สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ : ภาพสลักสัตว์มงคลขอบสระแก้ว เพื่อให้เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของพราหณ์และพุทธ

Authors

  • พีรัช ลิขิตสมบูรณ์

Keywords:

การแกะสลักหิน , ศาสนาอิสลาม , ศิลปกรรมกับศาสนา , สัตว์มงคล

Abstract

น้ำเป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน บริเวณกักเก็บน้ำในอตีดนิยมขุดสระเพื่อเก็บไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น การสร้างตระพังในสมัยสุโขทัยหรือการสร้างบารายในวัฒนธรรมเขมร เป็นต้น แต่ในที่นี้กล่าวถึงสระแก้ว ที่บ้านโคกปีบ ตำบลดโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ในฐานะสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อาจจะเป็นพิธีกรรมทางการเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนโบราณ เมืองศรีมโหสถ พบงานศิลปกรรมของพุทธ และพราหมณ์เจริญควบคู่สมัยกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา เป็นหลักฐานที่แสดงว่าสังคมโบราณแห่งนี้ ชาวเมืองนับถือทั้งพุทธและพรามหณ์สืบเนื่องทั้งสองวัฒนธรรมร่วมกันอย่างกลมกลืน อันเป็นผลให้สังคมได้พัฒนาสืบทอดกันมายาวนานจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นอย่างน้อย (ธวัช ปุณโณทก, ๒๕๔๙, หน้า ๓๘-๓๙) จากการสันนิษฐานว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น สังเกตได้จากภาพสลักนูนต่ำที่ผนังขอบสระแก้วนั้นมีลักษณะเป็นภาพสัตว์ เช่น ช้าง สิงห์ มกร และคชลักษมี หรือปู รณะกุมภะ ซึ่งล้วนแต่เป็นสัตว์ชั้นสูง และเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวข้องกับความสำคัญของน้ำหรือความอุดมสมบูรณ์ทั้งสิ้น (กรมศิลปากร, ๒๕๓๖, หน้า ๑๐) ภาพสลักดังกล่าวคล้ายกับภาพที่ปรากฏบริเวณขอบสระน้ำใกล้กับจันทิปะนะตะรันในชวาภาคตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งกษัตริย์ในราชวงศ์มัชปาหิตจัดสร้างถวายแด่พระอิศวร ในลัทธิไศวนิกาย และจรึกปีที่สร้างพุทธศักราช ๑๙๕๘ ไว้ขอบสระ

Downloads

Published

2024-05-03