การรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้างโรงผลิตเหล็กถลุงหลอมเหลวและโรงงานผลิตเหล็กแท่ง ตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

People’s awareness, people’s participation including with people’s suggestion for the project of constructing steel work factory at Mae Num Koo Sub-district, Pluakdaeng District, Rayong Province

Authors

  • อนุรัตน์ อนันทนาธร

Keywords:

การรับรู้, ประชาพิจารณ์, อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก, ไทย, ระยอง

Abstract

การวิจัยเรื่อง “การรับรู้ และการมีส่วนของประชาชนต่อการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก ตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง” มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อศึกษาการรับรู้การมีส่วนร่วม และแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อเสนอแนะของประชาชนตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีต่อการสร้างโรงงานหลอมถลุงเหล็ก ในเขตตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตตำบล แม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน ๓๘๐ ราย ผลการศึกษาการรับรู้พบว่าประชาชนรับทราบบ้างในการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็กมีความรู้บ้างในเรื่องการหลอมถลุงเหล็ก บริษัทผู้ประกอบการไม่เคยเข้ามาประชาสัมพันธ์ เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตหลอมถลุงเหล็ก ทราบว่ากรณีที่เกิดผลกระทบ ประชาชนจะได้รับผลกระทบโดยตรง บริษัทไม่เคยพาคนในชุมชนไปศึกษาดูงานโรงหลอมถลุงเหล็กที่อื่นนอกจากนี้ ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง มีความเห็นว่า (1) ไม่ควรสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก (๒) ประชาชนทั่วไปจะได้รับผลกระทบก่อน (๓) ถ้าโรงหลอมถลุงเหล็กเกิดขึ้น บริษัทเป็นผู้ได้รับประโยชน์ (๔) ถ้ามีความจำเป็นจะต้องสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่คนในชุมชน (๕) บริษัทไม่เคยส่งพนักงานมาพบเลย รับทราบข่าวสารในการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็กจากเสียงตามสาย/วิทยุชุมชน นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่ว่า (๑) โรงหลอมถลุงเหล็กจะนำความเจริญมาให้ชุมชน และ (๒) โรงหลอมถลุงเหล็กจะช่วยลดปัญหาการว่างงานของคนในชุมชน เห็นด้วยว่าสุขภาพจิตของคนในครอบครัวแย่ลงเมื่อจะมีโรงหลอมถลุงเหล็กมาตั้งที่ชุมชน (๓) โรงหลอมถลุงเหล็กได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงงานให้คนในชุมชนทราบ (๔) โรงหลอมถลุงเหล็กให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมขน และ (๕) กรรมการชุมชนได้ทราบเรื่องการจะก่อสร้างโรงหลอมถลุงเหล็กในชุมชนมาก่อนการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่าประชาชนไม่เคยทำประชาพิจารณ์ ร้อยละ ๖๗.๔ ไม่เคยมีส่วนร่วมในโครงการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก ร้อยละ ๗๒.๑ ไม่เคยเป็นกรรมการประชาพิจารณ์ ร้อยละ ๘๙.๗ ไม่เคยไปฟังการจัดประชาพิจารณ์ ร้อยละ ๗๑.๘ ไม่เคยไปแสดงความคิดเห็นในการทำประชาพิจารณ์ ร้อยละ ๗๐.๓ ประชาชนคิดว่าการประชาพิจารณ์ไม่เพียงพอ และไม่ชัดเจนร้อยละ ๘๙.๕  ด้านความต้องการในการดำเนินการแก้ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนมีความต้องการอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับความต้องการจากมากไปหาน้อย ๓ ลำดับแรก ได้แก่ การจัดกิจกรรมชดเชยความเสียหายแก่ชุมชน การให้ชาวบ้านร่วมตรวจสอบมลพิษ และการช่วยเหลือประชาชนฟ้องร้องทางกฎหมาย ส่วนความต้องการของประชาชนในการดำเนินการแก้ปัญหา ของหน่วยงานภาคเอกชน พบว่า โดยภาพรวมประชาชนมีความต้องการอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความต้องการจากมากไปหาน้อย ๓ ลำดับแรก ได้แก่ การให้ความรู้แก่คนในชุมชน การควบคุมโรงงาน และการตั้งกรรมการจากหลายฝ่ายเพื่อแก้ปัญหา ด้านข้อเสนอแนะอื่นๆ เห็นสมควรไม่ให้สร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก มาจากสาเหตุโรงงานหลอมถลุงเหล็ก ทำให้มีปัญหามลพิษทางอากาศ และการเกษตรจะถูกทำลาย มากที่สุด ส่วนหากประชาชนไม่ให้สร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก ประชาชนจะดำเนินการด้วยวิธีการประท้วงให้ถึงที่สุด  This research has the main aim at studying on people’s awareness, people’s participation including people’s suggestion for the project of constructing steel work factory Samples of Mae Num Koo Sub-district Pluakdaeng District, Rayong Province. This study is derived from the amount of 380 people based on household registration. From this study, it has found that the level of people awareness is low. That means local people know about the project of steel work factory construction but they have not much knowledge on steel work process. The entrepreneur never gives any relevant or essential information for local people particularly in the issue of environmental impact. The entrepreneur never brings local people to comparative study on another steel work factory. As a result, these factors reflect that the entrepreneur will take all profit. Local people are limited to access the new information through local radio station. Moreover, they disagree that steel work factory is able to decrease unemployment for local people. They also feel that mental health of local people will alleviate when such factory is constructed in the local area. The most important thing is the local committee has no information on the project for constructing steel work factory.  In part of people participation, it has demonstrated that people never get involve in referendum process totally 67.4 percent. People never get involve in the project of steel work factory totally 71.8 percent. People never give any idea through the referendum process totally 70.3 percent. Other people think that referendum process is not sufficient and is ambiguous totally 89.5 percent.  In the context of the need for resolving problem from governmental agency, it has found that the level of people need is in the high level. It is able to set the priority of people’s need into three steps. The first step is the establishment of activity to compensate for community. The second is the participation of local people to be a co-worker in pollution control. The third step is to help people in bringing legal suit. In part of non-governmental agency, it is able to set the priority of people’s need into three steps. These are giving knowledge for local people, factory control and setting the committee from various participants to solve problem. Another suggestion is derived from local people divided into two reasons. The first reason is that the steel work factory project should be abolished as steel worker factory will cause to air pollution an destroy agricultural product. The method of people disagreement will show in the form of protest.

Downloads

Published

2024-04-26