ทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้ชุมชนพึ่งตนเอง : กรณีกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

Social capital and knowledge management toward self-reliant community: A case of Silalang Community Forest Preservation Group, Pua District, Nan Province

Authors

  • กมลวรรณ วรรณธนัง

Keywords:

ทุนทางสังคม, การจัดการความรู้, ชุมชนพึ่งตนเอง, Social capital, knowledge management, Self-reliant community

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางสังคมและกระบวนการจัดการความรู้ของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่านและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การพึ่งตนเองของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนศิลาแลง มีทุนทางสังคมที่หลากหลาย ประกอบด้วย เครือข่ายทางสังคม ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การติดต่อสื่อสาร บรรทัดฐานทางสังคม ความไว้วางใจ และการพึ่งพาอาศัย ทุนทางสังคมเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ การแบ่งปันในความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนศิลาแลงจนนำไปสู่การเกิดความรู้ใหม่ ได้แก่ การบริหารจัดการป่าตามกรรมสิทธิ์ การป้องกันป่า การฟื้นฟูป่า การอนุรักษ์ป่า การใช้ประโยชน์จากป่าการจัดการน้ำ และกองทุนป่าชุมชนศิลาแลง ซึ่งความรู้เหล่านี้ ถือเป็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนให้ชุมชนพึ่งตนเองโดยมีการบริหารจัดการป่าด้วยตนเอง จนทำให้สามารถคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ป่าอีกครั้ง รวมทั้งทำให้ชาวบ้านรู้จักการอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุลในฐานะการเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ   The objectives of this article are (21) to study social capital and the process of knowledge management of Silalang Community Forest Preservation Group of Pua District, Nan Province and (2) to analyze relationship between the social capital and the knowledge management leading to self-reliance of Silalang Community Forest Preservation Group of Pua District, Nan Province.  The result shows that Silalang Community Forest Preservation Group has various social capitals; social networks, social interactions and cohesion, communication tools, social norms, trust and reciprocity. The social capitals relate with knowledge creation, knowledge accumulation, knowledge sharing and knowledge application. Various innovations derive from Silalang Community Forest Preservation Group such as ownership forest management, forest protection, forest revival, forest preservation, forest exploitation, water management and Silalang Community Forest Fund. This knowledge is an innovation enabling the community to be self-reliant in forest management which can return the forest its plenteousness and makes villagers and the forest become mutually and equally the giver and taker.

Downloads

Published

2024-04-26