respectively. After cash cost is deducted from total income, it is found that all farm size, small farms and large farms has average net income over cash cost per sq.m. 4,293.30, 3,347.30 and 4,649.66 baht, respectively, and average income over cash cost per 1 kg. of Giant sea perch 43.47, 24.77 and 54.62 baht, respectively.     The cause of large farms having more net profit than small farms is that large farms can produce more Giant sea perch than small farms and they can sell at higher price, therefore, higher profit, as well as having lower cost. Large farms have more experience. longer year of practice and less funding problem than small farms The problem most often experienced by Giant sea perch farmers is fish feed, 93.05 percent. Other problems are water, newborn fish, disease and fishing technique, 91.67, 88.89, 77.78 and 22.22, respectively.

Downloads

Published

2024-04-24