การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจกับความต้องการด้านคุณภาพบัณฑิตของผู้ใช้บัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
The comparative study of user's satisfaction and need of graduates quality from the Department of Oriental Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University
Keywords:
การเปรียบเทียบ, ความพึงพอใจ, ความต้องการ, คุณภาพบัณฑิต, Comparative, Satisfaction, Need, Graduates QualityAbstract
การวิจัยศึกษาเปรียบเทียบเรื่องความพึงพอใจกับความต้องการด้านคุณภาพบัณฑิตของผู้ใช้บัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความต้องการด้านคุณภาพของบัณฑิตภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๐ และศึกษาคุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิตสายภาษาในด้านทักษะการใช้ภาษาเกาหลี/จีน/ญี่ปุ่นด้านความสามารถทางวิชาการ เกาหลี/จีน/ญี่ปุ่น และวิชาชีพ ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านมนุษยสัมพันธ์ เพื่อนำผลวิจัยมาเปรียบเทียบหาความแตกต่างและใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา ๒๕๕๓ และผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด วิธีการวิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือผู้ใช้บัณฑิตภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาที่สำเร็จปีการศึกษา ๒๕๕๐ การรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการส่งแบบสอบถามตามที่อยู่ของผู้ใช้บัณฑิตที่บัณฑิตแจ้งไว้กับภาควิชาภาษาตะวันออก โดยจัดส่งแบบสอบถามจำนวน ๗๕ ฉบับ ได้รับตอบกลับมาจำนวน ๖๘ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๖๗ ของแบบสอบถามที่ส่งไป การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติแบบพรรณา เพื่อ บรรยายลักษณะของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างของความพึงพอใจต่อบัณฑิตกับความต้องการบัณฑิตที่พึงประสงค์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การเปรียบเทียบผลประเมินความพึงพอใจต่อบัณฑิตภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๐ กับผลประเมินความต้องการบัณฑิตที่พึงประสงค์โดยผู้ใช้บัณฑิต ในด้านที่กำหนดไว้ ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการใช้ภาษาเกาหลี/จีน/ญี่ปุ่น ด้านความสามารถทางวิชาการภาษาเกาหลี/จีน/ญี่ปุ่น และวิชาชีพด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านมนุษยสัมพันธ์พบว่า ผลความพึงพอใจที่ต่ำกว่าผลความต้องการ ได้แก่ ด้านทักษะการใช้ภาษาเกาหลี/จีน/ญี่ปุ่น ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านความสามารถทางวิชาการภาษาเกาหลี/จีน/ญี่ปุ่นและวิชาชีพตามลำดับ ส่วนผลความพึงพอใจที่สูงกว่าผลความต้องการ ได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ในภาพรวมผลการประเมินความพึงพอใจต่อบัณฑิตกับผลความต้องการบัณฑิตที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยความแตกต่างไม่มากนัก This research, “The Comparative Study of User’s Satisfaction and Need of Graduates Quality from the Department of Oriental Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University”, was aimed firstly to investigate the quality of the graduates from the Department of Oriental Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University in academic year 2007, and secondly, to investigate the preferable qualifications of the graduates on (1) language use of all three languages (Chinese, Japanese and Korean) (2) academic and professional abilities (3) working performance (4) virtue and (5) human relation. The data received was used to frame the revision plan for academic year 2010 BA curricula and hopefully to be able to produce graduates responding to the requirement of the labor market. The population was organizations employing graduates from the Department of Oriental Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University of academic year 2007. Since this was a survey research, questionnaire was the data collecting tool. From 75 sets of questionnaire sent to those organizations, 68 sets of questionnaire were returned which was equal to 90.67%. The data was analyzed using descriptive statistic for finding the distinction of the satisfaction with the graduates and the need of the organizations for preferable graduates. The result was as followings. In conclusion, after comparing the satisfaction of the organizations employing the graduates from the Department of Oriental Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University of academic year 2007 with the need of the organizations for preferable graduates on 5 aspects: language use, academic and professional abilities, working performance, virtue, and human relation; it was found that the satisfaction levels of language use, working performance, virtue and academic ability were respectively lower than the level of the need. For the satisfaction level of human relation was higher than the level of the need. Overall means of satisfaction compared to the need of preferable graduates was not significantly different and the tendency was consistent.Downloads
Published
2024-04-26
Issue
Section
Articles